(บทคัดย่อ) รายงานผลการศึกษาผลการใช้แนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม EZ2000


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

จากการนิเทศพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม EZ2000 มาถึงวันนี้ ดิฉันได้สรุปเป็นรายงานไว้  จึงขอนำบทคัดย่อ มาเผยแพร่เพื่อท่านใดสนใจจะนำไปพัฒนาต่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษาต่อไป  อ่านแล้วมีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไรขอท่านผู้รู้ได้ร่วมชี้แนะ เพื่อเป็นการพัฒนาต่อไปนะคะ 

 

บทคัดย่อ

 

ชื่อผลงาน         :  รายงานผลการศึกษาการใช้แนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้วยโปรแกรม EZ๒๐๐๐  สู่มาตรฐานการศึกษา

ชื่อผู้รายงาน     :  นางปานทอง   ปัญญาเดช   ตำแหน่ง   ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ  

                                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑

………………………

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  สร้างและหาประสิทธิภาพ  เอกสารแนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม EZ๒๐๐๐  สู่มาตรฐานการศึกษา  สำหรับครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑  รวมทั้งศึกษาผลการใช้ แนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม EZ๒๐๐๐  สู่มาตรฐานการศึกษา  ของครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต๑ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูผู้สอน จำนวน  ๑๐๖  คน  และผู้บริหารสถานศึกษา  จำนวน  ๗๒  คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย

                เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประเมินค่า (Likert scale) จำนวน    ฉบับ   ฉบับแรกสำหรับครูผู้สอน  แบ่งเนื้อหาที่ต้องการทราบเป็น ๔ ตอน ประกอบด้วย  ตอนที่ ๑  ถามเกี่ยวกับสถานภาพของครูผู้สอน  ตอนที่ ๒  เป็นการสอบถามความคิดเห็นก่อนและหลังใช้แนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม EZ๒๐๐๐  สู่มาตรฐานการศึกษา  ตอนที่ ๓  เป็นการสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้แนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม EZ๒๐๐๐  สู่มาตรฐานการศึกษา  ตอนที่ ๔ เป็นการสอบถามผลที่ได้รับจากการใช้แนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม  EZ๒๐๐๐  สู่มาตรฐานการศึกษา  มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  ๐.๙๔  ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง ๐.๙๔๒ ๐.๙๔๖  ฉบับที่ ๒  สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา  แบ่งเนื้อหาที่ต้องการทราบ   เป็น   ตอน  ประกอบด้วย  ตอนที่ ๑   ถามเกี่ยวกับสภาพการบริหารจัดการในสถานศึกษา               ตอนที่ ๒  ถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา   ตอนที่ ๓  ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ  มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  ๐.๙๖   ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง  ๐.๙๕๕  -  ๐.๙๖๓

                การวิเคราะห์ข้อมูล  ใช้สถิติค่าร้อยละ (%)  ค่าเฉลี่ย ( )  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D )

 ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

๑.    ประสิทธิภาพของแนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม EZ๒๐๐๐  สู่มาตรฐานการศึกษา มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นก่อนใช้เท่ากับ ๒.๒๑  และหลังใช้เท่ากับ  ๓.๖๕   เพิ่มขึ้น  ๑.๖๑ 

๒.  ผลการศึกษาการใช้แนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม  EZ๒๐๐๐  สู่มาตรฐานการศึกษา ปรากฏดังนี้

๒.๑     ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการใช้แนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม EZ๒๐๐๐  สู่มาตรฐานการศึกษา   อยู่ในระดับมาก

๒.๒   ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของครูผู้สอน  อยู่ในระดับปานกลาง

๒.๓   ผลที่ได้รับจากการใช้แนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม EZ๒๐๐๐  สู่มาตรฐานการศึกษาสรุปได้ว่าครูผู้สอนสามารถพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม EZ๒๐๐๐   จำนวน  ๑๖๑  เรื่อง ผลงานครูได้รับรางวัลระดับจังหวัด ๑๗  เรื่อง   รางวัลระดับชาติ    เรื่อง  นักเรียนมีความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสวงหาความรู้และสามารถพัฒนาผลงานด้าน ICT   เข้าร่วมประกวดและได้รับรางวัลระดับจังหวัด ๙๖  รายการและระดับภาค จำนวน  ๙ รายการ รางวัลระดับชาติ    รายการ  สถานศึกษามีสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ครูสร้างขึ้น  ๒๒๗ เรื่อง  ส่งผลให้สถานศึกษาที่ผ่าน    การประเมินภายนอก  มาตรฐานที่ ๑๐  ตัวบ่งชี้ที่ ๔  ระดับดีและดีมากร้อยละ  ๙๕.๓๘    ของสถานศึกษาในสังกัดที่ได้รับการประเมิน

                                                                                  

 

 

หมายเลขบันทึก: 174074เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2008 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมยังไม่เคยเห็น Output ของโปรแกรม EZ2000 ครับ ... เลยไม่ทราบว่า จะแสดงความคิดเห็นอย่างไรดี ...

ลองนำภาพหน้าจอมาแสดงให้ชมก็ดีนะครับ

ขอบคุณครับ :)

ดีจังครับที่มีการเผยแพร่ความรู้ดีๆแบบนี้ จะได้เป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจต่อไป ขอบคุณครับ

ไขข้อข้องใจคุณ wasawat Deemarn

แนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม EZ2000 เป็นนวัตกรรมประเภทคู่มือ มีลักษณะเป็น เอกสารประกอบการเรียนรู้การสร้าง CAI โดยดิฉันได้นำโปรแกรม EZ2000 มาใช้เป็นเครื่องมือ (Authroring Program) ในการสร้างค่ะ หากอาจารย์สนใจทดลองใช้โปรแกรม ลองติดต่อที่นี่ค่ะ [email protected]

ปานทอง...

แหม ท่าน ศน. .. ขึ้นคำว่า  "ไขข้อข้องใจคุณ wasawat Deemarn" ... ทำให้ผมกลายเป็นคนพิเศษไปเลย

ที่ผมได้แจ้งว่า ไม่เคยเห็น Output นั้น เพราะโดยปกติ ผมเลือกใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Macromedia Authorware หรือปัจจุบัน คือ Adobe Authorware สอนนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หรือใช้สำหรับไปอบรมหลักสูตรระยะสั้นตามหน่วยการศึกษาต่าง ๆ

จึงทำให้ต้องบอกว่า ยังไม่เคยเห็นจริง ๆ

แต่ขอบพระคุณที่ได้แจ้งแหล่งติดต่อไว้ให้ครับ ผมต้องขอลองดูแน่ ๆ เลย ...

ขอบคุณครับ :)

ขอบคุณอาจารย์ wasawat Deemarn  ที่แวะมาเยี่ยมชม Blog และให้กำลังใจค่ะ  จริงๆ  แล้วเครื่องมือชุด Adobe Authroware เป็นเครื่องมือสร้าง CAI ที่มีความเสถียรมากในปัจจุบันนี้ แต่เนื่องจากกลุ่มบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการฯ มีพื้นฐานด้าน Computer น้อย แต่อยากพัฒนาความรู้ด้านนี้  ดิฉันจึงได้หาเครื่องมือชุด EZ2000  มาให้เพราะเห็นว่าการใช้งานค่อนข้างง่าย  เหมือนกับเป็นการเริ่มต้นฝึกปฏิบัติค่ะ  แต่จากการทดลองดำเนินการที่ผ่านมา จะพบว่าบุคลากรส่วนหนึ่งได้นำพื้นฐานจาก EZ2000  ไปพัฒนาสร้างสื่อฯ ด้วยโปรแกรม Adobe Authroware ได้  ซึ่งตรงจุดนี้ดิฉันรู้ภูมิใจที่แนวทางการพัฒนาเล่มนี้ สามารถจุดประกายให้ครูมีการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง 

     สำหรับโปรแกรม Adobe Authroware นั้นในโอกาสต่อไปคงต้องขอความอนุเคราะห์แลกเปลี่ยนความรู้กับอาจารย์ wasawat Deemarn  บ้างนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท