“ลูกหมา” กับ “การสื่อสารเรื่องเพศ”


การสื่อสาร โดยเฉพาะเรื่องเพศ ควรต้องครบถ้วน ชัดเจน เข้าใจง่าย เหมือนการทำ"ลูกหมา"

เด็กชายไข่นุ้ยอายุ 4 - 5 ขวบ กำลังอยู่ในวัยอยากรู้อยากเห็น วันหนึ่งออกไปเดินเล่นกับพ่อ   เห็นหมาตัวผู้ติดสัดกำลังผสมพันธุ์กับหมาตัวเมีย (หมาตัวผู้คร่อมหมาตัวเมียอยู่) เด็กชายไข่นุ้ยก็ถามพ่อว่า พ่อ พ่อ นั่นหมามันทำอะไรนะพ่อ : หมามันจะทำ "ลูกหมา" น่ะเด็กชายไข่นุ้ยพยักหน้าด้วยความเข้าใจ "อ๋อ ทำลูกหมานี่เอง"  ต่อมาคืนหนึ่งเด็กชายไข่นุ้ยนอนไม่หลับกะจะเข้าไปคุยกับพ่อ พอเปิดห้องพ่อ เห็นแม่นอนหงาย พ่อทับแม่อยู่บนเตียง.....ด้วยความสงสัย เด็กชายไข่นุ้ยก็ถามพ่อด้วยความฉงนว่า"พ่อ พ่อ พ่อทำอะไรกับแม่หนะ" พ่อ : พ่อกำลัง "ทำน้อง" ให้ลูก.....ไงล่ะ......พอพ่อพูดไม่ทันเสร็จเด็กชายไข่นุ้ยก็ร้องลั่นทันที "พ่อจับแม่คว่ำสิ.....ผมไม่อยากได้น้อง.... .....ผมอยากได้ "ลูกหมา"

 

ปัญหาคือ พ่อแม่ ผู้ปกครองจะเริ่มสื่อสาร/ทำความเข้าใจกับเรื่องเพศที่ถูกต้องกับลูกกันอย่างไร ?

ช่วงวัยที่ต่างกันระหว่างพ่อแม่และลูก บางคราไม่เพียงนำ ความไม่เข้าใจ มาเยือนเท่านั้น แต่หลายคราวยังเปลี่ยนแปรความไม่เข้าใจเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้นให้กลายเป็น ความห่างเหิน ของครอบครัวไปในที่สุดด้วย ยิ่งกว่านั้นมุมมอง และกรอบวัฒนธรรมที่ยึดโยงคนแต่ละรุ่นในแต่ละช่วงเวลาของชีวิตยังยังถ่างกว้างความสัมพันธ์ที่เคยมีให้กันออกไปด้วย โดยเฉพาะเรื่อง เซ็กซ์ เมื่อความเข้าใจ ความอยากลองอยากรู้ของลูกๆ วัยรุ่น ทำให้พ่อแม่บางคนไม่เข้าใจ ห้ามปราม และหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุยอธิบายความควร-ไม่ควรให้พวกเขาทราบ

กระนั้น การขาดที่ปรึกษาใกล้ชิดอย่างพ่อแม่ ใช่ว่าวัยรุ่นจะอนาทรร้อนใจ เมื่อพวกเขาหันไปลองคุยคุ้ยเรื่องเซ็กซ์กับเพื่อน รุ่นพี่ ที่ขาดประสบการณ์ ความรู้เรื่องเซ็กซ์พอๆ กัน จนบ่อยครั้งที่คำแนะนำเหล่านั้นกลับกลายเป็นหนทางลงนรก ทั้งท้องก่อนแต่ง ทำแท้งเถื่อน และการทวีจำนวนอย่างน่าตระหนกของเยาวชนติดเชื้อHIV

ทางแก้ปัญหาเหล่านี้คือหาพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สาธารณะที่พวกเขาจะได้ถามข้อสงสัยใคร่รู้ หรือปัญหาที่เผชิญอยู่ เพื่อคลี่คลายปัญหาเหล่านี้โดยไม่เสียอนาคต หรือเป็นตราบาปติดตัวไปตลอดชีวิต โดยพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นไม่ได้หมายความถึงเฉพาะพื้นที่รูปธรรมที่เป็นอาคารสถานที่ ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน หรือชุมชน หากแต่หมายรวมถึงพื้นที่ทางอินเตอร์เน็ต และกิจกรรมที่สร้างสรรค์ กลุ่มที่มีความเข้าอกเข้าใจ การให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม

หมายเลขบันทึก: 178114เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2008 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตอนนี้กำลังหนักใจเรื่องนี้อยู่...ลูกหลานก็ก้าวสู่วัยรุ่น

ประสาเราสาวโสด...จะให้ความรู้เรื่องเพศ...ยากมาก

แบบว่าขอให้มีความรู้ที่ถูกต้อง...แต่ไม่ใช่ว่าสนับสนุน...ทำงัยดี

เรียน คุณ tuk-a-toon

การสื่อสารเรื่องเพศบอกได้เลยครบวาไม่มีบทเรียนตายตัว แต่หลักกว้าง ๆ ก่อนอื่นเลย คือเราต้องวิเคราะห์ และรู้จักตัวตน นิสยใจคอของเด็กหรือคนที่เราต้องการสื่อสารด้วย และควรสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาถ้อยคำที่เข้าใจง่าย บรรยากาศเป็นมิตร สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เก็บความลับ มีเนื้อหาที่ไม่ใช่การห้าม การสั่ง หรือการสอน แต่ควรใช้หลายเทคนิคประกอบกนด้วย เช่น เทคนิคการตั้งคำถามย้อนกลับ เทคนิคการฟังอย่างตั้งใจ เทคนิคการระบายความรู้สึก การยกตวอย่าง ฯลฯ แต่ที่สำคัญการคุยจะต้องไม่เป็นการชี้แนะชี้นำและต้องไม่เป็นการคุยยที่โน้มไปในทางว่า เรื่องเพศเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ หรือคุณอาจจะศึกษาเพิ่มเติมได้จากแหล่งความรู้หลายแหล่ง เช่น เวปไซด์ของกรมสุขภาพจิต หรือเวปไซต์ของ โครงการ "ก้าวย่างอย่างเข้าใจ" ซึ่งหาได้จากเวปไซต์ Google ก็ได้ครับ

**การให้การศึกษาเรื่องเพศในกลุ่มวัยรุ่น**ที่มีการมองเรื่องการให้การศึกษาเรื่องทางเพศที่กล่าวถึงเรื่องเอชไอวี/เอดส์ และสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์ การมองเรื่องการให้การศึกษาเรื่องทางเพศ และการส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยแก่วัยรุ่นที่อยู่ในกลุ่ม "ความหลากหลายทางเพศ" GLBT (Gay Lesbian Bisexual Transgender) และรวมถึงกลุ่มที่มีความพิการ (disable) ด้วย ในขณะที่การดำเนินงานด้านการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ และการตั้งครรภ์ก็น่าจะคำนึงถึงเรื่องการขาดข้อมูลข่าวสาร การส่งเสริมทักษะการต่อรองสถานภาพของบุคคล การเสริมสร้างอำนาจ และการเคารพซึ่งกันและกัน และเมื่อมองเรื่องทางเพศในความสนใจของวัยรุ่น ก็จะพบว่าวัยรุ่นไม่ได้มองเรื่องทางเพศเพียงแค่การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและหรือการท้องเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความปรารถนา ความพึงพอใจทางเพศ เสรีภาพที่จะหลุดพ้นจากการถูกกระทำจากความรุนแรง นอกจากนี้บ่อยครั้งที่การให้การศึกษาเรื่องทางเพศมักเริ่มต้นจากการมองว่า เรื่องทางเพศโดยตัวของมันเองเป็นปัญหา ทำให้ต้องมีการควบคุม มีความอดกลั้นในเรื่องทางเพศ และทำให้เรื่องทางเพศในมิติอื่น ๆ ไม่ได้ถูกนำมากล่าวถึงรวมอยู่ด้วยหากเราเห็นพ้องต้องกันว่า การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (peer education)เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการเข้าถึงวัยรุ่นด้วยกัน ผู้ใหญ่ก็น่าจะทำหน้าที่เป็นผู้มีบทบาทในการสนับสนุนเรื่องนี้ และให้วัยรุ่นเป็นผู้กำหนด และใช้เนื้อหา และวิถีทางของวัยรุ่นกันเองในการเรียนรู้เรื่องทางเพศ แนวนโยบาย "A B c" ยังถูกวิพากษ์ในอีกด้านหนึ่งว่าเป็น การ "ล้ำเส้น" ของผู้ใหญ่ (ที่หวังดี?) ที่พยายามเสนอหรือสอนจากมุมมองของผู้ใหญ่ จากวัฒนธรรมของผู้ใหญ่มากกว่าที่จะริเริ่มจากด้านที่เป็นมุมมองและวัฒนธรรมของวัยรุ่น อพยพ ซึ่งก็มีความต้องการและมีสิทธิทางเพศเช่นเดียวกัน และควรมองหาหรือพัฒนาวิธีการในการเข้าถึงพวกเขาเหล่านั้นด้วย การกล่าวถึงการให้การศึกษาเรื่องทางเพศในกลุ่มวัยรุ่น โดยเน้นไปที่การส่งเสริมเรื่องการละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ (Abstinent) เป็นด้านหลักด้านเดียวถูกมองว่าเป็นวิธีการที่วางอยู่บนมุมมองทางศีลธรรมหรือศาสนา ซึ่งทำให้การทำงานด้านการป้องกันได้ผลน้อย และการมองหาวิธีการที่ได้ผลมากกว่าจึงเป็นส่งที่จำเป็น และควรเป็นวิธีการที่วางอยู่บนมุมมอง/แนวพินิจที่เป็นความรู้มากขึ้นรวมทั้งมีการพิจารณาประเด็นเรื่องทางเพศ และความสัมพันธ์ของเพศภาวะด้วย การให้การศึกษาเรียนรู้ในเรื่องทางเพศควรได้รับการมองในบริบททางสังคมที่กว้างขวางครอบคลุมไปถึงเยาวชนในทุกกลุ่มด้วย ซึ่งรวมถึงเยาวชนหญิงในโรงเรียน แรงงานเด็กหญิง แรงงานหญิง

ที่มา : รายงาน Track D เรื่อง การทำงานด้านมิติทางสังคม พฤติกรรม และเศรษฐกิจ โดยคุณนิวัตร สุวรรณพัฒนา,สรุปรายงานการประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 16 วันที่ 28-29 กันยายน 2549 ,www.aidsthai.org

เซ๊กซ์เป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง แต่ไม่ค่อยมาพูดกันในครอบครัว เพราะถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี

ผู้ใหญ่ บางคนอายที่จะพูดกับลูก ทำให้ลูกต้องไปทดลองในทางที่ผิด ผู้ใหย่ควรเปิดอก ท่จะคุยกะลูกเรืองนี้ ในเรื่องของคุณและโทษ ให้เด็กได้รับรู้

เรื่องการสื่อสารทางเพศ ไม่ใช่แค่การคุยเรื่องของการมีเซ็กซ์ แต่รวมถึงเรื่อง อนามัยเจริญพันธุ์ จิตวิทยาพัฒนาการ การเห็นคุณค่าในตนเอง เรื่องสิทธิ ฯลฯ แต่ละช่วงอายุจะมีทักษะและเนื้อหาการพูดคุยที่ไม่เหมือนกัน ไม่ใช่แค่จะคุยเมื่อลูกเป็นวัยรุ่นหรือลูกกำลังจะลอง หรือเมื่อท้องและแท้งแล้ว

ขอบคุณครับสำหรับการแลกเปลี่ยนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท