ภาษาไทยวัยแชท


คนในวัยเดียวกันหรือใกล้เคียง จึงมักจะสื่อสารเข้าใจกันได้ง่ายกว่า แต่หาก คนในแต่ละวัยหันมาฟังภาษาของกันและกัน โดยปราศจากอคติต่อกัน เด็กอย่ามองว่าภาษาของผู้ใหญ่เชย โบราณ ผู้ใหญ่ก็อย่ามองว่าภาษาของเด็กอัปลักษณ์ ปัญญานิ่ม พาภาษาไทยวิบัติ ศึกษาภาษาของกันและกันไว้ ก็ไม่น่าจะเสียหาย...

         ก้อหวาดดีนะ

            ก้อชื่อ นู๋น้ามหวาน คัยม่ายจิงจัย ม่ายต้องเข้ามา มะมีอารายหลอก แค่อยากบอกว่า รักเทอ มั่กๆ เด่วมา ปายเข้ก่อน

            หวัดดี มาแระ...กำ หนีกานหมด เพื่อนบ้าก็สงไวรัทจัง

         ตัวอย่างของ ภาษาไทยวันนี้ค่ะ คุณครูคงไม่แปลกใจนะคะ ที่คะแนนภาษาไทยของศิษย์รักทั้งหลายหล่นกราว เป็นความจงใจในการใช้ภาษาของเด็กวัยทีน เด็กๆ จะสะกดตามคำที่พูด ติดยานคาง และเหมือนมีเครือข่ายทางภาษา ถ่ายทอดวัฒนธรรมทางภาษาได้อย่างรวดเร็ว

         "คำ" ในภาษาไทย หลายคำที่ เพี้ยนไปเนื่องมาจาก กลุ่มวัยซน เหล่านี้ เป็นผู้สร้างสรรค์ภาษา ของพวกเขาขึ้นใหม่ นักวิชาการ (ฝ่ายอนุรักษ์นิยม) หลายคนมองว่า ภาษาไทยวิบัติ (ในที่นี้ ยังไม่รวมศัพท์สแลง) แต่ก็มีบางกลุ่ม มองว่า ภาษาย่อมมีวิวัฒนาการ , ภาษาเป็นเรื่องของการสื่อสาร ไม่ว่าจะถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ขอให้สามารถสื่อสารกันเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร

          คนในวัยเดียวกันหรือใกล้เคียง จึงมักจะสื่อสารเข้าใจกันได้ง่ายกว่า แต่หาก คนในแต่ละวัยหันมาฟังภาษาของกันและกัน โดยปราศจากอคติต่อกัน เด็กอย่ามองว่าภาษาของผู้ใหญ่เชย โบราณ ผู้ใหญ่ก็อย่ามองว่าภาษาของเด็กอัปลักษณ์ ปัญญานิ่ม พาภาษาไทยวิบัติ ศึกษาภาษาของกันและกันไว้ ก็ไม่น่าจะเสียหาย (อันเนื่องมาจาก ไม่สามารถห้ามเด็กมิให้แปลงภาษาได้)

          โฆษณาของ AIS เรื่องหนึ่ง ที่ลูกสาวกลับบ้านดึก กำลังย่องเข้าบ้าน ใจคิดว่า กลัวแม่ดุที่กลับบ้านดึก ส่วนแม่ก็นั่งรอลูกสาวที่เก้าอี้หน้าโทรทัศน์ ใจก็นึกห่วงลูกสาว เกิดอะไรขึ้น แล้วจะกินอะไรรึยัง แสดงให้เห็นถึง มุมมองของความคิด ต่างวัยต่างประสบการณ์และต่างบทบาท หากต่างฝ่ายต่างมองเห็นความคิด ความรู้สึกของอีกฝ่าย สิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นในครอบครัว

           กลับไปที่การสะกดคำ ในภาษาไทยอีกครั้งนะคะ โดยส่วนตัว คิดว่า การสะกดคำผิด ส่วนหนึ่งมาจากการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน เช่น

  • ความคุ้นเคย  

           การมองเห็น "คำ" มองคำนั้นบ่อยครั้งจนจำได้ หากเป็นคำที่สะกดผิด ผู้ไม่รู้ก็จะจดจำคำผิดนั้น โดยเข้าใจว่าถูกต้อง ผู้รู้บางคนก็อาจไขว้เขว้ เกิดความไม่แน่ใจ เช่น ป้ายคำว่า "อะไหล่" อาจพบคำว่า "อะหลั่ย" หรือคำว่า "ข้าวกะเพรา" อาจพบคำว่า "ข้าวกระเพรา"

       ตัวอย่างคำทั้งสองคำ สามารถพบเห็นได้ทั่วไป แต่ใครจะเป็นคนไปบอกเจ้าของร้านให้แก้ไขละคะ

  • ผู้ใหญ่ เลียนแบบเด็ก     (ขอพูดเฉพาะการเขียนสะกดคำ)

            ผู้ใหญ่เขียนให้เด็กอ่าน โดยใช้ภาษาของเด็ก เข้าใจว่าจะได้ดูเป็นวัยเดียวกัน เข้ากันได้ง่าย ไม่ถูกกล่าวหา ว่าแก่ เรายังเป็นวัยรุ่นอยู่นะ

            สิ่งนี้ เท่ากับเป็นการเน้นย้ำ คำที่สะกดผิดให้ตรึงแน่นอยู่ในจิตใจของพวกเขา การยอมรับ การศึกษาภาษาของพวกเขา ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องเขียนให้เหมือนพวกเขา หากจะเขียนไปแนะนำคำที่สะกดถูกไป เด็กก็จะไม่ชอบ มองว่าน่าเบื่อเสียอีก เหมือนตอกย้ำให้เขาไม่ชอบภาษาไทย

            ในการเขียนให้เด็กหรือวัยรุ่นอ่าน ก็ใช้คำที่สะกดถูกต้อง ให้เขาได้อ่าน ถึงแม้เขายังใช้คำตามแบบของเขา แต่อย่างน้อย เขาได้อ่าน ได้เห็น คำที่ถูกต้องจากเรา

  • การอ่าน

          เด็กๆ ไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่กลับชอบเล่นแชท ซึ่งก็ต้องอ่านตัวหนังสือที่เพิ่อนเขียน ก็วัยเดียวกัน ภาษาเดียวกันอีก ผู้ใหญ่ที่เล่นก็ใช้ภาษาเดียวกันอีก

          อีกประการ คือเด็กๆ อ่านหนังสือดีๆ ย้ำหนังสือดีๆ น้อยมาก จะอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นที่ใช้ภาษาเดียวกับพวกเขา หรือ พวกเขาใช้ภาษาตามหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นก็ไม่รู้นะ

          ยังไงก็ มรดกทางภาษา พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์อักษรไทยให้ใช้กัน คนไทยถึงมี ภาษาไทยเป็นของตนเอง ลูกหลานไทยจะทำลายหรือรักษา เอกลักษณ์ของชาติ ครูทุกคนก็สู้สุดกำลัง น่าเห็นใจ ครูไทย...

                                                                                        morisawa 

                   

 

หมายเลขบันทึก: 178542เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2008 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับ

เข้าเรื่องเลย

มีสองกรณี

1. กรณีที่ต้องการใช้คำแปลก เพื่อสะดุดตา เช่น ฆณศวย (คนสวย) หรือ เลียนเสียงพูด ก้อ ช่าย ด้าย...

2. ผิดเพราะ ไม่ทราบว่าคำที่ถูกเขียนอย่างไร เช่น สังเกตุ, อนุญาติ, เกียรติ์, โล๊ะ, สำอางค์, เท่ห์ ฯลฯ ผู้ใหญ่ก็ผิดให้เห็นอยู่ประจำ

ทั้งสองกรณี ไม่ได้พบเฉพาะแช็ต, ในอินเทอร์เน็ต เว็บ เว็บบอร์ด อีเมล หนังสือพิมพ์ออนไลน์บางฉบับผิดให้เห็นเป็นประจำ, การเขียนในบล็อกอย่างนี้ก็มีโอกาสผิดมาก เพราะถ้าพิมพ์ไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ หรือเผลอกดไป ฯลฯ

ต้องช่วยกันครับ

สวัสดีค่ะ

  • เด็กสมัยนี้  มีความคิดสร้างสรรค์  คิดภาษาขึ้นมาใช้เอง
  • แต่ก็ควรจะใช้ในกลุ่มของตัวเอง  ไม่น่านำมาเขียนในที่ผู้อื่นเข้ามาอ่าน
  • เท่ากับ ลบและลดคุณค่าทางภาษาของตนเอง
  • มาช่วยกัน  ลบและลดปัญหานี้  ด้วยการเริ่มต้นใช้ภาษาที่ดีให้เป็นตัวอย่างนะคะ

เวลาแชท ต้องพิมสั้นๆ เพื่อความวัย เดี๋ยวนี้อะรัยก้อต้องวัยๆ ไว้ก่อนนะคับ

งั้นเราควรจะทำอย่างไรกันต่อดีครับ ไม่อยากโทษกันไปโทษกันมาเหมือนงูกินหาง

ร่วมด้วยช่วยกัน หาทางป้องกันแก้ไขค่ะ

ผมเป็นคนหนึ่งที่เวลาเห็นการเขียนภาษาไทยผิดๆเพี้ยนไปโดยการจงใจแล้วหงุดหงิดเว้นแต่ว่าไม่เจตนาเพราะเขาไม่รู้จริงๆ

เพราะการแปลงภาษาไทยเท่ากับเป็นการบ่อนทำลายชาติ ทำลายความมั่นคง ไม่ให้เกียรติบรรพบุรษที่ต้องเอาชีวิตเลือดเนื้อและน้ำตาเข้าแลก กว่าจะได้มาซึ่งความเป็นเอกราช ความเป็นชาติ ความเป็นไท

บางครั้งลิงได้แก้วก็โยน ไก่ได้พลอยก็เขี่ยทิ้ง เราจะเห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ในมือของเราก็ต่อเมื่อของสิ่งนั้นกำลังจะหลุดลอยไป เฉกเช่นภาษาก็เช่นกัน ลองนึกถึงประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก หลายๆประเทศที่นำเอาภาษาของเจ้าของอาณานิคมมาเป็นภาษาแม่ เอามาเป็นภาษาราชการ ซึ่งไม่มีความภาคภูมิใจในความเป็นชาติเลย วันชาติของประเทศเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็เป็นวันที่ได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคมทั้งนั้น

แล้วเราทำไมไม่ภูมิใจในความเป็นไทย ความเป็นเอกราชในดินแดน ในภาษา ในวัฒนธรรมของเราที่ช่วยกันถักทอโดยคนไทยเชื้อชาติไทยกันเล่า เราควรภูมิใจในสิ่งที่เรามีดี ชาติอื่นเขาไม่มี อย่าได้มีพฤติกรรมเลียนแบบชาติอื่นในทางที่ไม่ดีเลย อย่าได้ทำลายชาติโดยการทำลายภาษาเลย เราต้องรักศักดิ์ศรี รักเกียรติ และรักความเป็นไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท