Role Competency กับการพัฒนาบุคลากร;กรณี สป.ศธ.


ท่านวิทยากรฝากและกำชับ ...อันความรู้นั้น หากไม่นำไปปฏิบัติแล้ว ก็ด้อยคุณค่าลง...

       เพื่อนชาว KM ที่คิดถึงทุกท่าน

ก็ด้วยความรักยิ่ง คิดถึงมาก

เลยแวะเวียนมาเยี่ยมกันซักหน่อยครับ

วันนี้ได้นำบทความทางวิชาการมาเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกเช่นเคย

เชิญติดตามดูเถิดครับ !!!

Role Competency กับการพัฒนาบุคลากร

; กรณี สป.ศธ.

 

ผมได้รับโอกาสดีที่ผู้บังคับบัญชาได้กรุณามอบหมายให้ไปประชุมปฏิบัติการเรื่อง

 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมในการปฏิบัติงานของข้าราชการ

สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.)

ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการที่ สป.ศธ.จะดำเนินการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยม ภายใต้กรอบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ [New  Public  Management]เพื่อให้บุคลากรภาครัฐพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและมีทัศนคติการทำงานที่ยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญ ตามระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีคือ ข้าราชการต้องเป็นผู้ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ขยัน ตั้งใจทำงาน มีศีลธรรม คุณธรรม ปรับตัวได้ทันโลก รับผิดชอบต่อผลงาน มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตยและทำงานมุ่งเน้นผลงาน  โดยได้กำหนดผู้รับผิดชอบขึ้นหลายระดับ  มีทั้งที่ปรึกษา  คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินงาน ในการขับเคลื่อนภาระงานสำคัญนี้

 

                ในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งสำคัญดังกล่าวนี้นอกจากได้รับ องค์ความรู้หลักตามหลักสูตรอย่างครบถ้วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับรู้ รับทราบ รูปแบบ[Model] ที่ได้มาจากการทำการวิจัยเรื่องนี้โดยตรง นับว่ามีคุณค่า เหมาะสมและเชื่อว่าจักเกื้อกูลต่องานสำคัญนี้ได้อย่างแน่นอน ผมค่อนข้างเชื่อมั่น ครับ  นอกจากนี้ยังได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ [share  to learn] ระหว่างคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิกับผู้เข้าประชุม ซึ่งล้วนแต่เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเกื้อกูลพวกเราที่เข้าร่วมประชุมได้มากพอที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมในการปฏิบัติงานต่อไป

 

และสืบต่อจากการประชุมปฏิบัติการดังกล่าว

ทำให้คิดถึง สิ่งที่ท่านวิทยากรฝากและกำชับไว้นักหนาคือ

คำพูดที่ว่า  อันความรู้นั้น หากไม่นำไปปฏิบัติแล้ว ก็ด้อยคุณค่า

ซึ่งมันยังฝังใจตลอดมา

ดังนั้น การนำความรู้ ที่ได้จากการประชุมปฏิบัติการดังกล่าว

มาต่อยอด  นำมาปฏิบัติ ให้เกิดผลให้ได้

จึงเป็นพันธกิจของตนเอง

เรื่อง การพัฒนาบุคลากร  ก็จึงเป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจ

ดังนั้น ณ เวลานี้จึงใคร่ขอนำเรื่อง สมรรถนะ มาต่อยอด

 

ชาวเราเหล่าข้าราชการทั้งหลายต้องได้ผ่านคำ สมรรถนะ นี้

มากันบ้างแล้วนะครับ ส่วนมากหรือน้อย นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ประเด็นแรกที่จะหยิบยกขึ้นมาเพื่อต่อยอดกันคือ

Role Competency กับการพัฒนาบุคลากร

 

ก่อนอื่นใคร่ขอนำองค์ความรู้[Body  of   Knowledges]กี่ยวกับเรื่องนี้มาเป็น ฐาน กันเสียก่อน

ก.พ.ร.สป.ศธ.[1]ได้กำหนด รูปแบบ สมรรถนะของชาว สป.ศธ.ไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ครับ

 

 

 

 

ความรู้เพิ่มเติม

Competency :ความสามารถ,อำนาจ,ความพอเพียง (วิทย์  เที่ยงบูรณะธรรม An Advanced Desk ENGLISH-ENGLISH-THAI DICTIONARY  โรงพิมพ์อักษรพิยา กทม. 2537:155)

สมรรถนะ : power,ability  สมรรถภาพ : efficiency  (Col.Nit Tongsopit  New Standard THAI-ENGLISH Dictionary  สำนักพิมพ์แพร่พิทยา  กทม. มมป. : 879)

 

  Core Competency[2]

สมรรถนะ [Competency ] ตาม Model สมรรถนะข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

สมรรถนะหลัก (Core Competency ) มีจำนวน ๘ สมรรถนะ

 

            . ความเข้าใจองค์กรและระบบราชการ (Organizational Awareness-OA)

            . การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise-EXP)

            . การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

            . ความร่วมแรงร่วมใจ (Teamwork-TW)

            . คุณธรรม จริยธรรม (Moral & Integrity-Mo & ING)

            . การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation-ACH)

            . จิตมุ่งบริการ (Service Mind-SERV)

            . มนุษยสัมพันธ์ (Human Relation)

 

สมรรถนะในงาน (Functional Competency) ทั้ง 3 ด้าน เน้นที่

          ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal) ๕ สมรรถนะ

            . ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Innovation)

            .ความยืดหยุ่นผ่อนปรน (Flexibility)

            . จิตสำนึกในการเป็นข้าราชการที่ดี (Oficer Awareness)

            . ซื่อสัตย์สุจริต (Honesty)

            . การพัฒนาตนเอง (Self Development )

 

          ด้านความเชี่ยวชาญในบทบาทหน้าที่ (Role Competency) มี ๕ สมรรถนะ

            . ทักษะด้าน ICT (Information Communication Technology)

            . ทักษะการวิเคราะห์เชิงระบบ (Systemic Analytical Skill)

            3. ทักษะการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Evaluation)

            . ทักษะและความเชี่ยวชาญในบทบาทหน้าที่ (Role Expertise)

            . ความรู้และทักษะการนำนโยบายและยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ (Translating Policy &                      Strategy to Action)

 

         ด้านการเพิ่มคุณค่าแก่องค์การ ๕ สมรรถนะ

            . วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการทำงาน (Vision&strategy)

            . การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD)

            . การให้คำปรึกษา (Consultant)

            . การประชาสัมพันธ์องค์กร

            . การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

 

และในที่นี่ใคร่ขอนำเสนอบทวิเคราะห์ สังเคราะห์ในประเด็น

ด้านความเชี่ยวชาญในบทบาทหน้าที่ [Role Competency]

เน้นการแปรงสู่การปฏิบัติ

ภายใต้รูปแบบ   Role Competency  Oriented  Development : RCOD  ดังนี้

 

ความเชี่ยวชาญในบทบาทหน้าที่ (Role Competency)

มี ๕ สมรรถนะ  : พันธกิจที่ชาว สป.ศธ.พึงมีพึงได้

 

๕ สมรรถนะ คือ 1. ทักษะและความเชี่ยวชาญในบทบาทหน้าที่ (Role Expertise) 2. ทักษะการวิเคราะห์เชิงระบบ (Systemic Analytical Skill) 3. ทักษะการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Evaluation) 4. ความรู้และทักษะการนำนโยบายและยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ (Translating Policy & Strategy to Action)และ5. ทักษะด้าน ICT (Information Communication Technology)

 

สิ่งแรกๆที่ชาว สป.ศธ.พึงมีพึงได้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนคือ

 

1. ทักษะและความเชี่ยวชาญในบทบาทหน้าที่ (Role Expertise) ที่มีความหมายครอบคลุมถึง

การมีความรู้อย่างแท้จริงในเรื่องที่ทำ รู้หลักวิชาการ รู้เหตุผลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม และสามารถคาดคะเนเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาได้เมื่อมีเหตุผิดปกติเกิดขึ้น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานในหน้าที่สามารถจัดระบบงานได้อย่างเหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์และสภาพแวดล้อม

          ใคร่ขอจำแนกแจกแจงออกเป็นรายละเอียดดังนี้

1.     การมีความรู้อย่างแท้จริงในเรื่องที่ทำ

 

เรื่องที่บุคลากรด้านการตรวจ ติดตามและประเมินผล   ต้องทำ ต้องถือปฏิบัติ  ได้แก่

ศึกษา วิเคราะห์   วิจัย   พัฒนาระบบ  ประสานงาน  ติดตาม  ตรวจสอบ  วัดประเมินผล  รายงานผล  นิเทศ  ให้คำปรึกษาแนะนำ   ส่งเสริมสนับสนุน

ที่ต้องได้รับการพัฒนา ให้มีความรู้อย่างแท้จริง

 

                   ดังกรณีเราชาว สป.ศธ.ที่มีบทบาทหน้าที่ในด้านการตรวจราชการ (สตผ.และ สตรข.1-12และ กทม.) มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

 

 สำนักตรวจราชการ และติดตามประเมินผล (สตผ. สป.ศธ.) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

               (ก) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวง

               (ข) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ จัดทำแผนการตรวจราชการ และดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจ
ราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงในการตรวจราชการ ติดตาม และประเมินผลตามนโยบายและแผนการตรวจราชการของกระทรวง

               (ค) วิจัยและพัฒนาระบบ และประสานเครือข่ายการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลของกระทรวง

               (ง) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

กลุ่มติดตามและประเมินผล  สตผ.สป.ศธ.  มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
                    1. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผนการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา
                    2. ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
                    3. วิจัยและพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการศึกษา
                   4. วิเคราะห์ ประมวลผล จัดทำรายงานผลการติดตามและประเมินผลตามนโยบายแผนงาน โครงการของ              กระทรวงศึกษาธิการ
                    5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือได้รับ มอบหมาย

 

ปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
                    (1) พัฒนาและจัดทำข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน สถานศึกษา
                   (2) จัดทำร่างแผนการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล เสนอขอรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล
                   (3) จัดทำรายละเอียดของแผนงาน/โครงการ ตามแผนการติดตามตรวจ และประเมินผลที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล
                  (4) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาระบบสารสนเทศและการจัดทำแผนการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา
                  (5) ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือ จัดทำเอกสารทางวิชาการด้านการติดตามตรวจสอบและประเมินผล
                  (6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

 

 

 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน km
หมายเลขบันทึก: 179959เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2008 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท