แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานเวชระเบียนและสิทธิบัตร


ในชีวิตประจำวัน ทุกคนรวมทั้งข้าราชการควรรู้สิทธิของตนเอง

ในชีวิตประจำวัน  ทุกคนรวมทั้งข้าราชการควรรู้สิทธิของตนเอง  ดังนั้นจึงขอเผยแพร่ความรู้เรื่อง

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสิทธิข้าราชการ ของตนเอง
และบุคคลในครอบครัว
  ดังนี้

 

            ผู้มีสิทธิ   หมายถึง   ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชาวต่างประเทศ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล  พ.ศ.  2523  

            บุคคลในครอบครัว หมายถึง บิดา มารดา คู่สมรส และบุตร ที่ถูกต้องตามกฎหมายของ
ผู้มีสิทธิ

            สถานพยาบาล  หมายถึง  สถานพยาบาลของทางราชการ  ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.  2523  และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

ประเภทผู้ป่วย  มี  2  ประเภท คือ

            1.  ผู้ป่วยนอก  ให้เบิกได้ตามรายการอัตราและหลักเกณฑ์ที่กำหนด  และการตรวจสุขภาพประจำปี ได้เฉพาะตนเอง ให้เป็นไปตามที่กระทรวงกำหนด

            2.  ผู้ป่วยใน  ให้เบิกได้ตามรายการอัตราและหลักเกณฑ์ที่กำหนด

หลักเกณฑ์ในการเบิกค่าห้องและค่าอาหาร

            ค่าห้อง และค่าอาหาร    หมายถึง   ค่าห้อง หรือค่าเตียงสามัญรวมอาหาร  สำหรับผู้ป่วยขณะที่พักรักษาในสถานพยาบาล

            ค่าใช้อุปกรณ์ในห้อง I.C.U  จัดอยู่ในหมวดค่าอุปกรณ์ของใช้และเครื่องมือทางการแพทย์ กรณีเด็กแรกเกิดป่วยให้คิดค่าใช้จ่ายแยกต่างหากจากแม่  หากเด็กแรกเกิดไม่ป่วยให้คิดค่าใช้จ่ายรวมกับแม่

            ค่าเตียงสามัญ     เบิกได้ร่วมกับค่าอาหารในราคาวันละ  300 บาท ไม่จำกัดจำนวนวัน

            ค่าห้อง ICU    เบิกได้ในราคาวันละ  600  บาท

            ค่าห้องพิเศษ     เบิกได้ร่วมกับอาหารในราคาวันละ  600  บาท  จ่ายส่วนเกิน  50 % ให้เบิกได้ระยะเวลา 13  วัน  ส่วนที่เกินกว่านั้น  ให้สถานพยาบาลเรียกเก็บจากผู้มีสิทธิ  เว้นแต่กรณีที่คณะกรรมการแพทย์ที่ผู้อำนวยการสถานพยาบาลแต่งตั้งวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องรักษาเกินกว่า  13  วัน  ให้เบิกค่าห้องและค่าอาหารได้ตามจำนวนวันที่คณะกรรมการแพทย์วินิจฉัยและออกหนังสือรับรองให้ เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย

            ค่าบริการทางทันตกรรม      หมายถึง   ค่าบริการในการรักษาทางทันตกรรมตามรายหัตถการหรือรายโรค   โดยการคิดค่าบริการให้คิดครอบคลุม  ค่าเครื่องมือ ค่ายาพื้นฐานที่ใช้  และวัสดุสิ้นเปลืองด้วย 

            สำหรับค่าจัดฟัน ค่าใส่เดือย ค่าฟันเทียม ค่าครอบฟัน และการทำหัตถการเพื่อเป็นการป้องกัน ( เช่น การเคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรด์ ) เบิกไม่ได้

 

ค่าบริการฝังเข็ม และค่าบริการการให้การบำบัดของผู้ประกอบโรคศิลปะอื่น   หมายถึง  ค่าบริการในการให้บริการฝังเข็ม และค่าบริการการให้บริการของผู้ประกอบโรคศิลปะอื่นๆ ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ เช่น  แพทย์แผนไทย  เป็นต้น

            การเบิกค่าฝังเข็มและค่าบริการบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย  จะต้องมีใบรับรองจากแพทย์เพื่อประกอบการเบิกจ่าย 

หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสิทธิประกันสังคม

            ผู้มีสิทธิ   หมายถึง  ลูกจ้างของสถานประกอบการ  ลูกจ้างชั่วคราว  และพนักงานของรัฐ

 

บัตรประกันสังคมเครือข่ายโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น

1.      บัตรที่ใช้สิทธิได้ต้องระบุใช้ที่ รพ.ขอนแก่น เท่านั้น

2.      เป็นสิทธิเฉพาะตัวที่ระบุในบัตรเท่านั้น

3.      โรคที่คนไข้ใช้สิทธิไม่ได้  (คนไข้ต้องชำระเงิน) มีดังนี้คือ

3.1    คลอดทุกประเภทที่มีใบสูติบัตร (ตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงคลอด คนไข้จะได้รับเงินเหมาจ่ายท้องละ  12,000 บาท  เมื่อนำสูติบัตรไปแสดง)  ดังนั้น  ตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงคลอดคนไข้จะต้องจ่ายเงินไปก่อน

3.2    ทันตกรรม  เช่น  อุดฟัน  ถอนฟัน  ขูดหินปูน  รักษารากฟัน  (คนไข้ต้องชำระเงินเอง แล้วกรอกในใบแบบฟอร์มขอใบเสร็จไปเบิกเงินคืนได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด  ได้ครั้งละไม่เกิน  500  บาท  ปีละไม่เกิน  2  ครั้ง

3.3    การคุมกำเนิดชั่วคราว  ได้แก่  การรับยา  ฉีดยา  ใส่ห่วงอนามัย  ฝังเข็ม เป็นต้น

3.4    การตรวจสุขภาพ  การตรวจมะเร็งปากมดลูก  การทดสอบการตั้งครรภ์  การฝากครรภ์ (รับประกันเฉพาะการเจ็บป่วย)

3.5    การฉีดวัคซีน ที่ไม่ใช่วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

3.6    การรักษาภาวะมีบุตรยาก

3.7    การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

3.8    การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง

3.9    การตรวจใด ๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น ๆ

3.10            Criminal  Abortion  (แต่  Septic  Abortion  หรือ  Threatened Abortion  หรือ Habbitual  Abortion  เบิกได้ )

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับบัตรประกันสังคม รพ.ขอนแก่น (คนไข้นอก)

     หลักฐานที่สำคัญ

     1. สำเนาบัตรประกันสังคม (บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล) ต้องระบุใช้โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นเท่านั้น

     2. สำเนาบัตรประชาชน

การปฏิบัติเกี่ยวกับบัตรประกันสังคม (คนไข้ใน)   เฉพาะคนไข้ประกันสังคมทุกรายให้คิดค่าห้องวันละ 350  บาท

ตัวอย่างของโรคที่คนไข้ใช้สิทธิฟรี  ได้  และศูนย์จะเรียกเก็บเงินได้

1.      การทำหมันถาวร         หมันชายเรียกเก็บได้ไม่เกิน     500  บาท

                                          หมันหญิงเรียกเก็บได้ไม่เกิน    1000  บาท

2.      โรคแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์  เช่น 

      2.1 False Labour pain (การเจ็บครรภ์คลอด)

      2.2 Premature Labour (การเจ็บป่วยก่อนกำหนดที่ไม่มีการคลอด)

      2.3  Threatened Abortion, Habbitual abortion, Septic Abortion         

3.      โรคแทรกซ้อนจากการคลอดบุตร เช่น ตกเลือดหลังคลอด รกค้าง (ค่าใช้จ่ายไม่นับคนคลอด)

4.      การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า  การทำแผล การทำกายภาพบำบัด

 

ตัวอย่างของโรคที่คนไข้ต้อง เสียเงินเอง (ศูนย์ฯ จะเรียกเก็บเงินไม่ได้)

1.      การฝากครรภ์จนถึงคลอดทุกชนิด (NL, C/S)  ไม่ว่าจะเป็นการคลอดก่อนกำหนดหรือหลังคลอด (ที่มีใบสูติบัตร)

2.      ทันตกรรม

3.      การตรวจสุขภาพ ตรวจมะเร็งปากมดลูก การทดสอบการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ (รับประกันเฉพาะการเจ็บป่วย)

4.      การฉีดวัคซีนที่ไม่ใช่วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

5.      การคุมกำเนิดชั่วคราว  ได้แก่  การรับยา ฉีดยา ใส่ห่วงอนามัย  ฝังเข็ม

6.      Criminal Abortion

 

หมายเหตุ     กรณีทำ  C/S /  TR  ไม่เก็บค่า  TR  กับผู้ป่วย   ให้เก็บหลักฐาน และส่งสิทธิบัตรเรียกเก็บ  2 ชุด

หมายเลขบันทึก: 179209เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2008 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เสียดาย ค่าใส่ฟันเบิกไม่ได้เน๊าะ
  • ... อยากให้เบิกได้จัง
  • ... ยินดีต้อนรับสู่ G2K และลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรมอนามัยนะคะ
  • ... เข้ามาคุยกันบ่อยๆ นะคะ จะดีใจมากเลย ตอนนี้ที่นี่มีกิจกรรมให้ร่วมแจมเยอะ ... บันทึกในอนุทิน ก็น่าสนุกนะคะ

1.อยากทราบว่าการใช้สิทธิบัตรในการรักษาพยาบาลมีกี่ประเภทอะไรบ้างค่ะ

2.การออกเลขผู้ป่วยมีกี่ประเภทอะไรบ้างในงานชองเวชระเบียน

3.คอมพิวเตอรืที่ใช้ในงานเวชระเบียนมีประโยชน์อย่างไร

4.micro faimในระบบงานเวชระเบียนของโรงพยาบาลมีอะไรบ้างและมีประโยชน์อย่างไรค่ะ

5.การส่งต่อผู้ป่วยควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง

6.หน่วยบริการรักษาผู้ป่วยในระดับปฐมภูมิได้แก่หน่วยงานใดบ้าง

7.ผู้ที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมมีประชาชนกลุ่มใดบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท