ไปดูชาวนาสุพรรณฯ รักษาพันธุ์ข้าว (1)


1 ใน 3 ของคู่มือที่เขียนจากประสบการณ์จริง

สคส. ได้รับคู่มือ 3 เล่ม จากมูลนิธิข้าวขวัญ เป็นคู่มือที่หาไม่ได้จากที่ใดในโลก เพราะเขียนจากประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนานและพิสูจน์แล้วว่า ได้ผลจริง  คู่มือเล่มนี้จะนำเสนอเทคนิคการคัดเลือกพันธุ์ข้าวจากข้าวกล้องอย่างง่ายที่ชาวนาหรือผู้สนใจทั่วไปสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองได้อย่างมีคุณภาพ ตอบสนองต่อระบบการผลิตของชาวนาได้อย่างเหมาะสม สามารถลดต้นทุนการทำนา เป็นทางเลือกในการพึ่งตนเองจากอาชีพทำนา มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถเป็นชาวนาได้อย่างมีศักดิ์ศรี

 

ความสำคัญของการปรับปรุงพันธุ์ข้าว

พันธุ์ข้าวคือหัวใจสำคัญที่สุดในการทำนา เพราะเป็นตัวกำหนดระบบการผลิต เทคนิควิธีการ เครื่องมืออุปกรณ์และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทุกขั้นตอน พันธุ์ยังเป็นตัวกำหนดศักยภาพการให้ผลผลิตและคุณภาพที่ต่างกัน การต้านทานโรคแมลงที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยังมีความสำคัญในระบบการตลาดอีกด้วย

ปัจจุบันการผลิตเน้นเพื่อการค้ามากขึ้น ชาวนาต้องปลูกข้าวปีละหลายๆ ครั้งทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องการเก็บรักษาพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง การซื้อพันธุ์ข้าวจึงไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการและทำให้ประสบปัญหาเรื่องราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ และยังพบว่ามีปัญหาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ เช่น ข้าวกลายพันธุ์ ปัญหาข้าวอีดีดหรือข้าววัชพืช เป็นต้น ทำให้ชาวนาต้องเปลี่ยนพันธุ์ข้าวใหม่ทุกครั้ง

จากสภาพปัญหาดังกล่าว ถ้าหากชาวนาได้เรียนรู้เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองก็จะสามารถผลิตข้าวคุณภาพดี ลดต้นทุนการผลิต พึ่งตนเองได้ และสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายได้อีกด้วย

การคัดเลือกพันธุ์ข้าวทั่วไป

1.สำรวจแปลงนาที่จะคัดเลือกพันธุ์ข้าว

2.เลือกต้นข้าวที่มีลำต้นแข็งแรงสมบูรณ์ต้นสูงสม่ำเสมอ ออกรวงและสุกแก่พร้อมกัน

3.เลือก?ก็บรวงที่มีระแง้ถี่?ารติดเมล็ด?ีและรวงยาว ไม่มีโรคแมลงรบกวน

4.เลือกเก็บเกี่ยวไว้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ซึ่งการคัดเลือกวิธีนี้สามารถคัดเลือกจากลักษณะภายนอกเปลือกเท่านั้น แต่พบว่ายังมีปัญหาเรื่องคุณภาพภายในเมล็ด เช่น การเป็นท้องไข่ ความมันวาวของเมล็ด สีของข้าวกล้องไม่ตรงตามพันธุ์ (ข้าวปน ข้าวดีด) เป็นต้น

มูลนิธิข้าวขวัญจึงได้พัฒนาต่อยอดจากวิธีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวแบบทั่วไปเป็นการคัดเลือกพันธุ์จากข้าวกล้องเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพภายในเมล็ดข้าวดังกล่าวข้างต้น

ขั้นตอนการคัดเลือกพันธุ์จากข้าวกล้อง

1.การเตรียมเมล็ดพันธุ์

2.การคัดเลือกข้าวจากข้าวกล้อง

3.การเพาะข้าวกล้อง

4.การปักดำ

5.การกำจัดข้าวปนในแปลงนา

6.การเก็บเกี่ยวพันธุ์ข้าว

7.การนวดข้าว

8.การเก็บรักษาพันธุ์

เอกสารอ้างอิง

เอกสารประกอบการฝึกอบรม. 2550.การทำนาอินทรีย์ มูลนิธิข้าวขวัญ สุพรรณบุรี .40น.

วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ.2550.ข้าว พันธุ์เพื่อสุขภาพบำบัดโรค โภชนาการ.ฉบับที่ 6/2550.

มูลนิธิข้าวขวัญ e-mail : [email protected]    โทรศัพท์/โทรสาร 035 597193   

หมายเลขบันทึก: 178121เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2008 13:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท