การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ศูนย์การเรียนรู้พันท้ายนรสิงห์


โรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตพื้นที่บริการ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2551  ไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง "การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้" ให้แก่คณะครู โรงเรียนพันท้ายนรสิงห์วิทยา จังหวัดสมุทราสาคร ตอนเย็นเมื่อจบภารกิจแล้ว ผู้อำนวยการและ อ.ประสาน ได้พาเยี่ยมชม "ศูนย์การเรียนรู้พันท้ายนรสิงห์" (พันท้ายนรสิงห์ คือ สัญญลักษณ์ของ "ความสื่อสัตย์  จงรักภักดี และ การรักษาวินัย ยิ่งชีพ") ซึ่งมีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ด้านป่าชายเลน อยู่ในบริเวณโรงเรียน  ได้เห็นความพยายามของครูและชุมชนในการสร้างป่าชายเลนจากสภาพเดิมที่เป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง รู้สึกทึ่งในความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพยายามของผู้เกี่ยวข้อง เป็นอย่างยิ่ง

       หลังจากได้พบเห็นบทเรียนต่าง ๆ ที่สรุปไว้ในศูนย์การเรียนรู้พันท้ายนรสิงห์ แห่งนี้แล้ว อยากให้ สพฐ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) กระตุ้นให้โรงเรียนต่างๆ มาเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ณ ศูนย์แห่งนี้ แล้วนำไปขยายผลในเขตพื้นที่โรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป(โรงเรียนที่อยู่ติดริมทะเล)  นอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรู้สึกรักธรรมชาติแล้ว จะเป็นการพัฒนาประเทศไปในตัวด้วย  เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการใช้ชุมชนเป็นฐานโดยแท้จริง

        ท่านใดมีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดสมุทรสาคร โปรดหาเวลาไปเยี่ยมศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้นะครับ  อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 ก.ม.  หรือถ้าออกจากกรุงเทพ ผ่านทางถนนพระรามให้เข้าทางหมู่บ้านสาริน(ก่อนถึงทางแยกเข้าสมุทรสาครประมาณ  4 ก.ม.) ไปตามป้าย "ศาลพันท้ายนรสิงห์" เมื่อเข้าไปข้างในแล้ว ถามเส้นทางเอาเองนะครับ "เส้นทางไปโรงเรียนพันท้ายนรสิงห์" ครับ

        ในเรื่องแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญท้องถิ่นนี้  ในโอกาสต่อไป เขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต ควรทำการสำรวจแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ครอบคลุม ครบถ้วนทั้งจังหวัด แล้วพัฒนาเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้  แผนที่แหล่งเรียนรู้ หรือจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่น(Birth Place) อย่างจริงจัง(เด็กไทยทุกคน ควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับบ้านเกิดของตนเอง)  หากมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ได้มาตรฐานแล้ว ในอนาคตอาจเก็บค่าศึกษาดูงานสำหรับคนที่มาท่องเที่ยวก็ได้น่ะครับ  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ต่อไป

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 180541เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2008 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีค่ะ
  • มาเรียนรู้กับกระบวนการ การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
  • ดีมาก ๆ ค่ะ
  • เพิ่มเติม เรื่องของ Best Practice ของแต่ละเขตพื้นที่ด้วยนะคะ
  • มีฐานข้อมูลพร้อมเพรียง สรุปบทเรียน ถอดชุดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ดีมากค่ะ
  • เป็นกำลังใจ นะคะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ขอบคุณครับ คุณบัวปริ่มน้ำ
  • ผมได้ข้อคิดเพิ่มเติมจากท่านครับ
  • ขอบคุณ ที่อาจารย์ไปเยี่ยมบล็อก ค่ะ

เอาเวบ มาฝาก แก้ง่วง..ค่ะ

อิอิ

http://gotoknow.org/blog/resaerch/180498

 

http://gotoknow.org/blog/resaerch/180543

 

ประมวล. โกวิทยชัยวิวัฒน์

พอดีอยากจะไปดูงานที่โรงเรียนไม่รู้ผมจะประสานงานกับใครได้บ้างครับช่วยแนะนำหน่อย081-0312731

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท