From Communism to Technocrats


 

 
ปกหนังสือ ตีความลัทธิมากซ์ โดย ดร.มั่น พัธโนทัย



ดร.มั่น พัธโนทัย ได้ศึกษาประวัติของ คาร์ล มากซ์/ขันหมาก  (Karl Marx)และได้อรรถาธิบายไว้ในหนังสือ ตีความลัทธิมากซ์

ผู้เขียนขอสรุป เฉพาะส่วนที่คิดว่าสำคัญ และได้สอดแทรก กาพย์กลอนของ นายผีไว้ด้วย ความว่า

ณ แคว้นไร้น์แลนด์ ประเทศเยอรมัน คาร์ล มากซ์ ไม่ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเบอร์ลินที่เขาศึกษาอยู่ แต่เขาส่งวิทยานิพนธ์ไปให้มหาวิทยาลัยเยน่าในอิตาลีเป็นผู้พิจารณาแทน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรู้ที่อยู่กับตัวนั้นผู้ที่ไม่รู้จักก็สามารถตรวจสอบและยอมรับได้ว่าเขามีความรู้จริง วิทยานิพนธ์ของมากซ์นั้นว่าด้วยปรัชญาของเอปิคิวรัส (Epicurus) นักปราชญ์โบราณของกรีก ซึ่งสอนให้มนุษย์รู้จักหาความสุขสบายจากการมีชีวิตให้มากที่สุด เพราะเมื่อตายไปแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของมากซ์ ชี้ให้เห็นว่าคำสอนของเอปิคิวรัส มีความเชื่อพื้นฐานว่า กายภาพเกิดจากอนุภาพ จึงควรใฝ่หาความสุขก่อนที่กายภาพจะแตกดับกลับออกไปเป็นอนุภาพตามเดิม แต่แทนที่มากซ์จะแสวงหาความสุขใส่ตนตามความเชื่อแบบเอปิคิวรัส มากซ์กลับเลือกที่จะใช้ชีวิตครอบครัวแบบอดๆ อยากๆ เพื่อเขียนคัมภีร์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ ไว้เป็นอนุสรณ์แห่งโลก ในคัมภีร์ของมากซ์ประกอบด้วยหลัก 3 ประการคือ

1. ปรัชญา ตรรกวิทยา (Dialectic) ซึ่งพัฒนามากจากแนวคิดของลัทธิเฮเกล (Hegelianism) ซึ่งมากซ์ได้ใช้ ตรรกวิทยา วิเคราะห์วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ เรียกว่าวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ (Historical Materialism) แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลมากจากประเทศเยอรมัน

2. วิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งเน้นเรื่องแรงงานส่วนเกินซึ่ง ชนชั้นกรรมาชีพ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน แนวคิดนี้ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอังกฤษ

3. วิชารัฐศาสตร์ เรื่อง รัฐและการปฏิวัติ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากประเทศฝรั่งเศส

แต่ในทางปฏิบัติแนวคิดของมากซ์ ไปสำเร็จเอาใน รัสเซีย ปี 2460 ซึ่งมากซ์เสียชีวิตไปแล้วถึง 34 ปี แนวคิดของมากซ์สรุปโดยย่อได้ว่า นายทุนจะกดค่าแรงจากชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อให้ได้กำไรมากที่สุดทำให้ระบบทุนนิยมเจริญงอกงามขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ทำให้อุตสาหกรรมขยายตัว อุตสาหกรรมใหญ่ๆ ก็ค่อยๆ กลืนอุตสาหกรรมเล็กๆ หมด เข้าทำนองปลาใหญ่กินปลาเล็ก

นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อใช้แทนแรงงานคน เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ในที่สุดก็ต้องไปหาวัสดุนอกประเทศ และขยายตลาดออกไปนอกประเทศทำให้เกิด ลัทธิจักวรรดินิยม ซึ่งถือเป็นขั้นเจริญสูงสุดของระบบทุนนิยม และบวกกับเมื่อมีการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนมากขึ้น การว่างงานก็เกิดขึ้น ค่าจ้างแรงงานก็จำต้องลดลงเพื่อสู้กับเครื่องจักร แต่แล้วนายทุนก็ต้องพบปัญหาเพราะเมื่อคนว่างงาน ก็ไม่มีกำลังซื้อผลผลิตที่เกิดขึ้นมากมายก็ขายไม่ออก กำไรก็ลดลง เหตุผลนี้เองมากซ์จึงกล่าวว่า "ลัทธิทุนนิยมเพาะพันธุ์เชื้อร้ายทำลายตัวมันเอง"

อัศนี พลจันทร (นายผี) ได้แสดงทรรศนะนี้ไว้ใน เราชนะแล้วแม่จ๋า ความว่า


ความกล้ากรรมาชีพ             คือประทีปที่เพริศพราย
แต่ใช่ฆ่าตัวตาย                   ตามอย่างพวกกฎุมพี
ความกล้ากรรมาชีพ             เป็นประทีปที่รูจี
คือที่อุทิศชี--                      วี ยืนหยัดอยู่ชั่วกาล




พอถึงตอนนั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพจะต่อสู้กันเพื่อความอยู่รอด และในที่สุดชนชั้นกรรมาชีพจะลุกขึ้นมาโค่นล้มนายทุนทั้งระบบ ดังในคำประกาศของลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism Manifesto) ที่ว่า

"ประวัติศาสตร์ของสังคมที่มีอยู่ในโลกทุกวันนี้คือประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ระหว่างชนชั้น" และมากซ์ยังได้ย้ำเสมอว่า "ชนชั้นกรรมาชีพท่านจงสามัคคีกัน ท่านไม่มีอะไรจะเสียนอกจากโซ่ตรวนที่ผูกมัดท่านอยู่"

อัศนี พลจันทร (นายผี)  ได้กล่าวไว้เป็นภาษากวี ว่า 


"ในมือเรามีฆ้อน           มีระฆังอันดังดี
เพลงไพเราะเรามี         สำหรับขับให้ครื้นเครง
คือฆ้อนแห่งธรรมะ        และคือระฆังวังเวง
ตีครางอยู่หง่างเหง่ง      เพรียกเป็นเพลงแห่งอิสรา




(ฆ้อน/เคียว เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของลัทธิคอมมิวนิสต์ ระฆังก็น่าจะหมายถึง Communism Manifesto เพลงแห่งอิสรา ก็คือ การเผ่ยแพร่ Communism Manifesto ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่จะนำไปสู่อิสรภาพ เพื่อพ้นจากโซ่ตรวนที่ผูกมัดท่านอยู่นั่นเอง)


คำประกาศนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์ เรียกร้องให้ชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกรวมตัวกันต่อสู้ เพื่อปลดแอกพันธนาการ ไปสู่เสรีภาพของมวลมนุษยชาติ จากนั้นก็วางโครงการดำเนินงาน เมื่อได้ชัยชนะแล้วดังต่อไปนี้

1. ยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนตัวในที่ดินให้ที่ดินตกเป็นของรัฐให้กิจการธนาคารเป็นของรัฐ ควบคุมการสื่อสารมวลชน บุกเบิกทำประโยชน์ในที่ดินว่างเปล่าและให้การศึกษาฟรีกับประชาชน

2. ยกฐานะชนชั้นกรรมาชีพให้เป็นชนชั้นปกครอง โดยยกเลิกวิธีเลือกตั้งแบบของนายทุนและให้รัฐเป็นผู้ควบคุมเครื่องมือการผลิตทุกอย่าง ให้ตั้งระบอบเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพขึ้น โดยถือเป็นทางผ่านไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์ ที่สมบูรณ์คือไม่มีรัฐบาล และเกิดสังคมที่ไม่มีชนชั้น

แต่ในเชิงปฏิบัติ นั้น แนวคิดของมากซ์ทำได้ยากเต็มที ยกตัวอย่างเช่น จะให้ชนชั้นกรรมาชีพของไทย ไปสามัคคีกับชนชั้นกรรมาชีพของกัมพูชา ก็ทำได้ยาก เพราะจิตสำนึกของความเป็น ชาตินิยม นั้นรุนแรงกว่าจิตสำนึกแห่งการปฏิวัติ

เพราะยังงัยๆ กรรมกรทั่วโลกยังมีสำนึกลึกๆ ว่าเป็นคนละเชื้อชาตินั่นเอง ทำให้ไม่เกิดความสามัคคีและเกิดการแตกแยก เช่นการแบ่งแยกสีผิว แบ่งแยกศาสนา ฯลฯ)

ในสภาวการณ์แห่งความเป็นจริงขณะนั้นประเทศรัสเซีย จีน และประเทศเล็กประเทศน้อยที่แสนจะยากจน ในเอเชียอัฟริกา กลับมีการปฏิวัติสังคมจนสำเร็จ โดยไม่ต้องรอให้ประเทศของตน กลายเป็นรัฐจักรวรรดินิยมเพราะผู้นำประเทศอย่าง เลนิน เหมาเจ๋อตง โอจิมิน เนวิน คาสโตร เจ้าสุภาณุวงศ์ หรือเมงกิสตู ล้วนแล้วแต่อ่านคัมภีร์ของมากซ์อย่างจับอกจับใจในคำสอนและเทิดทูนที่มากซ์ยืนอยู่ข้างคนจน จึงได้อุทิศตนสู้เพื่อการปฏิวัติจนได้รับชัยชนะ และประกาศใช้การปกครองระบอบสังคมนิยม โดยไม่มีการรอให้สภาพทุนนิยมเจริญถึงขีดสุดเสียก่อนคือเป็นรัฐ จักรวรรดินิยม

ใช่เพียงเท่านี้สถานการณ์ยิ่งกลับตรงกันข้ามกับที่มากซ์สอน เพราะปัจจุบันแทนที่ในประเทศทุนนิยมเจริญถึงขีดสุดอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ หรือฝรั่งเศส จะมีการปะทะกันระหว่างนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ/กรรมกร ก็หาได้มีการปะทะกันจนถึงขั้นปฏิวัติสังคมไม่

สาเหตุเพราะ กรรมกรในประเทศทุนนิยมดังกล่าวมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีกว่ากรรมกรในประเทศด้อยพัฒนา อีกทั้งกรรมกรในประเทศที่มีระบอบทุนนิยมรุ่งเรื่องสุดขีด กลับมีพลังทางการเมืองที่มีอิทธิพลมากกว่าพลังของกรรมกรในประเทศด้อยพัฒนาเสียอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอังกฤษปี พ.ศ. 2443 ได้มีการจัดตั้งพรรคกรรมกร (British Labour Party) ฉะนั้นการปฏิวัติทางสังคมจึงมักจะเกิดในประเทศกึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินาบ้าง กึ่งศักดินากึ่งนายทุนบ้าง

ที่เหตุการณ์มันผลิกผันชนิดหน้ามือเป็นหลังเท้าอย่างนี้ก็สืบเนื่องมาจาก ประเทศนายทุนใหญ่อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน อังกฤษ อิตาลี แคนาดา และ ฝรั่งเศส คงจะอ่านตำรา ของมากซ์อย่างพินิจพิเคราะห์ เกี่ยวกับพัฒนาการของกฎ 3 ข้อ ที่นำไปสู่การปฏิวัติล้มล้างนายทุนอยู่หลายครั้ง จึงหาทางแก้ด้วยการมีกฎหมายป้องกันการผูดขาดหรือที่เรียกว่าแอนตี้ทรัสต์ (Antitrust) โดยเฉพาะในกิจการสาธารณูปโภค เช่นรถไฟ ไฟฟ้า โทรศัพท์ การบิน สื่อสารมวลชน ยกตัวอย่างเช่น

เมื่อปี 2527 ศาลฎีกาสหรัฐสั่งให้บริษัทโทรศัพท์แยกออกเป็นหลายๆ บริษัทเพราะมีลักษณะเขมือบและผูกขาดทั่วประเทศ อีกทั้งคณะกรรมการแอนตี้ทรัสต์ ก็ไม่อนุญาตให้นายทุนที่เป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ หลายฉบับซื้อกิจการโทรทัศน์ เพราะจะเท่ากับการผูกขาดสื่อสารมวลชนไว้ในมือคนเดียวอย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นจึงเรียกได้ว่า “เรียนมากซ์ เพื่อแก้มากซ์” นับว่านายทุนหัวไวแก้ไขได้ทันควัน


ประเด็นที่มากซ์คาดไม่ถึงก็คือในปัจจุบันมีชนชั้นเกิดขึ้นใหม่ และเป็นอันตรายต่อนายทุนยิ่งกว่าคอมมิวนิสต์เสียอีก ชนชั้นนั้นก็คือพวก เทคโนแครท (Technocrat) พวกเทคโนแครทนี้ล่ะครับที่นายทุนปัจจุบันโดยเฉพาะประเทศที่เจริญด้วยอุตสาหกรรมและเทคโนโลยกลัวเหลือเกิน เพราะเขาเหล่านี้คือผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่เป็นสมองกลของบริษัทหรือองค์กรด้านความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีขั้นสูง เพราะนายทุนไม่มีความรู้ความสามารถที่จะควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างทั่วถึง จึงต้องยอมให้พวกเทคโนแครท คุมการบริหารกิจการของตน

ถ้าพวก เทคโนแครทไม่ทำงานเสียอย่างกิจการของนายทุนก็ต้องล้มครืนทันที เพราะนายทุนใช้เครื่องสมองกลไม่เป็น สั่งการในกิจการที่กว้างขวางและมีสาขาอยู่ทั่วโลกไม่ได้ ตัวอย่างเช่นในเมืองไทย ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในธนาคารต่างๆ ก็ดี หรือเครื่องเอทีเอมเสีย ธนาคารนั้นหรือสาขานั้นก็จะเป็นง่อยทางธุรกรรมทันที จะเบิกจะถอน หรือฝากเงินไม่ได้ทั้งนั้น ต้องรอให้ช่างเทคนิค (Technocrat) มาแก้ ถ้าช่างไม่ว่าง หรือไม่มา วันนั้นธนาคารก็ไม่ต้องทำธุรการใดๆ ทั้งนั้น ทั้งๆ ที่มีพนักงานอยู่นับร้อย อย่างนี้เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #karl marx#ขันหมาก
หมายเลขบันทึก: 180767เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2008 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีค่ะ
  • เป็นอีกแนวคิดหนึ่งของการศึกษาในด้านปรัชญา และแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง
  • ขออ่านก่อนค่ะ
  • สวัสดีครับ ท่าน ผอ.ประจักษ์ อ้อแก้กลอนนิดนึงครับ พิมพ์ตก..
  • สวัสดีครับอาจารย์ ศิริพร ขอบคุณนะครับที่แวะมาอ่าน
  • สวัสดีครับท่าน สิทธิรักษ์ :) ยิ้มๆ ครับ

สวัสดีค่ะคุณกวิน

  • ไม่แน่ใจว่าทำไมพลาดบันทึกนี้ไปได้ อาจเพราะมีการแบ่ง Blog ใหม่ และคุณกวินก็เปลี่ยนชื่อให้สั้นลงด้วย^_^
  • ชื่นชมการนำเสนอและการวิเคราะห์ค่ะ ดูเหมือนเป็นเรื่องของระบบใหญ่ของสังคม แต่ในความเป็นจริงแล้ว..เป็นสิ่งที่ครอบคลุมวิถีชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • ระบบทุนนิยม ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ... ใช่ค่ะ และในที่สุดของวิวัฒนาการทุกประเภทก็จะจบลงทีการกลืนกินตัวมันเอง
  • คนไม่มีรากไม่ได้ศึกษาแนวคิดของมากซ์มากนัก แต่ศึกษาแนวคิดของนักสังคมวิทยารุ่นหลัง ๆ ซึ่งก็มีหลักการคล้ายคลึงกัน ไม่แตกต่าง
  • ...มนุษย์ควรมีเสรีภาพและอิสรภาพในการใช้ชีวิตค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ สำหรับบทความดี ๆ เช่นนี้..อ่านเสียจุใจเลย
  • แนะนำให้ไปที่
  • http://monitor.gotoknow.org/allmsgs.php?kelvin
  • เป็นหน้าต่างที่เอาไว้คอยดู ความคิดเห็นย้อนหลัง
  • ขอบคุณที่แวะมาเรียนมากซ์ เอาไว้แก้มากซ์ ครับ อิๆ

อิสระภาพ..มีอยู่ในตัวตน..ยังปลดไม่ได้....อัตตาน่ะ....หากเข้าใจ. คำว่าอนัตตา..(ในพุทธวิธี)...คงหลุดแน่แอก..นี้..ไม่ว่าระบบใดๆในสังคม....(แอบคิด. ..เจ้าค่ะ..)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท