มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ตัวอย่างการสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนเมือง | แวนคูเวอร์


http://farm3.static.flickr.com/2240/2443150781_1c846121b4.jpg

เมืองแวนคูเวอร์แบ่งออกเป็น เขต (district) และ ชุมชน หรือ กลุ่มเพื่อนบ้าน (neighbourhood) 

* อยากเรียก neighbourhood ว่าตำบลเพียงแต่ว่ามันไม่มีแบ่งย่อยไปกว่านี้เป็นหมู่บ้านอ่ะคะ จะเรียกว่าหมูบ้านมันก็ใหญ่กว่าหมู่บ้านที่เมืองไทย

apartment ของมัทกับเจษฎฺ์อยู่เขต Vancouver Westside ในชุมชนที่ชื่อว่า Kerrisdale

  • แล้วธุรกิจร้านค้าในแต่ละชุมชนก็จะรวมตัวกันเป็น business association promote ธุรกิจของชุมชนให้คนชุมชนอื่นมาเที่ยวและช่วยพัฒนาโครงสร้างชุมชนเสริมไปกับที่ทางเทศบาลทำอยู่แล้วด้วย

ใน 1 ปี แต่ละชุมชนก็จะมีงานประจำปี บางที่เข้มแข็งก็งานใหญ่ มีปีละหลายครั้ง บางที่ก็มีครั้งเดียว รูปแบบงานก็ต่างกัน บางที่เป็นงานใหญ่มาก มีคนมาจากทุกมุมเมืองเช่นงานของชุมชน Kitsilano

ที่ Kerrisdale ที่มัทกับเจษฎ์อยู่นี้ก็ชุมชนเข้มแข็งงานใหญ่ แต่ไม่ค่อยมีคนนอก เท่าที่เห็นจะเป็นคนแถวนี้ซัก 80% มีงานปีละ 2 ครั้ง งานวันนี้เป็นครั้งแรกของปี ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิและฤดูแข่งเบสบอลของเด็กๆ (little league) สังเกตได้ว่าป้ายงานเป็นรูปเด็กเล่นเบสบอล

http://farm3.static.flickr.com/2373/2443881368_7bbc649870_m.jpg http://farm4.static.flickr.com/3216/2443881912_d93f167e5b_m.jpg http://farm4.static.flickr.com/3285/2443054853_4e333297e4_m.jpg

วิธีการตั้งทีมคือธุรกิจร้านค้าจะเป็น sponsor ให้ร้านละทีม ตั้งทีมมาแข่งกัน เด็กก็มาจากในชุมชน แต่ว่า league นี้มีมานานมากจนตอนนี้มีการเชิญทีมชุมชนอื่นมาแข่งด้วย ที่แวนคูเวอร์นี้เด็กจะเรียนโรงเรียนใกล้บ้าน ใน Kerrisdale เองก็มีอยู่หลายโรงเรียนทั้งประถมและมัธยม เด็กก็เลยเยอะมากๆค่ะ

 

มาดูหน้าตานักเบสบอล little league ของ Kerrisdale กันเลยคะ

http://farm3.static.flickr.com/2044/2443058343_792de4ddaa.jpg  http://farm4.static.flickr.com/3061/2443885440_d4f4b56081_m.jpg

http://farm3.static.flickr.com/2199/2443058175_f57fa17d49.jpg?v=0  http://farm3.static.flickr.com/2346/2443052833_7282ec3a6f_m.jpghttp://farm3.static.flickr.com/2346/2443052833_7282ec3a6f_m.jpg

มีรุ่นเล็กมากๆด้วยค่ะ

http://farm3.static.flickr.com/2195/2443057107_441e813ed6_m.jpg http://farm4.static.flickr.com/3104/2443883986_15e09cba2a_m.jpg

http://farm3.static.flickr.com/2331/2443056341_56170881cc_m.jpg http://farm3.static.flickr.com/2037/2443056265_ca142327d0_m.jpg

ชุมชนนี้มีเสน่ห์ตรงที่เป็นชุมชนที่มีคนทุกวัยตั้งแต่เด็กมากไปสูงวัยมากๆ

มีปู่ย่าตายายมารอดูเด็กๆเต็มไปหมด

http://farm4.static.flickr.com/3154/2443882522_42dc433c73_m.jpg http://farm4.static.flickr.com/3189/2443054621_3f02551871_m.jpg http://farm4.static.flickr.com/3084/2443881036_81cc49d5d1_m.jpg

มาดูพาเหรดส่วนอื่นๆดูบ้างค่ะ

http://farm4.static.flickr.com/3080/2443058011_1c76af9897_m.jpg http://farm3.static.flickr.com/2274/2443885196_7511c9250f_m.jpg http://farm3.static.flickr.com/2097/2443883058_d632098c24_m.jpg

http://farm3.static.flickr.com/2032/2443882804_ff029de221_m.jpg http://farm4.static.flickr.com/3248/2443055445_9254e8ec66_m.jpg

http://farm4.static.flickr.com/3167/2443055645_bcb1209327_m.jpg http://farm4.static.flickr.com/3159/2443057461_ac7e9dd9b1_m.jpg

http://farm3.static.flickr.com/2322/2443882202_368e9f80c3_m.jpg http://farm4.static.flickr.com/3107/2443055067_1dc7cb54e7_m.jpg

http://farm3.static.flickr.com/2354/2443884900_2347823ca8_m.jpg http://farm3.static.flickr.com/2229/2443057907_b4f59bb031_m.jpg

พอหมดพาเหรดแล้วทุกคนก็ไปรวมกันที่สนามเบสบอลเพื่อนเปิดงานแข่งคู่พิเศษ

บนถนนก็มีกิจกรรมต่างๆต่อ มีวงดนตรีมาเล่น ร้านค้าลดราคา มีของแจก เป็นต้นค่ะ

http://farm3.static.flickr.com/2167/2443880912_aa513bd056_m.jpg  http://farm4.static.flickr.com/3198/2443372943_afa4aba52b_m.jpg

http://farm3.static.flickr.com/2015/2444200082_180e6dfa18_m.jpg http://farm4.static.flickr.com/3181/2444199608_6e962a5c67_m.jpg http://farm4.static.flickr.com/3202/2444199234_7d3a42c071_m.jpg

http://farm3.static.flickr.com/2384/2443375165_366c5d9015.jpg http://farm4.static.flickr.com/3129/2443374037_9d26d262d5.jpg?v=0

http://farm3.static.flickr.com/2136/2444201978_03b2e02cf0.jpg?v=0

 

จบแล้วค่ะ มัทเป็นแค่นักเรียนที่มาอยู่ชั่วคราว ไม่ได้มีลูกเข้ารร.ที่นี่ ไม่ได้มีบ้าน แค่เช่าห้องอยู่ แต่มัทก็รู้สึกได้ถึงความเป็น "community" ของ Kerrisdale

เราซื้อกับข้าวร้านเดิมๆ ทานข้าวร้านเดิมๆ เดินถนนเดิมๆ เล่นเทนนิสสนามเดียวกัน ไป community centre ไปออกกำลังกายที่เดียวกัน หน้าตาคนแถวนี้ก็คุ้นกันไปเอง คุยกันไปเอง ยิ่งมีงานแบบนี้ยิ่งทำให้คนรัก neighbourhood ตัวเอง มีกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น ทำลายกำแพงคนเมืองที่กั้นให้ต่างคนต่างอยู่ออกไปทีละน้อยละน้อย : )

 

หมายเลขบันทึก: 178949เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2008 03:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

คุณมัทนา

        ยอดเยี่ยมมากเลยครับ ที่เล่าบรรยากาศของชุมชน ผมกำลังเสนอให้ องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) 17 ตำบล ของ 4 อำเภอ ในจังหวัดนนทบุรี จัดตั้ง สโมสรเด็กและเยาวชนประจำตำบล พร้อมคิดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเยาวชน โดยเชื่อว่า เด็กและเยาวชนจะเป็นพลังในการดึงดูดความสนใจของผู้ใหญ่ทุกคนในชุมชน ให้หันมาร่วมมือและร่วมพัฒนาชุมชนในด้านอื่น ๆ มากยิ่งขึ้นต่อไป การเรียกชุมชนว่า "กลุ่มเพื่อนบ้าน(Neighbourhood)" เป็นการให้ความหมายที่ดีมาก

  • ให้ Concept ตำบล ว่า "กลุ่มเพื่อนบ้าน"
  • เด็กที่นี่ เรียนในโรงเรียนใกล้บ้าน
  • เมื่อจัดกิจกรรมของเด็ก  ผู้ใหญ่ ปู่ ย่า ตา ยาย จะมาร่วมมือ(อย่างแน่นอน)
  • ร้านค้าในชุมชนเป็น Sponsor ดูแลกิจกรรมของเด็ก
  • ร้านค้า ธุรกิจในชุมชน รวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง อำนาจต่อรอง หรือ อำนาจการจัดการ
  • น่าสนใจอย่างมากเลยนะคะ ที่จะส่งเสริมให้ชุมชน จัดกิจกรรมกันเอง ได้อย่างเป็นจริงๆ
  • ซึ่งดูแนวโน้มถ้าเขาทำกันจริงๆ แล้ว ก็ย่อมทำได้แน่เลย
  • บรรยากาศที่แวนคูเวอร์ดูดีมากเลยค่ะ

ยอดเยี่ยมน่าอิจฉา.. อี๋กำลังทำงานวิจัยหัวข้อ เรื่องการการพื้นที่เรียนรู้ทางวัฒนธรรมผ่านอินเทอร์เน็ต

Copcept คือ อยากทำให้เป็นที่เรียนรู้ของเด็กกับวัยรุ่น และ เป็นที่ผู้ใหญ่เข้ามาศึกษาวัฒนธรรมสมัยของเยาวชน

เห็นตัวอยากแบบนี้แล้วปิ๊งเลย

อ้อ รูปสวยมากนะคะ

ยินดีมากๆที่อ.สุพักตร์มาเยี่ยมที่บล็อกนี้ค่ะ เพิ่งแอบไปดู thaievaluator.com มาเองค่ะ เพราะมัทก็ทำวิจัยเกี่ยวกับการประเมินเช่นกัน แอบชื่นชมกับบล็อกแม่สอนลูกอยู่ด้วยค่ะ

  • เรื่องให้เด็กเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมใดๆก็ตามนี่ได้ผลมาหลายที่หลายโครงการ วัฒนธรรมไทยก็ไม่ต่างกัน แต่ว่ารูปแบบคงต้องไปคิดอีกทีว่าทำอย่างไรให้เข้ากับบ้านเรา บางทีถ้าไม่ทางการมาก ไม่ต้องจดทะเบียนใดๆก็ได้ผลแบบสบายๆไม่มีใครโดนบังคับไปอีกแบบค่ะ  หากลวิธีจุดชะนวนให้เกิดการก่อกลุ่มเอง ก็อาจจะได้กลุ่มที่เข้มแข็งไปอีกแบบ

ขอบคุณอีกครั้งที่แวะมานะคะ

พี่หมอนนท์ (เพื่อนร่วมทาง): จริงๆแล้วจะให้วิเคราะห์ว่าชุมชนไหนเข้มแข็งกว่ากันเพราะอะไรก็น่าสนใจนะคะ เพราะแต่ละที่จะมีกลุ่มประชากรที่ต่างกันไป บางทีมี immigrant มากมาย บางที่มีแต่วัยที่เพิ่งจบมหาวิทยาลัย แล้วเริ่มทำงานใหม่ๆ (ที่ที่ hip hip) บางที่ก็จนซะ บางที่ก็ไม่เหมือนที่ไหนเลย เช่นใน UBC ก็เป็นเขตการปกครองแยกออกไปเลย คนที่อยู่แต่ใน campus ก็จะได้อารมณ์อีกแบบค่ะ ไว้ว่างๆกว่านี้มัทจะลองค้นดู

คุณอี๋ (ladygenius)

ดีใจที่บันทึกนี้ทำให้คุณอี๋เกิดความคิดปิ๊งๆ งานคุณอี๋น่าสนใจดีนะคะ

คล้ายๆ senior pals รึเปล่าคะ

ขอบคุณที่แวะมานะคะ

  • มีคลิปดนตรีด้วย มาเยี่ยมชมครับ
  •  เมืองน่าอยู่จังนะครับ

สวัสดีครับ อ.มัท

ที่พวกบ้านเราไปดูงานไม่รู้ได้เห็นเข้าใจอะไรที่ ดูดีแบบนี้มาบ้างหรือเปล่านะครับ เป็นเรื่องที่เป็นพื้นฐานของชุมชนอยู่แล้วนะครับ แต่ว่าอย่างบ้านเราอาจไม่ได้คิดแบบเป็นโครงสร้าง หรือ รวบยอด เป็นคอนเซปท์อะไร ที่เห็น ๆ มีอยู่ก็คือ

งานบุญประเพณี ซึ่งมีทุกเดือน ( แต่จะมีบุญใหญ่ประจำปีเช่นกัน อาจต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ )

งานแข่งกีฬาสีโรงเรียน กีฬากลุ่มโรงเรียน กีฬา อบต. งานของดีประจำอำเภอจังหวัด

ผมว่าบางทีบ้านเรางานมันเยอะเกินไป ความสำคัญก็ไม่รู้จะพุ่งไปตรงไหน แล้วเราให้ความสำคัญไปที่ประเพณีวัฒนธรรม โดยอาจไม่ได้มองเรื่องโครงสร้างของชุมชนนัก ก็เลยทำให้เราหลากหลายแต่ไร้จุดหมาย

แต่ขณะเดียวกันตัวปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมประเพณี หรือการปรับประยุกต์ใช้ก็กำลังเกิดปัญหาไม่เหมาะสมกับสถานการณ์หรือ ความจำเป็นในการดำเนินชีวิตในยุกปัจจุบัน

อีกเรื่องที่พยายามพัฒนากันอยู่ตอนนี้ก็คือ แผนชุมชน ซึ่งก็โยนเอาภาพใหญ่ ๆ กว้าง ๆ ลงไปในหมู่บ้านกันอีกทั้งทาง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม ศาสนา

ผมว่าก็ทำให้ความเป็นชุมชนยังคงมองกันไม่ออก บอกกันไม่ได้ และขาดการเชื่อมต่อรูปแบบวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมกับการประยุกต์ใช้ในสังคมใหม่อีกอยู่ดี

เราขาดการจัดการที่ดีอีกตามเคยนะครับ ก็เหมือนยามเราได้เป็นเจ้าภาพจัดงานอะไร หรือกีฬาอะไรระดับชาติซักอย่างในบ้านเรา บางครั้งมันจับต้องมองเห็นความชัดเจนในแต่ละครั้งยากจริง ๆ แม้แต่เพลงประจำการแข่งขันก็....ไม่ได้บอกอะไรนัก...

ขอบคุณที่นำมาให้ผมได้ทราบอะไรมากขึ้น ไปอีก แล้วก็อ่านที่ผมบ่น ๆ มาด้วย ( อยากลองแลกเปลี่ยนเป็นเชิงสังคมเปรียบเทียบน่ะครับ )

ขอบคุณนะครับ ฤดูใบไม้ผลิดูดีมั้ยครับ

คุณสุมิตรชัยคะ บ่นได้เลยค่ะ รับฟังเพราะบ่นแบบวิเคราะห์แบบนี้มีประโยชน์

มัทขอบ่นกลับนิดนึงว่า จริงๆมัทไม่กังวลสังคมชนบทเท่าสังคมเมืองเพราะองค์ความรู้บ้านเรา เรื่องสังคมชนบทมีคนสนใจรวบรวมมามาก แต่สังคมเมืิองนั้นมีน้อยกว่า

งานบุญประเพณี งานโน่นงานนี้ มีพิธีเปิด เชิญคนโน้นคนนี้มาเป็นหน้าเป็นตามันเป็นวัฒนธรรมไทยไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะไม่ดี เราใช้มันเป็นโอกาสได้

สิ่งที่มัทนำเสนอในบันทึกนี้มัทอยากให้เห็นโครงสร้างที่ทางหลวงจัดให้ คือ community centre, สนามกีฬา, ห้องสมุดประชาชน, การแบ่งโซนเป็น neighbourhood

ส่วนแต่ละที่จะทำอะไรก็ให้คิดกันเอง ทางหลวงไม่ต้องไปสั่งไม่ต้องไปทำแผนอะไรให้เค้า ให้เค้าคิดเองหางบเอง หรือ ถ้าต้องการงบก็ค่อยขอทางการเอา

ทางการส่งคนมาช่วยงานตลอด

มัทคิดยังไม่ออกว่าจะ  appply กับสังคมระดับตำบลอย่างไร เพราะ อบต.เรามีอำนาจในหลายๆด้านมากเหลือเกิน  ถ้าไม่เป็นข้อดีสุดๆไปเลยก็เป็นอุปสรรคที่น่าเก็กซิมมาก

ในใจมัทคิดถึงกรุงเทพ รังสิต บางบัวทอง ประมาณนี้ค่ะ ยิ่งที่ที่มีคนอพยพเข้ามาทำงานมากๆยิ่งน่าคิด

พลัดกันบ่นเนอะคะ : ) ขอบคุณที่ิแวะมาแลกเปลี่ยนกันนะคะ

 

 

คุณกวินทรากร: ขอบคุณมากๆสำหรับความสม่ำเสมอ : )

แวนคูเวอร์ติดอันดับเมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกทุกปีคะ บางปีก็ที่ 1 บางปีก็ที่ 3 ขึ้นๆลงๆ เห็นบันทึกนี้แล้วก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ใช่มั้ยคะ : )

  • สมเป็นเมืองน่าอยู่จริงๆด้วยค่ะ
  • แล้วสมาชิกในชุมชนก็ร่วมแรงร่วมใจกันอย่างดี
  • อยากให้บ้านเราน่าอยู่แบบนี้บ้างนะคะ
  • อิอิ คนในหมู่บ้านตัวเองจนป่านนี้ยังรู้จักไม่หมดทุกคนเลยค่ะ ทั้งๆที่มีคนแค่ 50 กว่าคน บางคนยิ้มให้ก็ไม่ยิ้มตอบเราเลยหน้าแตก
  • แต่รู้จักหมาในหมู่บ้านเกือบทุกตัวแล้วค่ะ

ต่อมาจากบันทึกที่แล้วเลยค่ะที่คุณnaree suwan

บอกว่า เพื่อนบ้านคือรั้วที่ดีกว่ารั้วกันขโมยใดๆ

คนใหม่หมู่บ้านสังคมเมือง ต้องมีรั้วสูงๆก็เพราะไม่ได้อยู่เป็นชุมชนช่วยกันก็เรื่องนึงเนอะคะ

บ้านมัทที่กรุงเทพก็อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรที่เจ้าของโครงการเค้าทิ้งไปแล้ว ก็เลยเริ่มมาดูแลกันเอง รู้จักกันบ้าง แต่ก็ยังไม่เท่าไหร่ มีผู้สูงอายุไปรวมตัวกันออกกำลังกายนั่งคุยตอนเช้าริมสระน้ำ มีการจัดงานตักบาตรร่วมกันตอนปีใหม่ริมสระน้ำ

นี่แหละค่ะที่มัทบอกว่า ตัวโครงสร้างทางกายภาพช่วยได้ ถ้าไม่มีสระน้ำบ่อน้ำนี้ก็ไม่มีพื้นที่รวมตัวกัน เพราะฉะนั้น มัทจะให้ความสำคัญกับ พื่นที่ เหล่านี้มาก ศูนย์ออกกำลังกายที่ไม่ใช่แค่ลานเล่นบาสนี่ถ้ามีจะดีมากๆ ที่นี่ศูนย์ชุมชนมียิมชนิดที่ไม่ต้องไปจ่ายเงินเข้าฟิตเนสเอกชนแพงๆที่ไหนเลย  ที่นี่จ่ายปีละ 4000 บาท ไปบ่อยแค่ไหนก็ได้ ตีเทนนิสก็ตีฟรี สนามไม่ต้องดีเลยค่ะ เทปูนนี่แหละ ก็ใส่รองเท้่าไม่ต้องดีมาก แต่ก็มีที่ตีได้บ่อยๆและฟรี สวนสาธารณะตรงบ้านมัทที่นี่ก็เป็นสนามหญ้าใหญ่แต่ 2 สนามบอล แค่นี้ก็มีพิื้นที่สีเขียวให้คนมาเดินเล่น นั่งพัก โยนบอล เตะบอล มาปิคนิคได้แล้ว ไม่ต้องแต่งอะไรให้หรูหราเลย

แล้วทางรร.มัธยมที่นี่ก็เปิดให้ใช้ลู่วิ่งกับสนามบอลหลัง 5 โมงเย็นอีกต่างหาก คือพอนร.กลับบ้าน คนอื่นๆในชุมชนก็มาใช้ได้ถึงเที่ยงคืนถึงปิดไฟ มัทเห็นกลุ่มพ่อบ้าน อายุ 50-60 มาแตะบอลอยู่เรื่อยๆ บางทีก็มีกลุ่มวัยรุ่นมาแจมแตะด้วย น่ารักจะตาย

เขียนซะยาวเลย แฮะๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท