ดินทอง
นพวัชร เคี้ยง จิรวัฒน์วณิชย์

อมตะใจ


"ชีวิตอมตะ ต้องดำเนินอย่างมีศิลปในหัวใจตนเอง ความฉลาดต่อการใช้จิตใจให้เป็นประโยชน์เท่านั้น และมีทางเดียวที่พระพุทธองค์ ทรงชี้หนทางสว่างให้กับมนุษย์โลกมานานมาก ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนมีโอกาสจะได้ศึกษากันอย่างจริงจัง เพื่อเป็นโอกาสอีกครั้งหนึ่ง จะได้พูนเพิ่มบุญบารมีอันเป็นเสบียง(พลังงาน) ให้ทุกคนมีความสะดวก สุขสบาย และปลอดภัยระหว่างก้าวเดินไปสู่นอกจักรวาลใจ"

        พระพุทธเจ้าทรงเคยทดลองหาหนทาง  ที่จะนำไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์  จากข้อปฏิบัติที่เอียงสุด ทั้ง 2 ประการ นี้มาแล้ว ได้แก่  

        ข้อปฎิบัติเอียงสุดอย่างแรก คือ การแสวงหาความสุขด้วยกามสุข อันเป็นของต่ำทราม เป็นของธรรมดา  ไม่เป็นประโยชน์
  
         ข้อปฎิบัติเอียงสุดอีกอย่างหนึ่ง คือการแสวงหาความสุขด้วยการทรมานตนเอง ด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยาในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการทรมานร่างกาย  เป็นสิ่งไม่มีค่า  และเป็นสิ่งไม่มีประโยขน์   
     
         พระพุทธเจ้าทรงพบว่าข้อปฏิบัติที่เอียงสุดทั้ง 2 ประการนี้ 

               เป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์

               เป็นสิ่งไม่มีค่า ไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ 

        จึงได้ทรงค้นพบทางสายกลาง  อันเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์  ด้วยประสบการณ์ของพระองค์เอง ซึ่งเป็นหนทางที่ให้ทัศนะและปัญญาอันนำไปสู่ความสงบ ญาณ การตรัสรู้ และ พระนิพพาน ทางสายกลางนี้หมายถึง ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ ได้แก่  "มรรค"  นั้นเอง 

        "มรรค"    เป็นหนทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์  และเป็นหนทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ  เป็นทางสายกลางที่ให้ทัศนะและปัญญาอันนำไปสู่ความสงบ ญาณ การตรัสรู้ และ พระนิพพาน  ซึ่งมีองค์อันประเสริฐ 8 ประการ ดังนี้  

          1. เห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้เห็นทัศนะ และความเข้าใจของ สัจธรรม คือ
                อริยสัจ 4  ได้แก่  ทุกข์ สมุทัย  นิโรธ  มรรค
         และ ไตรลักษณ์  ได้แก่  อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา
 
          2. ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความนึกคิดที่ดีงาม คือ กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย
                1. ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ 
                              ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน
                2. ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา 
                              ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย
                3. ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณา                                            ไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย
 
           3. เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศีล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย
                 1.ไม่พูดเท็จ
                 2.ไม่พูดส่อเสียด
                 3.ไม่พูดหยาบ
                 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ 
 
           4. กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศีล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย
                 1.ไม่ฆ่าสัตว์
                 2.ไม่ลักทรัพย์
                 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม 
 
            5. เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศีล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
            
            6. พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย 
                 1.เพียรระวัง คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น  
                 2. เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว  
                 3. เพียรเจริญ คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น   
                 4. เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์   
 
           7. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ การมีสตินึกคิดตามความเป็นจริง คือ 
               สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย   
                  1. การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย  
                  2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา   
                  3. การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต   
                  4. การตั้งสติพิจารณาธรรม   
 
           8. ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ การฝึกสามาธิ  จะได้ซึ่ง
               ฌาน 4 ประกอบด้วย
                  1.ปฐมฌาณ 
                  2.ทุติยฌาน 
                  3.ตติยฌาน 
                  4.จตุตถฌาณ  
     
           องค์ 8 ประการเหล่านี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม  หลักการปฏิบัติธรรมของ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา 
       
          ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว   ที่ทำให้มนุษย์มีชีวิตแตกต่างกัน
  
          กรรมชั่ว :   การฆ่าสัตว์                 ทำให้คนอายุสั้น
                          เบียดเบียนสัตว์            ทำให้ขี้โรค      
                          โกรธและพยาบาท       ผิวพรรณหยาบ    
                          ริษยาคนอื่น                ไม่มีเดชานุภาพ  
                          ตะหนี่ขี้เหนียว             มีความยากจน  
                          หยิ่ง  จองหอง             เกิดในตระกูลต่ำ  
                          ดื่มสุราเมรัย                มีปัญญาทราม
   
 
          กรรมดี  :    ไม่ฆ่าสัตว์                  คนอายุยืน
                          ไม่เบียดเบียนสัตว์        สุขภาพดี
                           อดทนไม่โกรธตอบ      ผิวพรรณดี
                           ไม่ริษยาคนอื่น            มีเดชานุภาพมาก
                           บริจาคทาน                มีสมบัติมาก
                           อ่อนน้อม                    มีตระกูลสูงศักดิ์
                           ไม่ดื่มสุราเมรัย            มีปัญญาดี


                                        " ทำดีได้ดี         ทำชั่วได้ชั่ว "
 
เมื่อตายแล้ว  ผลกรรมจะปรากฏดังนี้
 
          ผู้มีความโลภ โกรธ หลง      จะเกิดเป็น    เปรตและสัตว์เดรัจฉาน
          ผู้มีศีล 5                            จะเกิดเป็น    มนุษย์  
          ผู้มีหิริโอตตัปปะ                  จะเกิดเป็น    เทวดา
          ผู้มีฌาน                             จะเกิดเป็น   พรหม
          ผู้ไม่มีกิเลส เข้านิพพาน)      จะเกิดเป็น   อรหันต์


 
ขอให้มีสุข...ดินทอง

หมายเลขบันทึก: 181419เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2008 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นสนองกลับเสมอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท