dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

สมองกับเด็กปฐมวัย


การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสู่การพัฒนาสมอง

การนำความรู้เรื่องสมองไปใช้ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย (ตอนที่ 2)

กิจกรรมที่พัฒนาสมองในเด็กปฐมวัย

                การพัฒนาการทำงานของสมองสัมพันธ์กับการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ  ได้แก่การได้ยิน   การมองเห็น   การรับรู้รส  การดมกลิ่นและการรับสัมผัส   ซึ่งเป็นการตอบสนองสิ่งเร้าที่ มาจากนอกร่างกาย   การฝึกให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสให้มาก  เปรียบเสมือนการฝึกเครื่องมือในการเรียนรู้ให้แหลมคม  อันส่งผลให้เด็กมีการรับรู้ที่ไว  เฉียบคม  อันเป็นพื้นฐานของความฉลาดในการเรียนรู้   การรับความรู้สึกที่ครูสามารถพัฒนาให้กับเด็ก     แบ่งออกเป็น  3  ชนิด  ได้แก่

1.       การรับความรู้สึกจากการสัมผัสอวัยวะที่รับความรู้สึกคือผิวสัมผัสตลอดร่างกาย

2.    การรับความรู้สึกผ่านระบบสร้างสมดุลของร่างกาย  เป็นการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนที่  ทิศทางของการเคลื่อนไหว  การทรงตัว  การรักษาสมดุลของร่างกาย  อวัยวะรับความรู้สึกอยู่ที่บริเวณหูชั้นใน

3.    การรับความรู้สึกจากระบบสัมพันธภาพของร่างกาย  ผ่านข้อต่อกล้ามเนื้อเส้นเอ็น  และกระดูก  เป็นการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย        ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายมีประสิทธิภาพ  ควบคุมการใช้น้ำหนักของกล้ามเนื้อให้สอดคล้องกับแรงกระตุ้น

 

 

กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาระบบรับความรู้สึก  กิจกรรมพัฒนาระบบผิวสัมผัส

1.1  การสัมผัส   ถู   นวด   บริเวณแขน   ลำตัว   หลัง   ขา  โดยใช้วัสดุต่าง    กัน  เช่น

      โลชั่นทาผิว  น้ำมันนวดตัวเด็ก  แป้งฝุ่น   ครูหรือผู้ปกครองอาจใช้ฟองน้ำนิ่มสำหรับ

      ถูตัว  ใช้ขัดตัว   แปรงอาบน้ำชนิดอ่อน  ผ้าขนหนูผืนเล็ก   โดยกดหรือสัมผัสตัวเด็กให้

      มีน้ำหนักมาพอสมควร

1.2    การระบายสีด้วยนิ้วมือ  ฝ่ามือ

1.3    การวาดด้วยสบู่บนพื้นฟอร์ไมก้าโดยใช้นิ้ว

1.4    การวาดรูปด้วยนิ้วมือบนแขน  ขา  ลำตัว  หลัง

1.5    การเล่นทราย

1.6    การฝนสีด้วยกระดาษทราย

1.7    การนวดแป้ง  ดินน้ำมัน

1.8  การให้เด็กมีโอกาสสัมผัสรับรู้วัสดุที่มีผิวสัมผัสต่างกัน  ในระหว่างทำกิจกรรมสร้างสรรค์  เช่น  ผ้ากระสอบ  ผ้าสักหลาด   กำมะหยี่  ฯลฯ

1.9  การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ/กิจกรรมการแจ้งที่เปิดโอกาสให้เด็กถอดรองเท้า   สัมผัสกับพื้นผิวที่ต่างกัน  เช่น  พื้นกระเบื้อง  ไม้  กระเบื้องยาง  แผ่นยางพารา   สนามหญ้า  ฯลฯ  ทั้งนี้ต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยของเด็ก

1.10   การรับรู้อุณหภูมิต่างกันของวัตถุ  เช่น  ร้อน  อุ่น  เย็น  ฯลฯ  โดยสัมผัสพื้นผิวของร่างกายในบริเวณต่าง    กัน  หรือใช้อวัยวะสัมผัสที่หลากหลาย

การฝึกให้เด็กรับรู้ผิวสัมผัสที่แตกต่างหลากหลาย  ส่งผลดีต่อพัฒนาการทางอารมณ์  เด็กจะมีความมั่นคงทางอารมณ์   รู้จักยอมรับความแตกต่าง  ควบคุมอารมณ์ได้  เกิดความมั่นใจในการเข้ากลุ่มกับเพื่อ

2.    กิจกรรมพัฒนาระบบสร้างสมดุลร่างกาย              

     กิจกรรมที่ใช้พัฒนาระบบสร้างสมดุลของร่างกาย  จะเป็นกิจกรรมที่ฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย  เช่น  การหมุนรอบตัวเอง  การเคลื่อนไหวในแนวราบ  การเคลื่อนไหวในแนวดิ่ง  ซึ่งทำได้หลายลักษณะ  เช่น

2.1      การกระโดดยาง  กระโดดเท้าคู่

2.2      การกลิ้งตัวในกล่องแข็ง  การกลิ้งไปบนพื้นราบ  หรือการกลิ้งลงทางลาด

2.3      กิจกรรมการแกว่งทั้งในแนวเหนือ  ใต้  ตะวันออก  ตะวันตก

2.4      การหมุนทั้งทวนและตามเข้มนาฬิกา

2.5      การเล่นกระดานลื่น  การปีนเครื่องเล่นสนาม

2.6      การเดินบนพื้นผิวที่ขรุขระ  ไม่ราบเรียบ

2.7      กิจกรรมการโยก

2.8      การทรงตัว

2.9      การวิ่งจ๊อกกิ้ง

           2.10   การตีลังกา

     การฝึกกิจกรรมเหล่านี้ควรฝึกผ่านการเล่นอิสระ  เล่นกลางแจ้ง  โดยครูจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ประกอบการฝึก  และดูแลเรื่องความปลอดภัยในการเล่น  ผลดีของการพัฒนาระบบสร้างสมดุลของร่างกาย  คือ  เด็กจะรู้วิธีการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย  รู้ตำแหน่งแห่งที่ของร่างกาย  บังคับทิศทางการเคลื่อนไหวได้  ระบบการกวาดสายตาจะดีขึ้น  เด็กจะมีสมาธิเพิ่มขึ้นในขณะทำกิจกรรม  ส่งผลต่อเนื่องด้านความสามารถในการเรียนรู้และการรับรู้ตำแหน่งหน้า หลัง  บน ล่าง  ซ้าย ขวา  เป็นต้น

3.    กิจกรรมพัฒนาระบบสัมพันธภาพของร่างกาย

   อวัยวะที่เป็นระบบสัมพันธภาพของร่างกายจะอยู่ใต้ระบบผิวสัมผัส  ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเอ็นและข้อต่อ  ทำให้เด็กเรียนรู้ตำแหน่งของร่างกาย  อัตราการเคลื่อนไหว  นั่นก็คือ  เรื่องของทิศทางและความเร็วของการเคลื่อนไหวแขน  ขา  กิจกรรมที่ใช้ฝึกมีหลายลักษณะ  เช่น

3.1    กิจกรรมลักษณะที่มีแรงดึงต่อกล้ามเนื้อ  เส้นเอ็นและข้อต่อ

-          การหิ้วของที่มีน้ำหนัก

-          การโหนบาร์

-          การชักเย่อ

-          การโยนบอล  ขว้างบอล

-          การลากของ  หรือกล่องที่มีน้ำหนัก

3.2    กิจกรรมลักษณะที่ใช้แรงกดต่อกล้ามเนื้อ  เส้นเอ็นและข้อต่อ

-          การผลักกล่องที่มีน้ำหนักในทิศทางต่าง 

-          การชก  หรือดันหมอนขนาดใหญ่

-          การผลัก  ดันฝ่ามือกับผนังหรือเพื่อน  ฯลฯ

 

 

 

3.3    ทักษะทางการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเล็ก

จะเห็นได้ว่า  กิจกรรมและการฝึกทักษะสำหรับเด็กปฐมวัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสมอง  การเคลื่อนไหวร่างกายผ่านการเล่นและออกกำลังในรูปแบบต่าง ๆ  เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ  ครูปฐมวัยต้องถือเป็นกิจกรรมหลักในการเรียนรู้  โดยนำมาประยุกต์เข้ากับเทคนิคอนุบาล   เช่น  การเคลื่อนไหวประกอบเพลง  การเคลื่อนไหวประกอบนิทาน  การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ   การเล่นเกม  การเล่นเครื่องเล่นสนาม  การศึกษานอกสถานที่   สำรวจเส้นทางต่าง ๆ  เป็นการผจญภัยสิ่งสำคัญ  คือ  กิจกรรมเหล่านี้ครูต้องไม่เน้นการฝึกและประเมินโดยตนเอง         แต่ค่อย ๆ  ให้เด็กเรียนรู้ด้วยความสนุกผ่านการเล่นเกม   บทบาทสมมุติ   จินตนาการจากนิทาน        การร้องเพลง  เป็นต้น

 

 

                                 หนังสืออ้างอิง

 

กรมวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ  (2546)  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546

                กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์คุรุสภา.

สถาบันคุณภาพวิชาการ  (2549)  การเรียนรู้แบบเพิ่มพลังสมอง  Brain  Based  Learning  (BBL)

                กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์  เขต  1  (2548)  เอกสารเสริมความรู้ครูปฐมวัยและ

                ผู้ปกครอง  นครสวรรค์ :  โรงพิมพ์ริมปิงการพิมพ์.

Bigger.Morris L., :   et al. (1992)  Learning  Theories for Teachers. USA : Harper Collins.

หมายเลขบันทึก: 180023เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2008 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นางสาวเสมอใจ บุตรอ่ำ

เห็นด้วยกับบทความข้างต้นค่ะเพราะ ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก  ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม  เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท