มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

บทเรียนจากสึนามิ แคทริน่า และ นาร์กิส กับ โครงการ "get prepared" ของแคนาดา


ต้องพร้อมอยู่ได้โดยไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างน้อย 72 ชม.

ช่วงนี้ในข่าวที่นี่พูดถึงเรื่องการให้ความช่วยเหลือเพื่อนชาวพม่ากันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ทางพม่ายอมหรือไม่ยอมให้ใครช่วยบ้าง

บันทึกนี้จะไม่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้นแต่จะขอเสนอโครงการดีๆที่น่าเอาอย่างอีกโครงการหนึ่งของแคนาดา ประเทศที่มีความเสี่ยงโดนสึนามิอีกที่หนึ่ง (โดยเฉพาะเมืองที่ผู้เขียนอาศัยอยู่นี้)

http://gotoknow.org/file/matana_gotoknow/Canadagetprepared72hr.png

 

ผู้เขียนทราบเกี่ยวกับโครงการนี้ครั้งแรกจากอ.ที่ปรึกษา ท่านเล่าให้ฟังหลายปีแล้วว่าแถวบ้านของท่าน มี block meeting (การประชุมกลุ่มเพื่อนบ้านที่อยู่ซอยเดียวกัน) ประจำทุก 2-3 เดือน และหนึ่งในเรื่องที่คุยกันคือเรื่องการเตรียมความพร้อมถ้ามีพายุเข้า ไม่ว่าจะเป็นฝน เป็นหิมะ โคลนถล่ม หิมะถล่ม ไฟป่า น้ำท่วม หรือ เกิดสึนามิ ท่านถามผู้เขียนและสามีว่าเตรียมความพร้อมอะไรไว้บ้างรึเปล่า หลังจากนั้นผู้เขียนก็เห็นโฆษณาทางโทรทัศน์ รณรงค์ให้เตรียมพร้อมไว้

โครงการนี้ชื่อ "Get Prepared Canada" ไม่มีอะไรมากค่ะ แค่ให้ทราบว่า

http://getprepared.gc.ca/_img/step1_e.gif Know the risks | รู้ว่าพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่มีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติอะไรบ้าง

http://getprepared.gc.ca/_img/step2_e.gif Make a plan|คิดแผน

  • ทางหนีทีไล่ ว่าจะออกจากบ้าน หรือ ชุมชนทางไหน
  • สถานที่นัดพบ (reunite) ของคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูง
  • ใครจะเป็นคนไปรับลูกที่รร.หรือ day care ถ้าคุณไม่สามารถไปเองได้
  • รายชื่อและเบอร์โทรของคนที่อาจต้องติดต่อทั้งนอกเมืองและในเมือง
  • ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพตนเอง และ ข้อมูลติดต่อหมอประจำตัว
  • จะเอาสัตว์เลี้ยงไปไว้ที่ไหน
  • สถานที่ที่เราเก็บที่ดับเพลิง (fire extinguisher) ตำแหน่งของกล่องไฟฟ้าสำรอง หัวบิดปิดเปิดก๊าซ สะพานไฟ ท่อระบายน้ำในบ้าน เป็นต้น

http://getprepared.gc.ca/_img/step3_e.gif Prepre a kit | เตรียมของ

ชุดเตรียมพร้อมขั้นพื้นฐานควรเก็บไว้ในที่ที่หยิบหาสะดวก ยกได้ไม่หนักไป

ประกอบไปด้วยรายการดังต่อไปนี้

น้ำเปล่า 2 ลิตรต่อคนต่อวัน ให้เตรียมไว้สำหรับ 3 วัน หรือ 72 ชม. เตรียมขวดเล็กไว้ด้วยเผื่อดื่มตอนมีคำสั่ง evacuate

อาหารแห้ง เช่น อาหารกระป่อง หรือ energy bars (น้ำและอาหารนี้ควรเปลี่ยนทุกปี)

ที่เปิดกระป๋อง

ไฟฉายพร้อมแบตเตอร์รี่

วิทยุที่ทำงาน พร้อมแบตสำรอง

ชุดปฐมพยาบาล

ของสำคัญส่วนตัว เช่น ยาประจำตัว อาหารสูตรของทารก อุปกรณ์ช่วยของคนพิการ

กุญแจสำรองของรถและบ้าน

เงินสดที่แตกเป็นแบงค์ย่อย รวมทั้งเหรียญสำหรับโทรศัพท์สาธารณะ

เอกสารที่จดหรือพิมพ์แผนฉุกเฉินที่เตรียมไว้ในข้อ 2

 

นอกจากนี้ยังมีชุดเตรียมพร้อมเพิ่มเติมดังนี้ค่ะ

เสื้อผ้่ารองเท้าใส่เป้ไว้ 

ถุงนอนและผ้าห่ม

นกหวีด

ถุงดำใส่ขยะ

กระดาษชำระ

ถุงมือ

อุปกรณ์ช่างต่างๆเช่น ฆ้อน คีม ไขควง

เตาก๊าซเล็กๆ เหมือนที่ย่างเนื้อเกาหลี

น้ำเปล่าเพิ่มอีกครละ 2 ลิตรสำหรับทำอาหารและชำระล้างร่างกาย

ของใช้ทำความสะอาดร่างกายส่วนตัว

เอกสารสำรอง (xrox) ของ passport บัตรประชน หรือ เอกสารสำคัญต่างๆ

เทียนและไม้ขีด

 

ถ้าขี้เกียจจัดของเอง ทางกาชาด หรือ ร้านค้าหลายร้าน ก็มีชุดขายดังรูปค่ะ

http://getprepared.gc.ca/kit/_img/kit_1.jpghttp://getprepared.gc.ca/kit/_img/kit_2.jpg

บ้านผู้เขียนเตรียมชุดพื้นฐานไว้แล้ว แล้วก็มีอุปกรณ์เพิ่มเติมด้วยเพียงแต่ว่าอุปกรณ์เพิ่มเติมนั้นยังกระจายอยู่ทั่วบ้านไม่ได้จัดรวมไว้ที่เดียวกันเหมือนชุดพื้นฐานค่ะ

ที่นี่มีพายุหิมะ ไฟดับมาแล้ว ตอนนั้นก็คิดดีใจว่าไม่น่ากลัว  ดีแล้วที่เตรียมไว้ ไม่ได้ลำบากอะไรเลยด้วย จริงมั้ยคะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ

อ้างอิง: http://getprepared.gc.ca

 

หมายเลขบันทึก: 181516เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 04:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นการเตรียมการที่ดีมากเลยนะครับ แม้ว่าเราจะหลีกหนีภัยไปไม่พ้น แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้เรามีชีวิตรอดในระยะฉุกเฉินได้

ผมขออนุญาตนำบันทึกของ หมอสุธี ที่พูดถึงเรือง

 

บทเรียนจาก สึนามิ ถึง นาร์กิส แค่เงินและสิ่งของคงไม่พอ

เพื่อต่อยอดความรู้กัน  แต่มีเรืองสงสัยว่า  ทำไมทันตแพทย์ธรรมศาสตร์ใจตรงกันเลยอะครับ อิอิ

ขอแสดงความยินดีล่วงหน้ากับ ว่าที่ ดร. คนใหม่นะครับ

 

ขอบคุณค่ะคุณเชษฐา (recovery) สำหรับข้อความดีๆ

ขอบคุณสำหรับลิ้งค์ไปบันทึกของพี่สุธีด้วยค่ะ สิ่งที่พี่สุธีเขียนไว้สำคัญจริงๆ

มัทเห็นบันทึกและอนุทินใน GTK ช่วงนี้ พูดถึงเรื่องนาร์กิสกันมาก
ที่แคนาดาเองก็ออกข่าวบ่อยๆ ทำให้มัทได้เห็นกรุงเทพในข่าวบ่อยไปด้วย : )

ดูเหมือนคนจะมุ่งไปเรื่องความช่วยเหลือหลังเกิดเหตุกันมาก มัทเลยขอเขียนเรื่องที่เราทำได้ก่อนเหตึเกิดบ้าง : )

คุณเชษฐาเรียนอยู่ขั้นไหนแล้วคะ มัทสนใจเรื่อง schizophrenia และ mental health อยู่เพราะคนไข้มีไม่น้อยเลย ขอสมัครเป็นเพื่อนร่วมลปรร หัวข้อนี้ด้วยนะคะ

หวัดดีครับ น้องมัท

ขอบคุณมากนะครับที่สนใจเรืองของ schizophrenia และ mental health เพราะมีคนไข้จำนวนมากที่ยังถูกรักษาแบบจำยอม เลยทำให้ได้รับการดูแลแบบไม่ค่อยเท่าเทียมกับคนที่ป่วยด้วยโรคอื่นๆ อันนี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหา stigma ในสังคมไทย (รวมถึงการเกิด stigmatization ในโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน)

ประเด็นที่ผมสนใจก็คือ การนำแนวคิด recovery model มาใช้ในการให้บริการสุขภาพจิต และการดูแลคนไข้ schizophrenia โดยใช้โมเดลนี้ อันนี้รวมถึง การใช้ empowerment model, strength model, rehabilitation model ก็เป็นส่วนย่อยที่ต่อยอดกันไปคับ

ความน่าสนใจของโมเดลนี้ก็คือ คนไข้จะมี กระบวนการ recovery process ด้วยตัวของเขาเอง ผู้ดูแลทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมให้เขาฟื้นฟูด้วยตัวของเขาเอง เพราะอย่างไรก็แล้วแต่ เราต้องมองคนไข้ในฐานะเป็น patient-expert ในโรคที่เขาเป็น เพราะอย่างน้อย ผู้ดูแลก็ยังไม่เคยเป็น จะไปรู้ดีกว่าคนไข้ได้อย่างไร จริงไหมครับ อีกอย่าง การรักษาคนไข้จิตเภทโดยไม่ใช้ยา ก็เป็นเรืองที่่น่าสนใจ เพราะผลข้างเคียงของยา เป็นตัวชะลอกระบวนการหายของคนไข้ (เพราะเมายาเกือบทั้งวัน และทำให้ทักษะด้านอื่นๆ ค่อยถดถอยไป จนกลายเป็นคนพิการในที่สุด)

ต่างประเทศพูดถึง recovery model จนกำหนดไว้อย่างชัดเจนใน national mental health policy บ้านเราคิดว่า สักสิบปี โมเดลนี้น่าจะถูกนำมาใช้ในเมืองไทย

ผมเลยศึกษาว่า พยาบาลไทยมีความรู้ และความพร้อมแค่ไหนที่จะให้การดูแลแบบ recovery oriented service ตลอดจนกรมสุขภาพจิต ต้องจัดเตรียมอะไรบ้างก่อนจะนำโมเดลนี้มาใช้ในเมืองไทย

ตอนนี้ผมทำเอาอยู่ที่ University of Wollongong, Australia ครับ ทำวิจัยเฟสแรกไปแล้ว ยังไม่ได้สรุปผล (เฮ่อ เหนือยจริงๆ กว่าจะมาครึ่งทางได้)

แล้วคงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับผม

  • ขอบคุณครับที่เล่าให้ฟัง
  • บ้านเรายังไม่มี "ปฏิทินการเตรียมการป้องกันภัยประจำปี" เลยครับ  เรายังไม่ได้คิดว่า เดือนไหน ที่เราควรเตรียมการวางแผน ป้องกันเรื่องพายุ  น้ำท่วม  ไฟไหม้(ตรุษจีน หน้าร้อน ครับ)...เรายังไม่ได้ปฏิบัติเรื่องนี้จนเป็นนิสสัยครับ
  • ในที่สุด เราอาจต้องมาร่วมกันคิด "มาตรฐานคุณภาพชีวิตของชุมชนเรา" กันอย่างจริงจังเสียที
  • ผมจะเอาเรื่องดี ๆ เหล่านี้ ไปเล่าให้ อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล)ในเขตจังหวัดนนทบุรีฟังครับ(ในทันทีที่มีโอกาสครับ)

ชอบแนวคิดแบบนี้จังเลยค่ะพี่เชษฐา

รับรองว่าเราคุยกันรู้เรื่อง : )

ขอบคุณมากค่ะดร.สุพักตร์

ดีใจมากถ้าบันทึกนี้เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเตรียมการอะไรบางอย่างในเมืองไทยค่ะ

ขออนุญาตลิงค์ เรืองของ

 

Post traumatic stress disorder

 

ไ้ว้ด้วยนะ เพราะเห็นว่า มันน่าจะมาอยุ่รวมๆ กัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท