ข้าวพันธุ์เมือง เมืองลุง


อู่นาข้าว

...พันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เกษตกรเมืองลุงปลูกรักษาไว้....ดังนี้

  1. ข้าวสังหยด
  2. ข้าวเล็บนก
  3. ข้าวไอ้เฉี้ยง
  4. ข้าวเหนียวดำ
  5. ข้าวหัวนา
  6. ข้าวหอมดำ/เมล์หอม
  7. ข้าวช่อเบา
  8. ข้าวดอกพยอม/ดอกกะยอม
  9. ข้าวไข่มดริ้น
  10. ข้าวอุเด็น
  11. ข้าวจำปาเหลือง

 

คำสำคัญ (Tags): #พันธุ์ข้าว
หมายเลขบันทึก: 179287เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2008 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

     ดีใจอย่างแรงครับที่เห็น
     สวัสดีครับบังหีม หากจะติดตามเรื่องราวของ ศวพถ.บังคลิ้กที่นี่นะครับ http://gotoknow.org/planet/cclrdn

เคยฟังใครบรรยาย (จำไม่ได้) แต่รู้สึกว่าเป็นข้าวพันธุ์หนึ่งที่พัทลุงกำลังสูญหาย และเริ่มมีการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว ไม่ทราบผมจำผิดหรือเปล่า

สวัสดีครับ

ตอนเด็กๆ ได้ยินแต่ข้าวกันตัง

สังข์หยดนี่ได้ยินเหมือนกันในหนังสือ

พักหลังพืชพรรณหายไปมาก

น่าเสียดายเหมือนกันนะครับ

สวัสดีคะ บังหีม

  • ดีใจมากเลยคะ ที่เห็นบังหีม ยกนิ้วหัวแม่มื่ให้  2 นิ้วเลยคะ
  • มาถึง ก็เอาเรื่องข้าวมาเลยนะคะ ทันสมัยเชียว
  • แต่ปูเคยได้ยินแต่ข้าวสังหยด กับ ข้าวเล็บนก เองคะ บังหีมเอามาตั้ง 11 อย่างแนะ
  • ตอนแรกๆ ที่ทานข้าวเล็บนกไม่ค่อยรู้สึกอะไรเลยคะ แต่เมือ่ไปทานข้าวอย่างอื่นดูแล้วรู้สึกว่าข้าวเล็บนก อร่อยมาก ส่วนข้าวสังหยดนั้น เป็นข้าวที่หายากแล้วในตอนนี้ตามความรู้สึกของปูนะคะ และ เค้านิยมทำเป็นของฝากกันใช่ไหมคะ เพราะเห็นเวลาเค้าแพค เค้าจะแพคไว้สวยเชียว 
  • หากเกษตรกร เราหันมาปลูกข้าว พื้นเมืองกันมากขึ้น น่าจะดีนะคะ หรือว่ายังไงบ้างคะ 

ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของภาคใต้หลายพันธ์ที่หายไป

และกลายพันใหม่ก็หลายอย่าง

นางพญา

ดอกยอม

ดอกแมละ

หอมจัน

หมูกมดสังข์

ข้าวจังหวัด

ไอ้โต

ไอ้เฉียง

โนรา

ช่อสาลี

ข้าวเหล่านี้จะกลับถ้ามีที่เกิด

สวัสดีค่ะ....บังหีม

น้องไก่ได้ความรู้เรื่องพันธุ์ข้าวเพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ ขอบคุณบังหีมมากนะคะที่มาให้ความรู้

ขอบคุณเกลอไก่ ที่ให้กำลังใจ

กำลังเรียนรู้เพื่อการฝึกหัด

กำลังปฎิบัติเพื่อหวังทางศึกษา

กำลังทำตัวให้ว่างเพื่อหวังทางปัญญา

เพื่อได้ใช้วิชาบริหารงานสังคม

คนที่เป็นนักคิด....มักจะพูดน้อย

คนที่เป็นนักพูด.....มักจะไม่คิด

คนที่คิดดี..และพูดดี   ....มีน้อยนัก.....

และป๊ะ......ก็เป็นแบบอย่างที่ดี...ให้ลูกเสมอมา...

ตามมาอ่านให้กำลังใจคนปากพะยูน คนบ้านเราครับ...

               ...เมืองหนังโนราห์  อู่นาข้าว  พราวน้ำตก...

         ...แหล่งนกน้ำ ทะเลสาบงาม เขาอกทะลุ น้ำพรุร้อน...

ว่าแต่บังหีมนี่หน้าคุ้น ๆ จังครับ...

สวัดีคุณดิเรก

เช่นกันครับเราคนกันเอง

ปากพะยูนด้วยกัน

มาปากพะยูนอย่าลืมแวะมาให้กำลังใจกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลปากพะยูน

เราต้องการกำลังใจ

ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ต้องการสำนึกรักบ้านเกิด(ไม่ใช่ฝาละมีน่ะ)

และต้องการเพื่อนร่วมทางที่คิด ทำ เพื่อคนอื่น

P

บังหีม

 

  • ตั้งใจเข้ามาเยี่ยมโดยเฉพาะ

กัลยาณมิตรอ้างถึงบ่อย แต่ไม่รู้คนไหน เพิ่งเจอตัวตามรูปวันนี้....

ความเห็นส่วนตัว ปากพะยูน จ.พัทลุง กับ สทิงพระ ระโนด จ.สงขลา นั้น มีความใกล้ชิดกันด้านความวัฒนธรรม... อย่างหนึ่งที่สังเกตได้ก็คือ  ธรรมเนียมท้องถิ่นในด้านศาสนาแถวสทิงพระ จะใกล้เคียงกับแถวบางแก้วหรือปากพะยูน มากกว่าแถวนาหม่อม หาดใหญ่ หรือจะนะ  ...  น่าจะเป็นเพราะ ในสมัยก่อนมีการติดต่อกันสะดวกโดยทางเรือ  ขณะที่หาดใหญ่เป็นต้น ค่อนข้างจะมายาก...

พันธ์ข้าวก็เหมือนกัน เคยได้ยินคนเฒ่าคนแก่คุยกันมานานแล้วว่า พันธ์ข้าวเกือบทุกชนิดที่มีอยู่ บางแก้ว ปากพะยูน มักค้นหาได้แถวสทิงพระ ระโนด... สาเหตุเพราะมีการติดต่อแลกเปลี่ยนกันนี้เอง

คนแถวสทิงพระที่ติดชายทะเลสาบสมัยก่อนมักจะมีญาติอยู่ฝั่งพัทลุงและไปมาหาสู่กันเสมอ... แต่เมื่อทางเรือค่อยๆ ล้าสมัย ทางรถค่อยๆ เจริญขึ้นมา การติดต่อระหว่างฝั่งพัทลุงกับผั่งสงขลาก็ค่อยๆ ห่างเหิน และขาดหายไป...

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้าที่เข้ามาให้กำลังใจ "มือใหม่หัดขับ"

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับความเหมือนคล้ายของวัฒนธรรมลุมน้ำ

คนมุสลิมปากพะยูน กับคนหัวเขาแดง สงขลามีสำเนียงพูด ภาษาวัฒนธรรม ศาสนา

เป็นเนื้อเดียวกัน

ยี่สิบปีล่วงมาท่าเรือปากพะยูนศูนย์กลางคมนาคมทางน้ำไม่ทิ้งร่องรอยให้คนรุ่นหลัง

ได้ศึกษา มี เพียง เสียงพรำบ่นของคนชราหน้าท่าเรือ

>ไม่มีแล้ว ไม่มีแล้ว ไม่มีเหลือ

>ไม่มีท่าเทียบเรือแช่เกลือปลา

>ไม่มีลำนาวาล่องสายชล

>ปลาขี้ตังสีหม่นมาหายไป///////

>แสงจันทร์ พรทิพย์ เจริญผล

>คือเรือยนต์วิ่งใกลทั้ไปกลับ

>ทั้งรุ่งเพชร สายสัมพันธ์ ก็ลาลับ

>ไม่หวลกลับมาหาท่าหนีเรือ/////

ไม่มีแล้ว ไม่มีแล้ว จริงจริงเหรอ

หรือไม่เหลือ ไม่เหลือ ให้มีแล้ว

ท่าเทียบเรือ ปลาขี้ตัง แม้หายไป

แต่หัวใจ ชีวิต ลูกหลาน ยังคงอยู่

เลือกพัฒนา อนุรักษ์ กันแบบใหน

คืบคลานไป แล้วเมื่อไหร่ จะได้ความ

มากันเถิด พี่น้อง เหล่าลูกหลาน

ช่วยกันสาน ช่วยกันสร้าง ให้แข็งขัน

เสียสละ รักบ้านเกิด ร่วมช่วยกัน

รวมพลัง เก่าใหม่ สำนึกดี

คิดซิคิด ทำซิทำ ให้เห็นผล

หรือจะรอ เรือยนต์ หมดนำมัน

แล้วสักวัน ปลาขี้ตัง คงกลับมา

ข้าวดอกพยอม/ดอกกะยอม   ผมเคยได้ยินบ่อยๆๆ เป็นข้าวเจ้าชั้นดีใช่เปล่า  ดีจังที่มีการรักษาพันธ์ข้าวดีดีไว้

/สวัสดี คุณแฟนคลับ วอญ่า

/มาจงมา ช่วยกัน สานฝันใหม่

/ไปเราไปสานฝัน ให้บรรเจิด

/ช่วยกันเถิด ช่วยกัน เปิดตำนาน

/ปากพะยูน บ้านข้า นี้น่ารัก

/ขอพิทักษ์ รักษ์ใว้ ให้ลูกหลาน

/หลายร้อยปี ที่ร่วมสร้าง อย่างเนิ่นนาน

/ขอสืบสาน ความเข้มแข็งสู่ชุมชน

สวัสดีครับนายประจักษ์

ใช่แล้วครับ

ผมใด้มีโอกาสชิมข้าวพันธุ์เมืองหลายอย่าง

ดใจมากเลยครับ

ได้ข่าวว่าไปอบรมที่ นครศรีมา มีอะไร update กันบ้างเอ่ย แฟนคลับติดตามอยู่คร้าบ

แวะมาอ่าน บันทึกแรก ค่ะ

        มีอ่านพันธ์ข้าว

               ขอบคุณมากมายนะคะ

                           มีความสุขเสมอๆค่ะ

                                             

สวัสดีครับ

ขอบคุณ ได้ทราบชื่อข้าว ที่ผมยังไม่เคยทราบมาก่อน

สวัสดีครับคุณสายธารแห่งศรัทธา

แวะมาค้นบ้านแฟนพันธ์แท้

ให้กำลังใจทุกครั้งหมั่นดูแล

มีเมตรตาเผื่อแผ่แก่ทุกคน

สวัสดีครับท่าน ผศ.เพชรากร

ขอบคุณมากครับที่กรุณา

พยายามสืบค้นหา ตำรา และปริศนาคำทายอยูด้วยครับ

  • มาติดตามอ่านเรื่องข้าวค่ะ
  • มีมากมายนะคะ
  • ไม่ทราบว่าแต่ละท้องถิ่นจะมีเหมือน ๆ กันแบบนี้ไหม..

สวัสดีครับเกลอคิม

ข้าวทัองถิ่นไม่เหมือนกันครับ

ที่เหมือนๆกันก็ ข้าว กข 1 กข 2 ข้าวชัยนาท ข้าวหอมมะลิ

ที่พัทลุงกำลังฟื้นพันธ์ที่หายไป อย่าง ข้าวช่อม่วง ชาวบ้านบอกว่าที่ไม่เก็บไว้ทำพันธ์ "เพราะกินไม่ได้"คือมันอร่อยมาก ที่นี้คนทำนาเขามีลูกมาก ข้าวที่เก็บไว้กินและปลูกจะค่อนข้าวเป็นข้าวที่แข็งครับ

ตอนนี้ข้าว"หอมนิล"กำลังเป็นคู่แข่งกับสังข์หยดครับเกลอ

พักผ่อนให้มีความสุขครับ

เรื่องพันธุ์ข้าวเป็นเรื่องวัฒนธรรมด้านอาหารของชาวรอบลุ่มเลสาบสงขลา(สงขลา-นคร-พัทลุง)ที่มีการแลกเปลี่ยนตั้งแต่สายพันธุ์ ข้าวพันธุ์เดียวกันแต่มีชื่อเรียกต่างกันตามแต่ท้องถิ่น เช่น ข้าวสังหยด(พัทลุงเรียก) นครว่า สั่งหยุดเพราะเป็นข้าวที่กินมัน หอม นุ่ม หรอย โดยเฉพาะข้าวใหม่ สงขลา เรียกเหนียวแดงตามสีและรสชาติของข้าว นิยมนำข้าวใหม่ไปฝากผู้ที่เคารพนับถือ และนำมากินกับน้ำเท่ะ แต่พัทลุงมาจด จีไอ ในชื่อของข้าวสังข์หยด (มี ห.การันต์) แท้ที่จริงสังหยดมาจากสั่งหยุดของคนคอนที่กินไม่หยุดด้วยความมัน.อร่อย จึงสั่งหยุดเพราะกลัวข้าวหมดหม้อ.คนข้างหลังอิอด..มันเป็นเช่นนี้แลที่มาที่ไปของชื่อข้าวสังหยด..วันนี้เอาเท่านี้พอ..บังเหอ

สวัสดีครับครู ขอบคุณที่แวะมาเติมเรื่องพันธ์ข้าว ตำนานข้าวสัง่หยุด สังข์ยุด สังข์หยด

เคยเขียนเรื่องที่มาของพันธ์ข้าวสังข์หยดบางแก้ว ถ้าไปพบจะยกมาต่อยอดครับครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท