การค้นหนังสือใน OPAC


นาย ก.คนเดิมที่ได้รายชื่อหนังสือแล้วเข้าไปที่ห้องสมุดไปหาหนังสือที่ตนเองค้นไว้ ผลปรากฎว่าหนังสือที่ค้นเนื้อหาด้านในไม่ตรงกับสิ่งที่ นาย ก.ต้องใช้ สรุปก็ต้องหาใหม่

OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ตได้

หลายคนคงเคยใช้กันแล้ว ในเว็บของห้องสมุดเกือบทุกที่จะมีบริการสืบค้นหนังสือออนไลน์ (OPAC / WEBPAC) และหลายๆ คนคงคิดว่าระบบ OPAC นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหนังสือได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกคุณเคยคิดมั้ยว่า เวลาเราค้นหนังสือเจอใน OPAC แล้วเราทำไงต่อ ที่บอกว่าระบบนี้สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาแต่พอเจอหนังสือในระบบ OPAC กลับอ่านไม่ได้ แต่สิ่งที่เราได้คือเรารู้ว่ามันเก็บอยู่ที่ไหนเพียงเท่านั้น หากเราต้องการหนังสือเราก็ต้องเดินทางมาที่ห้องสมุดอยู่ดี ระบบอาจจะใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ห้องสมุดเปิดทำการต่ามวันและเวลาดังนั้นมันจะมีปัญหาตามมาดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. สืบค้นหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ นาย ก. จึงเปิดเข้าไปในเว็บห้องสมุดในเวลาเที่ยงคืนของวันอาทิตย์แล้วพิมพ์คำค้นว่า ระบบสารสนเทศ นาย ก.ได้รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับสารสนเทศโดยมีหนังสืออยู่ที่ห้องสมุดกลางจำนวน 3 เล่ม แทนที่นาย ก.จะอ่านได้เลยแต่นาย ก.กลับต้องรอวันจันทร์วันที่ห้องสมุดเปิดทำการจึงจะสามารถไปที่ห้องสมุดแล้วยืมได้ - - - นี่แหละระบบที่ตอบสนองทุกที่ทุกเวลาแต่สถานที่ไม่ใช่

ตัวอย่างที่ 2 ในวันจันทร์ นาย ก.คนเดิมที่ได้รายชื่อหนังสือแล้วเข้าไปที่ห้องสมุดไปหาหนังสือที่ตนเองค้นไว้ ผลปรากฎว่าหนังสือที่ค้นเนื้อหาด้านในไม่ตรงกับสิ่งที่ นาย ก.ต้องใช้ สรุปก็ต้องหาใหม่ - - - นี่แหละเห็นรายการแต่ไม่เห็น content

แล้วอย่างนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

สมมุติถ้านาย ก. หาข้อมูลใน Search Engine แต่แรกคงได้อ่านตั้งแต่คืนวันอาทิตย์แล้ว ไม่ต้องเสียเวลามาที่ห้องสมุดด้วย

ที่เขียนเรื่องนี้มาไม่ใช่ว่าต้องการล้มระบบ OPAC หรอกนะครับ และไม่ได้มีเจตนาในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด แต่ให้เราเห็นว่าเราควรปรับปรุงงานในส่วนไหนก็แค่นั้นเอง หากเราลองมองย้อนไปว่าถ้าเราเป็นผู้ใช้บริการเราคิดยังไงกับเรื่องนี้

เอาไว้วันหลังผมจะมาเขียนในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการเชิงรุกของห้องสมุดบ้างว่าทำอย่างไรเราจะกระตุ้นการใช้บริการของห้องสมุด

เพื่อนว่าเราควรแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร

มาจาก http://projectlib.wordpress.com/2007/08/15/search-book-in-opac/

หมายเลขบันทึก: 178021เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2008 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท