คู่มือการล่วงละเมิดทางเพศ.....ตอนที่ 1 ?


* โดย องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิมิตรมวลเด็ก มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

 

การล่วงเกินทางเพศต่อเด็ก

          แม้เป็นเรื่องผิดกฎหมายและศีลธรรมอย่างร้ายแรง แต่ก็ยังไม่ใครสนใจจะป้องกัน และแก้ไขจริงจัง ปัจจุบันปัญหานี้เพิ่มขึ้น ทั้งในเชิงปริมาณและรูปแบบที่ซับซ้อนเกินกว่าที่จะถูกละเลยอีกต่อไป

 

คู่มืออาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็กทางเพศ *

 

รูปแบบของการล่วงเกินทางเพศต่อเด็ก

          แบ่งได้ 2 กรณีคือ  

1.      กรณีที่ไม่รุนแรง

เป็นการล่วงเกินทางเพศที่ไม่มีการสัมผัสร่างกาย เช่น การเปลือยกายหรือให้เด็กดูอวัยวะเพศแอบดูเด็กอาบน้ำ พูดลวนลาม พูดสองแง่สองง่าม โทรศัพท์ลามกหรือการให้เด็กดูภาพลามก วิดีโอลามก เพื่อเร่งเร้าหรือกระตุ้นอารมณ์ทางเพศต่อเด็ก         

2.      กรณีที่รุนแรง

เป็นการล่วงเกินทางเพศที่มีการสัมผัสร่างกายเด็กด้วย แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

2.1  ยังไม่ถึงขั้นที่ถึงล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของเด็ก ตัวอย่างเช่น การลูบคลำอวัยวะเพศหรือตามร่างกายเด็กด้วยมือหรือปากเพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศต่อเด็ก การให้เด็กจับคลำอวัยวะเพศ หรือสำเร็จความใคร่ให้ผู้กระทำ ซึ่งบางกรณีมีการทำร้ายร่างกายเด็กร่วมด้วย

2.2  มีการล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศหรือทางทวารหนักของเด็ก ตัวอย่างเช่น การข่มขืนกระทำชำเรา การทำอนาจารทางทวารหนัก ซึ่งบางกรณีอาจมีการทำร้ายร่างกายเด็กร่วมด้วย

ทำไมเราต้องรู้เรื่องนี้ด้วย?

ตัวเด็ก จะได้รับความทุกข์ทรมานและเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้หากผู้กระทำเป็นคนในครอบครัวเด็กส่วนมากจะได้รับความเสียหายที่ร้ายแรงมากทุกด้าน เด็กจะถูกกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีก

ครอบครัว และญาติมิตรของผู้ถูกล่วงเกินทางเพศอาจจะโกรธแค้นหรือรู้สึกผิดมากที่ไม่สามารถปกป้องเด็กได้ และผู้กระทำเป็นคนในครอบครัว จะทำให้ครอบครัวล่มสลายได้

สังคม ขาดความสงบสุขก่อให้เกิดอาชญากรทางเพศ การค้าประเวณี รวมทั้งปัญหาเด็กเร่ร่อนด้วย คุณสามารถมีส่วนในการป้องกันปัญหานี้ได้มาก โปรดระลึกไว้ว่า ยิ่งคุณมีความรู้เกี่ยวกับการล่วงเกินทางเพศต่อเด็กมากเท่าไร คุณจะสามารถช่วยปกป้องเด็กได้มากขึ้นเท่านั้น

 

ใครนะ ช่างทำกับเด็กได้?

           จากการศึกษาพบว่า ผู้ล่วงเกินทางเพศต่อเด็กอาจเป็นใครก็ได้ ไม่จำกัดเพศและวัย แต่จากประสบการณ์พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

คนคุ้นเคยคือ บุคคลที่เด็กรู้จักและไว้ใจมาก่อน เช่น สมาชิกในครอบครัวได้แก่ พ่อ แม่ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง พี่ น้อง ตลอดจนญาติ เพื่อนบ้าน พี่เลี้ยงเด็กครู พระ

คนแปลกหน้า คือ บุคคลที่เด็กไม่เคยรู้จักมาก่อน เช่น คนขับรถรับจ้าง กรรมกรก่อสร้าง เป็นต้น มักจะกระทำกับเด็กแต่ละคนเพียงครั้งเดียว และไปทำกับเด็กคน อื่นต่อๆ ไปอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าจะถูกจับได้ เคยมีจำเลยคดีล่วงเกินทางเพศเด็กในสหรัฐอเมริกาที่รับสารภาพว่าเคยกระทำเด็กมาแล้วหลายร้อยคน

 

ทำไม เขาจึงล่วงเกินทางเพศต่อเด็ก?

          สาเหตุ ซับซ้อนและแตกต่างกันไปในแต่ละราย อาจแยกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

          1. กลุ่มที่มีปัญหาด้านบุคลิกภาพ เป็นผลจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็ก ทำให้มีผลต่อการควบคุมตัวเอง มีการยับยั้งชั่งใจน้อยในทุกเรื่อง ตลอดจนเรื่องเพศ ยอมรับนับถือตนเองน้อย อาจมีปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งเกิดจากการสมรสที่ไม่ลงตัวหรือขาดทักษะในการจัดการปัญหาด้วยหรือเป็นผู้หมกมุ่นเรื่องทางเพศผู้ล่วงเกินทางเพศกับเด็ก มีแนวโน้มที่จะทำอีกจนเป็นนิสัย

3.      กลุ่มที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต ซึ่งเกิดจากการถูกล่วงเกินทางเพศ หรือถูกทำร้ายมาก่อนในวัยเด็ก บางคนอาจมีอาการเบี่ยงเบนทางจิต จนกลายเป็นผู้ชอบมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กที่เรียกว่า Paedophile หลายคนมีอาการหมกมุ่นเรื่องทางเพศด้วยเมื่อใดที่เด็กถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพัง จะเกิดความเสี่ยงทันที

 

การล่วงเกินทางเพศต่อเด็ก อาจเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไรก็ได้

o     ที่คุ้นเคย เช่น บ้าน โรงเรียน วัด

o     ที่ไม่คุ้นเคย เช่น สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ห้องน้ำสาธารณะ โรงละคร โรงภาพยนตร์

 

 

ผลของการล่วงเกินทางเพศต่อเด็ก

          จะรุนแรงเพียงใดขึ้นอยู่กับบุคลิกของเด็ก และประเภทของการถูกกระทำ

          1. กรณีที่ไม่รุนแรง เช่น การให้เด็กดูอวัยวะเพศ ใช้คำพูดลามกเล้าโลม ซึ่งอาจมีผลให้เด็กมีปัญหาด้านอารมณ์ และจิตใจชั่วครั้งชั่วคราว ได้แก่

                    - อาย กลัว สับสน ตกใจง่าย
                    -
รู้สึกผิด กระวนกระวาย
                    -
กลัวถูกรังเกียจ
                    -
ระแวงผู้ใหญ่และคนแปลกหน้า
                    -
สนใจเรื่องทางเพศผิดปรกติหรือชอบจับคลำอวัยวะเพศของผู้อื่น

          บางครั้งเหตุการณ์ดังกล่าว ดูเหมือนจะไม่มีผลอะไรต่อเด็ก แต่พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็ก ยังต้องคอยสังเกตอยู่เสมอ

          2. กรณีที่รุนแรง หากผู้ล่วงเกินทางเพศต่อเด็กเป็นพ่อ แม่ ญาติใกล้ชิดหรือเมื่อเด็กถูกกระทำโดยวิธีรุนแรง อาจมีผลต่อเด็กด้านต่างๆ ดังนี้

                    2.1 ด้านร่ายกาย

ร่างกายของเด็กอาจมีบาดแผล ฟกช้ำเนื่องจากการถูกทำร้าย หรือมีปัญหาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์

                    2.2 ด้านอารมณ์จิตใจ

สะเทือนใจจนเป็นเหตุให้ฝันร้าย ซึมเศร้า กังวล เป็นทุกข์ กรีดร้อง หรือพยายามทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย หวาดกลัวผู้ล่วงเกินทางเพศหรือผู้ที่มีลักษณะคล้ายผู้ล่วงเกินหรือบางกรณีก็อาจคลอเคลียกับบุคคลดังกล่าวนี้มากผิดปรกติ สับสนกับบทบาททางเพศของตนเอง โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย

                    2.3 ด้านพฤติกรรม

ซึมเศร้า ผลการเรียนเลวลง หนีโรงเรียน ก้าวร้าว หนีออกจากบ้าน ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายหรือหวนกลับไปสู่พฤติกรรมต่ำกว่าวัยของตนอย่างกะทันหัน เสพยาเสพติด สำเร็จความใคร่ด้วยตนเองบ่อยผิดปรกติ ยั่วยวนหรือสำส่อนทางเพศ

                    2.4 ด้านบุคลิกภาพ

เด็กผู้หญิงจะมีท่าทางยั่วยวนทางเพศ และเด็กผู้ชายจะมีท่าทางก้าวร้าวทางเพศ

                    * จากการศึกษาพบว่า ผู้เคยถูกล่วงเกินทางเพศในวัยเด็กมีแนวโน้มจะเป็นอาชญากรและอาชญากรทางเพศ โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย ส่วนเด็กผู้หญิงมีแนวโน้มไปค้าประเวณี ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายมีแนวโน้มของพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ

          อาการของผลกระทบทางอารมณ์อาจเกิดขึ้น หลังเหตุการณ์นั้นหลายปี เช่น เมื่อเด็กย่างเข้าวัยรุ่นหรือเมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้

 

วิธีการช่วยเหลือเด็ก

          1. กรณีที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเด็กถูกล่วงเกินทางเพศ หรือไม่

1.1  อย่าปฏิเสธเด็ก

จงเชื่อเด็กไว้ก่อน แม้ว่าเรื่องที่เด็กเล่าจะเชื่อยากเพียงใดเพราะถ้าเด็กสร้างเรื่องขึ้นแสดงว่าเด็กกำลังมีปัญหาด้านอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน

1.2  รับฟังอย่างสงบ

            เมื่อเด็กเล่าให้ฟังว่าถูกล่วงเกินทางเพศให้รับฟังอย่างสงบแล้วพยายามให้เด็กค่อยๆ เล่าลำดับเหตุการณ์ วัน เวลา สถานที่ ผู้กระทำ ด้วยการซักถามประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์ก่อนที่เด็กจะถูกล่วงเกินทางเพศเมื่อฟังเด็กเล่า ถ้าแสดงกิริยาอาการใดๆ อย่างชัดแจ้ง จะมีผลทำให้เด็กไม่กล้าเล่ารายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมด

1.3  ปลอบโยนให้กำลังใจ

พยายามปลอบโยนให้กำลังใจเด็กและให้ความมั่นใจแก่เด็กว่าเราจะปกป้องคุ้มครองเขาให้ปลอดภัย บอกให้เด็กทราบว่าการที่เด็กมาบอกเล่าให้เราทราบเป็นเรื่องที่ดีและถูกต้อง

1.4  วิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากเด็ก หากเป็นเรื่องที่ไม่จริง รายละเอียดและข้อเท็จจริงจะไม่ชัดเจนหรือไม่ปะติดปะต่อ การเล่าหลายครั้งจะไม่ตรงกันบางครั้งอาจจะไม่ชัดเจน หรือไม่ปะติดปะต่อก็ได้ ถ้าหากเด็กมีปัญหาด้านสุขภาพจิตและอารมณ์เพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป

          2. กรณีทราบแน่ชัดว่า เด็กถูกล่วงเกินทางเพศ

2.1    ควบคุมอารมณ์ให้ได้

ให้รับฟังข้อมูลอย่างมีสติ ไม่แสดงอาการโวยวายหรือโกรธเคืองหรือหวาดกลัว วิตกกังวลให้เด็กเห็น เพราะอาจทำให้เด็กตกใจกลัวจนไม่กล้าบอกความจริง และไม่ให้ความร่วมมือ

2.2   ปลอบโยนให้กำลังใจ

ปลอบโยนและยืนยันว่าเด็กเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ได้รับความเสียหายจากผู้กระทำ และผู้ล่วงเกินทางเพศ จะต้องได้รับโทษจากการกระทำผิดการที่เด็กบอกเล่าให้ผู้ใหญ่ทราบนั้นเป็นการดีแล้ว

2.3  พาเด็กไปไว้ในที่ปลอดภัย

ควรพาเด็กไปไว้ในที่ปลอดภัย และมีหลักประกันเกี่ยวกับอนาคตของเด็ก

2.4  เก็บรวบรวมหลักฐาน

เก็บรวบรวมหลักฐาน เช่น เสื้อผ้าที่เด็กสวมใส่ขณะที่ถูกล่วงเกินทางเพศ ขนเพชร ก้นบุหรี่ ถุงยางอนามัย หรืออื่นๆ ที่ผู้กระทำความผิดทิ้งร่องรอยเอาไว้ ตรวจร่องรอยความเสียหายที่ร่ายกายของเด็กถ่ายภาพไว้ด้วย (ถ้าทำได้) ส่งตัวเด็กเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลของรัฐที่ใกล้ที่สุดทันที อย่าชำระล้างร่างกายของเด็กก่อนการตรวจรักษา จดชื่อแพทย์ รวมทั้งวันเวลาสถานที่ขณะที่ตรวจรักษาไว้ด้วย

                    กรณีที่ทราบข้อมูลจากเด็กหลักเกิดเหตุการณ์ไม่เกิน 7 วัน อาจมีหลักฐานร่องรอยตกค้างอยู่และแพทย์ยังอาจค้นพบได้ หากเกิน 7 วันอาจไม่พอหลักฐานร่องรอยของการล่วงเกินทางเพศ แต่ก็ต้องพาเด็กไปตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และตรวจสอบการตั้งครรภ์ด้วย

2.5    มีต่อ.....

หมายเลขบันทึก: 180896เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2008 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาอ่านประดับความรู้เรื่องเพศ......อิอิอิ

สวัสดีครับท่าน ผอ. ยินดีครับ

ชือบันทึกน่ากลัวจังค่ะ เลยมาอ่านเป็นความรู้นะคะ จะได้รู้เท่าทันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท