มาจากอากาศธาตุ


ชีวิตของเขาก็เช่นชื่อสิ่งประดิษฐ์ของเขา มาจากอากาศธาตุ ไม่มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ

                     เมื่อเสาร์ของสัปดาห์ที่ผ่านมา(26 เมษายนฯ )  เป็นวันเสาร์ที่เราได้เรียนเป็นสัปดาห์แรกของเดือนเมษายนเนื่องเพราะ มหาลัย ฯ มีภารกิจในเดือนนี้มากมาย ทำให้เสาร์-อาทิตย์ในเดือนนี้ดูเหมือนขาดอะไรไปสักอย่างหนึ่ง   

                     จากที่เป็นคนที่เป็นแขกประจำในห้องสมุดมหาลัย ฯ รู้จักตั้งแต่แม่บ้านจนถึงสามารถทักทายจนถึงเจ้าหน้าที่ห้องสมุดทุกคนวันนี้หลังจากทำกิจกรรม รดน้ำดำหัวอาจารย์ภาควิชาวิทยาการจัดการแล้วก็ปลีกหนีตัวเองมาห้องสมุด   ตู้หนังสือหมวดจิตวิทยาคือตู้หนังสือที่เราแวะเวียนเยี่ยมเยือนเป็นประจำจนถึงขนาดรู้ว่า อันไหนหนังสือเก่า ใหม่  หนังสือไหนดีน่าแนะนำให้อ่านประกอบกับไม่ชอบที่จะ ค้นหาหนังสือ ในระบบที่เขามีให้ค้นว่าหนังสืออยู่ไหน   

                    แต่ชอบที่จะเดินพลิกอ่าน  ๆ ๆ ที่ตู้หนังสือมากกว่า  วันนี้ได้พบหนังสือเล่มหนึ่งของ "วินทร์  เลียววาริณ "  นักเขียนที่เราชื่นชอบ  ท่านเกิดที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลาปี 2499 จบจากสถาปัตย์ ฯ จุฬาและปริญญาโทสถาปนิกที่สิงคโปร์และอเมริกา จำว่าท่านได้รางวัลช่อการะเกด และรางวัล ซีไรต์ถึงสองสมัย  ในเล่มนี้ "วินทร์ เลียววาริณ" เขียนหนังสือชื่อ "เบื้องบนยังมีแสงดาว" เรื่องสั้นในเล่มนี้เป็นเรื่องสั้นที่แบ่งเป็นตอน ๆ หลายตอนและมีชื่อเรียกแต่ละตอนมากมาย

                     เรื่องสั้นในหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องสั้นที่เหมาะสำหรับผู้อ่านที่อ่านแล้วก่อให้เกิดกำลังใจ เลยอยาก ถ่ายทอดเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่กล่าวถึงชีวิตของผู้กำเนิด  Kodak เรื่อง "มาจากอากาศธาตุ"

   เริ่มเรื่อง


                    วันหนึ่งในต้นศตวรรษที่ยี่สิบ  สถาบัน เอ็มไอที.ได้รับเงินบริจาคจากชายคนหนึ่งเป็นจำนวนยี่สิบล้านเหรียญสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่ถามชื่อคนบริจาคได้ความว่าชื่อ Mr.Smith  ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "นิรนาม"

                     นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มิสเตอร์ สมิธบริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล  ชั่วชีวิตของเขา "มิสเตอร์สมิธ" บริจาคเงินมากกว่าหนึ่งร้อยล้านเหรียญ  ซึ่งมีมูลค่าในปัจจุบันสูงกว่านั้นหลายเท่า
                     แต่ใครคือ มิสเตอร์ สมิธ?
                     

                     วันหนึ่งในปี พ.ศ.2422  ชายหนุ่มวัยยี่สิบสี่คนหนึ่งวางแผนไปเที่ยวซานโต  โตมิงโก กับเพื่อน  เพื่อนบอกให้เขานำกล้องถ่ายรูปไปด้วย
    
                      กล้องถ่ายรูปในปลายศตวรรษที่ 19 มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนี้  ต้องใช้ขาตั้งขนาดใหญ่รองรับ  การถ่ายรูปนอกสถานที่หมายถึงการแบกเต้นท์ไปด้วยเพื่อใช้เป็นที่เก็บกล้อง  เพลทถ่ายรูปแบบเปียก  สารเคมีถ่ายรูป  ขวดแก้ว  ที่ยึดเพลทหนักอึ้ง  เหยือกน้ำ ฯลฯ
 
                       ชายหนุ่มคนนี้ชื่อ จอร์จ  อิสท์แมน

                       เรียนไม่จบ  ออกจากโรเงรียนกลางคันตอนอายุสิบสี่  เพราะความจำเป็นของครอบครัว  เริ่มทำงานเป็นเด็กส่งของในสำนักงานประกันภัยค่าจ้างอาทิตย์ละสามเหรียฯญ  เลี้ยงแม่และน้องสาวสองคน(น้องสาวหนึ่งคนพิการ) และต่อมาเป็นเสมียนธนาคาร อาทิตย์ละสิบห้าเหรียญ

                        อีสท์แมนอ่านเจอในนิตรสารฉบับหนึ่งว่า ช่างภาพอังกฤษคนหนึ่งทำน้ำยาเจลาตินขึ้นมาใช้เอง  เมื่อฉาบเพลทถ่ายรูปด้วยสารนี้  จะทำให้ถ่ายรูปเมื่อใดก็ได้

                        เขาเกิดความคิดว่าโลกจะเป็นอย่างไร  หากเพียงเขาทำให้การถ่ายรูปง่ายเหมือนกับการใช้ดินสอ  
 
                        แล้วฟิล์มถ่ายรูปก็ถือกำเนิดขึ้นในโลก

กล้องถ่ายรูปโกดักปรากฏตัวในโลกปี พ.ศ.2431 ด้วยสโลแกน "You press the button,we do the rest" (คุณกดปุ่ม  เราทำที่เหลือเอง) ,มันเป็นปฏิบัติวงการถ่ายรูปทันที

                       กล้องที่เขาทำออกมาขายสามารถถ่ายภาพได้ 100 ภาพด้วยฟิล์มหนึ่งม้วนราคา 25 เหรียญ เมื่อถ่ายรูปแล้วก็ส่งกลับมาให้ทางโรงงานล้างในราคา 5 เหรียญ แล้วจะส่งม้วนใหม่ไปให้ 

                       หลายคนพยายามเดาที่มาของชื่อสินค้าตัวนี้  แต่ความจริงนาม Kodak  นี้มาจากอากาศธาตุไม่มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ

                        หลักการทำงานของอิสทืแมนไม่เหมือนผู้นำธุรกิจอื่น ๆ เขาเชื่อในปรัชญา"มีสุขร่วมเสพ  มีภัยร่วมต้าน"

                        เขาเชื่อว่าลูกจ้างของเขาสมควรได้รับมากกว่าแค่ค่าจ้าง  ซึ่งเป็นวิธีการคิดที่ล้ำหน้ามากในสมัยนั้น
     
                        เขาให้ส่วนแบ่งแก่ลูกจ้างในรูปของเงินปันผล ทำงานยิ่งนาน  ก็ได้รับส่วนแบ่งยิ่งมากในปี 1919  เขามอบหนึ่งในสามของหุ้นบริษัทแก่พนักงาน  มูลค่าสิบล้านดอลล่าร์  นอกเหนือจากสวัสดิการอื่น ๆ อีกมากมาย
 
                        อีสท์แมนเห็นว่า  ความรุ่งเรืองขององค์กรไม่ได้อยู่ที่การประดิษฐ์ของใหม่ หรือลิขสิทธิ์ แต่อยู่ที่ความรู้สึกและความจงรักภักดีของพนักงาน  เขาเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการไม่ใช่เพราะเก่งอย่างเดียว  แต่ที่ขาดของหัวใจด้วย

                        เขามอบเงินคืนกำไรให้สังคมมาตลอด  ให้เงินสถาบันต่าง ๆ มากมาย บางที่โดยไม่ใช้ชื่อจริง เช่น บริจาคเงินให้สถาบัน เอ็มไอที. ยี่สิบล้านเหรียญในชื่อ "มิสเตอร์ สมิธ  สร้างโรงเรียนสอนดนตรี  โรงละครวงออเคสตรา  โรงพยาบาล  สถานทำฟันฯลฯ

                        ครั้งหนึ่งหลังเซ็นเช็คบริจาคสามสิบล้านเหรียญ  เขาวางปากกาและบอกว่า"เออ  ตอนนี้ผมรู้สึกดีขึ้นมากเลยว่ะ.."

                        เขาเป็นคนสมถะ   ไม่ชอบสังคม  ที่น่าขัดแย้งคือ  เขาถูกถ่ายรูปน้อยมาก  เขาบอกว่า  "สิ่งที่เราทำระหว่างชั่วโมงทำงานของเรากำหนดสิ่งที่เรามี  สิ่งที่เราทำให้ชั่วโมงผ่อนคลายกำหนดสิ่งที่เราเป็น"

                        จวบจนปัจจุบัน  สถานบัน เอ็มไอที. ยังคงระลึกถึงชื่อมิสเตอร์สมิธไม่เสื่อมคลาย  ในช่วงสองปีสุดท้ายของชีวิต  เขาป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังที่รักษาไม่ได้   ใช้ชีวิตไม่ได้ตามปกติ  ทรมานมาก  เดินเหินลำบาก

                        เขาไม่อยากคิดว่าตนเองจะนั่งบนเก้าอี้เข็นตลอดชีวิตที่เหลือ

                        เขาไม่ชอบเป็นภาระกับใคร

อีสท์แมนเลือกจากโลกไปเองในวัย  77  ปี  ด้วยวิธีการที่คนไม่รู้จักเขาไม่มีทางเข้าใจ

                            เขายิงตัวตายด้วยปืนพกตรงตำแหน่งหัวใจ 

                            เขียนจดหมายลาตายว่า"งานของฉันเสร็จแล้ว  ทำไมต้องรอ"


ชีวิตของเขาก็เช่นชื่อสิ่งประดิษฐ์ของเขา  มาจากอากาศธาตุ  ไม่มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ

และเมื่อไม่ต้องใช้ร่างกายนี้แล้ว   ก็คืนมันสู่ผืนดิน.........

                   

                      
      

หมายเลขบันทึก: 180213เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2008 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • นึกว่ามาหาหนังสือวิชาการ
  • ฮ่าๆๆๆๆ
  • หนังสือดีๆๆทั้งนั้น

P  คริ  คริ  น้องขจิตคงอ่านแต่หนังสือวิชาการ หรือไม่งั้นก็งานวิจัยแหง  ๆ เลยนิ  อิอิ แต่พี่น่ะ ยอมแพ้ค่ะ แค่ ๆ เอาแค่ขำ ขำเนอะ

  • น่าเสียดาย นาย อีสท์แมน นะครับ
  • ไม่ทราบว่าจะมีใครเอาอย่างความคิดหรือยึดถืออุดมการณ์นี้อย่างเขาบ้าง  สงสัย อ.ขจิต คนแรก.... อิอิ  อิอิ
  • หากเจอเจ๊องุ่น จะบอกให้นะครับ  แต่ถ้าจะให้เร็วต้องบอกครูเสือ แซ่เฮ   อะคับ

ขอบคุณครับ

P  อิอิ  นี่ไม่รู้ครั้งที่เท่าไหร่แย้ววววววว  ที่สับระหว่างพี่เสือ กะพี่นึก  55  สงสัยสองคนนี่จาเป็น คู่แฝดดด กัน อิอิ 

มาจากดิน   ก็กลับสู่ดิน

แต่วิธีกลับสู่ดิน  ให้กลับเองดีไหม

ปานาติปาตา ฯ  การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นบาป  แม้กระทั่งการฆ่าตัวตายเอง  ก็เช่นกัน

สงสารคนข้างหลังของเค้าอ่ะ  เลยมาขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยคน

นักการเมี่ยง   ...  ( ผู้รักษาศีล4  ส่วนศีล5 ละไว้ในฐานที่เข้าใจอ่ะคะ  แหะ ๆ )

  • P  อ่านเรื่องนี้แล้วให้นึกถึงธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตค่ะ
  • เกิด มาเพื่อ ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งอาจดี หรือไม่ดี แล้ววันหนึ่งไม่ว่าอย่างไรก็ต้อง คืนสู่สามัญ
  • ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้าเนอะ ๆๆ
  • ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพราะไม่รู้จะคิดถึงพรุ่งนี้ทำไม ..เฮ้อ

ผมยังไม่เคยอ่านเรื่องนี้เลยครับ, พี่นก

ล่าสุดที่อ่านคือนวนิยายเรื่อง บางกะโพ้ง.. เป็นเรื่องราวชนบทไทยที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยที่ว่ากันด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ...

ได้แนวคิดที่ดีมาก  โดยเฉพาะการยืนยันในแนวคิดทำนองว่า  ความทันสมัยนั้น  มีทั้งดีและร้าย  ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีต้นทุนในการสังเคราะห์มาใช้ได้ดีแค่ไหน  และที่สำคัญคือ  เราหยุดการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกไม่ได้  สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจและเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างมีตัวตนให้มากที่สุด

.....

มีความสุขมาก ๆ นะครับ

  • P  ขอบคุณคุณแผ่นดินค่ะ
  • งานใหม่คงเข้าที่เข้าทางแล้วซินะคะ
  • อวยพรให้งานใหม่เป็นงานที่ทำแล้วสนุกตลอดเวลานะคะ
  • ไปบ้านครูบา ฯ คราวนี้จะเจอคุณแผ่นดิน แฟนแล้วก็ตัวเล็ก ๆของพี่แผ่นดินอีกไหมคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท