นายมานัส กิริยาภรณ์ ,นายวัฒนา สุภาวดี, น.ส.รตีย์ เมืองใจคำ, น.ส.พวงทอง ขันทะยศ , สิบตำรวจโทหญิงเต็มศิริ ยาสมุทร ,นายจักรภพ เลาหรอดพันธ์
นายมานัส กิริยาภรณ์ ,นายวัฒนา สุภาวดี, น.ส.รตีย์ เมืองใจคำ, น.ส.พวงทอง ขันทะยศ , สิบตำรวจโทหญิงเต็มศิริ ยาสมุทร ,นายจักรภพ เลาหรอดพันธ์ นักศึกษาระดับปริญญาโท รัฐศาสตร์การปกครอง

จุดอ่อนและจุดแข็งของนโยบายต่างประเทศไทย


จุดอ่อนและจุดแข็งของนโยบายต่างประเทศไทย

จุดอ่อนและจุดแข็งของนโยบายต่างประเทศไทย

 

ตอนนี้เรามาดูกันว่า นโยบายต่างประเทศของไทยจะดำเนินไปอย่างไร

ผมอยากจะเสนอว่า ประเทศไทยเรามีจุดแข็งและจุดอ่อน

จุดแข็งของนโยบายต่างประเทศของไทยประการแรก คือ นโยบายสนลู่ลม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เรามักจะเอาตัวรอดไปได้ทุกครั้ง นี่คือข้อดีและเป็นจุดแข็งของเรา คือการเอาตัวรอดและลู่ไปตามลม กระแสอะไรที่มาแรง เราก็มักจะลู่ไปตามลมนั้น

จุดแข็งอีกประการหนึ่งคือ การเป็นตัวกลางประสานความสัมพันธ์ เรามักจะไม่มีปัญหากับใคร มักจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศต่างๆ ไม่ว่ากับใครก็ตาม จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหรัฐฯ ไทยมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางความสัมพันธ์ อย่างเช่นรัฐบาลชุดนี้ที่ได้สร้างกรอบ Asia Cooperation Dialogue (ACD) ขึ้นมา นี่ก็เป็นการที่รัฐบาลใช้จุดแข็งในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ

จุดแข็งอีกประการหนึ่งของเรา คือ ประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตยของเรามีวิวัฒนาการไปไกลกว่าประเทศในภูมิภาคนี้ แต่ว่าเรากลับไม่ได้สร้างความเป็นผู้นำในเรื่องของระบอบประชาธิปไตย เรากลับทิ้งประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในนโยบายต่างประเทศ

นี้เป็นจุดแข็งนะครับ สำหรับจุดอ่อนมีประเด็นเหล่านี้ ในบางครั้งนโยบายลู่ลม อาจจะลู่มากเกินไป นโยบายปราณีประนอมมากเกินไป นโบายการพึ่งพิงมหาอำนาจมากเกินไป ในอดีต ยุคสงครามเย็นเราพึ่งพิงอเมริกา ในเวลานี้จีนกำลังใหญ่ขึ้นมา เรากำลังจะไปพึ่งพิงจีนอีก นี้เป็นภาพสะท้อนของสังคมไทยที่เราต้องการพึ่ง "ผู้ใหญ่" ซึ่งบางครั้งอาจจะมากเกินไป

 

อนาคตนโยบายต่างประเทศของไทย

 

ผมเชื่อว่านโยบายที่ดีนั้นคือ นโยบายที่มีความสมดุล และผมเชื่อว่านโยบาย "ทางสายกลาง" น่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญและทางออกของนโยบายต่างประเทศไทย คือเราไม่ไปใกล้ชิดกับประเทศใดมากเกินไป เราไม่ใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้านมากเกินไป และทิ้งประเทศมหาอำนาจ เราไม่ไปใกล้ชิดกับจีนมากเกินไปแล้วไปทิ้งอเมริกา เพราะฉะนั้นจึงควรเดินทางสายกลาง

ทางสายกลางจะมาแปรเป็นรูปธรรมได้อย่างไร ทางสายกลางหมายความว่า การที่เราจะเป็นเพื่อนบ้านที่ดี และเป็นพลเมืองโลกที่ดี ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เราเคยมียุทธศาสตร์ ชาติที่สำคัญ คือ การที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค เรามีการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน มีการสร้างกรอบความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาเซียน และใน เอเชีย หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ชาติอันนี้ล่มสลาย ตอนนี้เราเปะปะไปหมด เราต้องพยายามรื้อฟื้น "Grand Strategy" นี้ของเราให้กลับมา การปรับโครงสร้างนโยบายต่างประเทศ ในเรื่องการปฏิรูประบบราชการ ผมคิดว่ายังมาไม่ถึง

ในเรื่องของโครงสร้างนโยบายต่างประเทศ มีการพูดถึงทูต CEO แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ การที่เราจะสร้าง Team Thailand ไม่ใช่อยู่ที่สถานทูต แต่อยู่ที่กรุงเทพฯ Team Thailand ต้องอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยจะต้องมีการประสานงานใกล้ชิดระหว่างกระทรวงต่างประเทศกับกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ว่าหน่วยงานราชการไทยขาดการประสานงานกัน เราไม่ค่อยทำงานเป็นทีม การปฏิรูประบบราชการก็เป็นไปอย่างฉาบฉวย บทบาทของไทยในอาเซียนตกลงไปอย่างมาก เราไม่ได้แสดงบทบาทเป็นผู้นำในอาเซียนทั้งนี้อาจเป็นเพราะเรากำลังสร้าง "วง" ใหม่ขึ้นมา ชื่อว่า ACD โดยไม่สนใจอาเซียน ก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดายถ้าเราจะเสียความเป็นผู้นำในอาเซียน สำหรับในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ ประเทศไทยควรจะดำเนินนโยบายทางสายกลาง คือ เราจะไม่ชาตินิยมมากเกินไป แต่ขณะเดียวกันเราก็จะไม่เปิดเสรีมากเกินไป สิ่งที่ผมกล่าวมาแล้วเป็นนโยบายในระยะยาว แต่เราก็มีปัญหาเฉพาะหน้าให้แก้ ปัญหาแรกคือ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่เราต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของนโยบายให้ชัดเจน

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือ เรื่อง FTA เขตการค้าเสรี ทั้งโลกกำลังเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีกันใหญ่ ไทยเราก็เอาด้วย แต่เขตการค้าเสรี ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในเรื่องของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นอาเซียน ACD อาเซียน+จีน หรือ อาเซียน+3 และประเด็นสุดท้าย

สิ่งที่เราจะต้องเผชิญในปี 2546 คือเรื่องการจัดประชุมสุดยอดเอเปค รัฐบาลคงต้องพยายามชี้ให้เห็นว่าเอเปคนั้น ไทยเราจะได้ประโยชน์อะไร ผมคิดว่า เราคงไม่ได้อะไรเท่าไรจากการประชุมเอเปค เพราะเอเปคช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมา ไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรเลยที่เป็นชิ้นเป็นอัน นี่เป็นโจทย์สำคัญของรัฐบาลที่จะต้องชี้ให้เห็นว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรจากการประชุมในครั้งนี้

หมายเลขบันทึก: 176041เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2008 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขณะนี้เนื้อหากำลังอยู่ในช่วงเพิ่มเติมและปรับปรุง คณะผู้ทำงานยังขาดรูปและสีสันอีกมาก หากท่านผู้ชมท่านไดมีข้อเสนอแนะ หรือแนะนำก็ขอช่วยอนุเคราะห์ให้คำแนะนำด้วยนะครับ จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

วัฒนา สุภาวดี

----เนื้อหาส่วนใหญ่ เรียบเรียงมาจาก การค้นคว้าของกลุ่มนะครับ

อาจมีบางส่วนที่ยังคงต้องเพิ่มเติม ยังไงก็ช่วยคอมเม้นท์ให้ด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท