ความมหัศจรรย์ของไม้ป่า


ความรู้ดั้งเดิมที่เคลื่อนตัวอย่างเงียบๆอยู่ในชนบทนั้นมากมายนัก เพียงแต่ว่าเราไม่ได้ใส่ใจเท่าที่ควร มากไปกว่านั้นหลายคนมองข้ามเลยเสียด้วยซ้ำไป

 

ยิ่งเดินเข้าชนบทและให้เวลากับเขา นั่งฟังอย่างเคารพ และสนทนาอย่างสุนทรี (อิอิ..) ก็ยิ่งมองเห็นความมหาศาลขององค์ความรู้ที่ไม่จบสิ้น  หากเราตั้งหน้าจัดเก็บข้อมูลเข้าระบบ ก็คิดว่าเราจะได้ฐานข้อมูลมหึมานั่นเทียว

 

เราทราบกันดีว่าเด็กรุ่นใหม่จากชนบทนั้น หันหลังให้กับขุมทรัพย์ของบ้านตัวเองไปสู่ของวิถีในเมือง คนแล้วคนเล่า มิใยจะเงี่ยหูฟัง ลุง ป้า น้า อา ตักเตือน และมิได้สำเหนียกต่อองค์ความรู้ที่ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ได้ปฏิบัติอยู่วันต่อวัน....

 

ไม้ตะแบก ทุกท่านคงเคยได้ยิน หลายท่านรู้จัก บางท่านรู้ดีอย่างลึกซึ้ง แต่ก็อาจจะมีบางท่านไม่รู้จัก ใคร่ขอแนะนำสั้นๆดังนี้

ตะแบกเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางและใหญ่ลำต้นสูงประมาณ10-25 เมตรโคนต้นเป็นพูเป็นเหลี่ยมผิวเปลือกมีสีเทาปนน้ำตาลอ่อน ผิวเปลือกค่อนข้างเรียบมีรอยขรุขระเป็นหลุมตื้นๆเกิดสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ มี่เปลือกใบเป็นใบเดี่ยวออกตามกิ่งก้าน  ปลายยอดลักษณะใบมนขอบขนาน เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงเรียบเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยาวประมาณ  10-14 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อยาว ลักษณะดอกมีกลีบรอบดอกเป็นรูปถ้วยเชื่อมติดกับดอก มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ ริมขอบกลีบจะย่นบาง ดอกมีสีม่วงอ่อน ขนาดผลยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเมื่อแก่จะแตกเป็นเสี้ยว 6 เสี้ยวภายในผลมี  เมล็ดเล็ก ๆ

 

ดอกตะแบก 

ชาวบ้านดงหลวงคุยกับผมว่า ต้นไม้ตะแบกนั้น อีสานเรียก ไม้เปือย สะแบกก็เรียก ไทยโซ่เรียก อะลวงสะเรียง เนื้อไม้นิยมทำเรือ เพราะมีน้ำหนักเบา นิยมเอามาทำพื้นบ้าน เพราะโดยธรรมชาติเนื้อไม้ตะแบกมีความลื่นในตัว หากเจ้าของบ้านขัดพื้นบ้านด้วยอะไรก็แล้วแต่ให้มันๆ แล้วเอาเสื่อกกปู แล้วเราเดินไปบนเสื่อนั้น ชาวบ้านดงหลวงบอกว่า มีสิทธิ์ล้มหัวแตกได้ง่ายมากๆ เพราะไม้ตะแบกลื่นมากๆ

โดยธรรมชาติในป่าไม้นั้นต้นตะแบกที่สวยๆหายากเพราะมักจะเป็นโพรง และเป็นที่อยู่ของสัตว์นานาชนิด เช่น เม่น ลิ้น อีเห็น ตัวแลนแม้กระทั่งหอยและแมงโยงโย่ ที่เคยเล่าให้ฟังว่า พ่อแสนเรียนรู้ธรรมชาติของแมงโยงโย และหอยป่าที่ชอบอยู่โพรงจึงทำโพรงเรียนแบบธรรมชาติ เพื่อให้หอย และแมงโยงโยมาอาศัยอยู่ เมื่อมีมากๆก็แบ่งเอาไปกินเสียบ้าง  อิอิ พ่อแสนกะจะไม่ใช้เงินซื้ออาหารเลย พึ่งพิงธรรมชาติให้มากที่สุด เพราะสวนป่าครอบครัวพ่อแสนนั้นอุดมจริงๆ

อีกสิ่งหนึ่งที่ที่งในองค์ความรู้ของชาวบ้านดงหลวงคือ ไม้ตะแบกเมื่อตายแห้ง มักจะมีเห็ดชนิดหนึ่ง มีสีขาว สีนวล และสีน้ำตาลเกิดขึ้น และมีขนาดตั้งแต่เล็กไปจนขนาดใหญ่ พ่อสัมบูรณ์ ผู้นำไทบรูคนหนึ่งกล่วว่า สมัยอยู่ป่านั้น ทหารป่าที่เขาเวรดูแลพีน้องในค่ายในป่านั้น มักจะเดินหาเห็ดที่เกิดจากขอนไม้ตะแบก  แล้วเอาไปตากแดดให้แห้งสนิท  เมื่ออยู่ยามกลางคืนก็เอามาจุดไฟ เขาจะไหม้ไฟคล้ายๆธูป ซึ่งค่อยๆไหม้ลามไปเรื่อยๆ ช้าๆ ส่งควันและกลิ่นออกมา ขับไล่ยุงป่าดีแท้   แม้ว่าจะมีกลิ่นเหม็นอยู่บ้าง  แต่ก็ทนได้ 

ถามว่าเห็ดชนิดนี้จะขึ้นกับไม้ป่าชนิดอื่นไหม  ชาวบ้านบอกว่า อาจจะมี แต่ไม่เคยเห็นเลย มีแต่เห็ดไม้ตะแบกนี่แหละที่เรารู้จักมานานและใช้กันมาตลอด  แต่กินไม่ได้นะครับ...

ผู้นำไทบรูหลายท่านยืนยันความรู้นี้ และต่างก็เคยได้ใช้ประโชน์มาแล้วทั้งสิ้น

แต่หากจะมีเวลามากกว่านี้ ชาวบ้านก็เล่าให้ฟังว่าจะเข้าป่าไปหาไม้ป่าอีกชนิดหนึ่งตือ ตะไคร้ต้น เอาเมล็ดหรือเปลือกตะไคร้ต้นมา ตำ หรือตีให้แหลกแล้วเอามาผสมกับน้ำมันยาง ปั้นให้เป็นคบ เอาจุดไฟ ก็สามารถไล่ยุงได้ดี แถมกลิ่นหอมเหมือนตะไคร้ด้วย ตะไคร้ต้นยังเข้าเครื่องยาสมุนไพรอีกหลายตำหรับอีกด้วย

 

ดอกตะไคร้ต้นตูม

เรื่องตะไคร้ต้นนี้ก้าวไปไกลมากกว่าตะแบก เพราะคุณสมบัติความหอมของเขานี่แหละ ที่ภาคเหนือจึงมีการนำ ผล เปลือกมาผ่านกระบวนการกลั่นทำน้ำมันหอมระเหย ทำยากันยุงและอื่นๆ มากไปกว่านั้นที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำตะไคร้ต้นมาวิจัยศึกษาคุณสมบัติทางยาต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นแนวทางในการรักษาโรคมะเร็ง อีกด้วยครับ...

 

ดอกตะไคร้ต้นบาน 

 

นี่เป็นเพียงความรู้นิดหน่อยขององค์ความรู้ทั้งหมดของป่า ที่น้องเม้ง เยอรมันป่าวร้องมานานให้ช่วยกันปลูกป่า ท่านครูบาจับทุกคนที่ไปสวนป่าให้ปลูกต้นไม้

 

ท่านทราบหรือไม่ว่ายาในปัจจุบันนั้นมากกว่าครึ่งหนึ่งมีที่มาจากป่า

 

โรคภัยไข้เจ็บที่เรายังรักษาไม่ได้นั้น อาจจะมีตัวยาที่เรายังค้นไม่พบ แต่มีอยู่ในป่า

 

เรามารักษาป่า ฟื้นฟูป่า ปลูกต้นไม้กันเถอะครับ

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 182162เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008 00:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับพี่ชาย

    สบายดีนะครัีบ เอาประโยคในเล่มวิจัยมาฝากครับ...

The root of knowledge is in nature; without root, it  is  fruitless.

Nature ที่่ว่านี้ ก็รวมๆทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่าง ตลอดจนป่าของพี่ไว้ด้วยครับ ป่านั้นนับว่าเป็นรากของความรู้เลยครับ หมดป่าเมื่อไหร่หมดชีิวิตเมื่อนั้น

ข้อคำถามจากป่า...

  • มีใครใส่ปุ๋ยกระสอบละพันกว่าให้ฉันไหม?
  • มีใครบำรุงฮอร์โมนให้ฉันไหม?
  • มีใครพ่นยาฆ่าแมลงที่จะมาทำลายฉันไหม?
  • แต่มีใครไม่รู้เข้ามาขออาหารจากฉัน
  • ใครไ่ม่รู้มองฉันเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต
  • ใครไ่่ม่รู้มาขอต้นไม้ไปทำสิ่งก่อสร้างต่างๆ
  • ใครไม่รู้มาหายารักษาโรค
  • ใครไม่รู้มาขโมยสัตว์ ธารน้ำจากฉันไป
  • ใครไ่ม่รู้กำลังจะเปลี่ยนพื้นที่ฉันเป็นสวนน้ำมัน สวนยางพารา สวนปาล์ม สวนไม้โตเร็ว สวนบ้าเงิน
  • แล้วใครจะป้องกันพายุให้เธอ?
  • แล้วใครจะป้องกันน้ำท่วมให้เธอ?
  • แล้วใครจะเรียกฝนฟ้าให้เธอ? นางแมวหรือฉัน?
  • แล้วใครหล่ะจะช่วยเธอซับน้ำตา....
  • แล้วเธอจะโหยหาฉัน...เมื่อฉันเหลือแต่ตอ...

นมัสการพระธรรมชาติ

ตะไคร้ต้น เคยเอามาปลูก โตแล้วแล้ว คนงานปรารถนาดี ฟันทิ้ง ไม่รู้จัก ความไม่รู้จักอย่างเดี๋ยวก๋อ่วมแล้วละครับ ท่านบางทราย

ภาพสวย เรื่องดี เสมอ

น้องเม้งครับ

  • วันก่อนในทีวีไทยเอาคุณดาบวิชัย "ที่แต่ก่อนใครๆเรียกแกว่าคนบ้าปลูกต้นไม้ สองล้านต้น" มาวันนี้แกปลูกไปแล้วสามล้านห้าแสนต้น
  • แกได้รับรางวัลมาแล้ว 19 รางวัล 1 รางวัลเป็นระดับโลก
  • ทีวีตามไปถ่ายว่าผลผลิตที่แกปลูกนั้นทำประโยชน์อะไรแก่คนบ้างในปัจจุบัน
  • โอยมากมายก่ายกอง  ชาวบ้านเอาลูกตาลไปทำขนม ขายทั่วบ้านทั่วเมือง เอาใบตาลไปสานหมวกสวยๆ เอาก้านตาลไปทำเก้าอี้ ทำโต๊ะที่พี่นั่งทำงานทุกวันที่ห้องพัก ก็เป็นผลงานของดาบวิชัย  และชาวบ้านได้เงินทองใช้สารพัดก็เพราะดาบวิชัยปลูกต้นไม้นี่แหละ

  • แต่พี่คิดในอีกมุมหนึ่งว่า การให้รางวัลแก่ดาบวิชัยนั้นดีแล้ว จะให้ดีมากกว่านั้นหน่วยงานที่ให้รางวัลต้องระดมคนออกมาปลูกต้นไม้ด้วย อิอิ

ท่านครูบาครับ P 2. ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

ตะไคร้ต้น เคยเอามาปลูก โตแล้วแล้ว คนงานปรารถนาดี ฟันทิ้ง ไม่รู้จัก ความไม่รู้จักอย่างเดี๋ยวก๋อ่วมแล้วละครับ ท่านบางทราย

ภาพสวย เรื่องดี เสมอ

 

มาสวนป่าวันศุกร์จะเอาตะไคร้ต้นมาฝากครับ

เรื่องภาพและข้อมูลบางส่วนผมเอามาจาก เว็บอื่น  พอเอามาแล้วลืมจดว่ามาจากไหน จะไปอ้างอิงก็ไม่ได้ซะแล้ว  ขออภัยเจ้าของด้วยนะครับ

         สวัสดีครับคุณ บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา) กระผมชื่นชอบแนวการเขียนบันทึกของท่าน พอดีเข้ามาอ่านเจอข้อมูลของไม้ตะแบก ตะแบกไม่รู้ไปแบกอะไร? แบกไว้ให้หนักทำไม? กระผมแปลกใจ แต่กระผมก็ไปเอาชื่อของเขามาเป็นนามเรียกขาน(นามที่ 2) ของกระผม คือ "ตะแบก ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง" แนวความคิดคือจะลองแบกภาระทางด้านสังคมไว้เหมือนกับต้นตะแบก

         กระผมก็ชอบปลูกต้นไม้ ที่บ้านในเนื้อที่ 6 ไร่ ผมแบ่งพื้นที่ให้กับต้นไม้มากกว่าครึ่ง ปลูกต้นสักทอง แดง ประดู่ ตะแบก มะค่า ฯลฯ ปลูกรวมกันไว้ให้เป็นป่าโดยประมาณ 300 ต้น ปลูกทุกปี ปีนี้ก็จะปลูกอีก กระผมมีพันธุ์ไม้ยาง อยู่ 30 ต้น ได้มาจากเลาะริมลำน้ำพรม อยากจะเอามาปลูกในสวนแต่เกรงว่ายางเขาจะไปกินพื้นที่ของไม้ชนิดอื่นมากไปหรือปล่าว บางทีอาจจะเอาไปปลูกตามทางหลวง เพราะเคยเห็นที่ลำพูนทางไปเชียงใหม่สวยงามมาก

         ที่นี่จะมีภาพบางส่วนของป่าที่ผมกำลังจะเนรมิตขึ้นให้เป็นที่อยู่ของนกชนิดต่างๆ http://gotoknow.org/blog/peemagroup/178689 ครับ

สวัสดีครับ P 5. ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง

  • ยินดีต้อนรับครับ "ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง" ผมคงมีโอกาสได้พักร่มบ้างนะครับ
  • ผมตามเข้าไปชม บล็อคของท่านแล้วก็ชื่นชอบ ถูกจริตผมอยู่เหมือนกัน เรามาแลกเปลี่ยนเรื่องราวของชนบท ป่า คน และอื่นๆที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมกันนะครับ
  • ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราให้ความสนใจมากๆ เพราะตอนนี้ธรรมชาติได้ลงโทษมนุษย์ขี้เหม็นมากต่อมากแล้ว เตือนให้รู้ว่า การลงโทษครั้งใหญ่ๆจะตามมาอีกนับไม่ถ้วน
  • เกษตรสมบูรณ์ผมเคยไปอยู่ ภูเขียวก็เคยไป แก้งคร้อ ฯลฯ ชัยภูมิยังมีป่าภูเขียวที่มีโครงการของป่าไม้อยู่น่าสนใจ คนข้างกายผมไปศึกษาเรื่อง "วัวปล่อยเข้าป่ามีผลกระทบอย่างไรบ้างต่อป่า" 
  • ป่าภูเขียวมีไม้กฤษณาที่ขึ้นชื่อลือชานัก แถมมีโรงงานกลั่นกันเลย (ผิดกฏหมาย)
  • เพื่อนๆเคยมาทำโครงการพัฒนาลุ่มน้ำพรมครับ
  • ยินดีที่รู้จักครับ

สวัสดีค่ะพี่บางทราย สวยงามและมหัศจรรย์จริงๆนะคะในสิ่งที่ธรรมชาติมีให้มนุษยชาติ

นึกภาพว่าการได้เรียนรู้จากป่าและปราชญ์ชุมชนต้องเป็นความเบิกบานอย่างยิ่ง ขนาดที่บ้านมีที่กระจิ๊ดเดียว ได้เห็นวัชพืชที่เป็นสมุนไพรทั้งนั้น แค่นี้ก็สำนึกในพระคุณของธรรมชาติเหลือหลายค่ะ

ดอกตะไคร้ต้นสวยจริงๆค่ะ

สวัสดีเจ้าค่ะ ลุงจ๋า

คิดถึงงงงงงงงงงงงงงงงง ดีใจจะได้ไปเล่นที่สวนป่าแล้ววว เย้ๆๆๆๆ ล้า ลา ล่า ล้า ลา อารมณ์ดี

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ----> น้องจิ ^_^

สวัสดีครับน้องนุช P 7. คุณนายดอกเตอร์

  • เมื่อเราไปฟังชาวบ้านพูดถึงประโยชน์ของต้นไม้ พรรณไม้ต่างๆในป่า คิดเสมอว่า ทำไมเราไม่ทุมเทการรวบรวมความรู้พวกนี้ แล้วมาใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์เข้าไปจัดระบบใหม่ขึ้นมา เพื่อยกระดับองค์ความรู้
  • มั่นใจว่ามีคนทำอยู่หลายส่วน  แต่น่าจะยังไม่ครอบคลุม ไม่ครบถ้วนที่กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ
  • นับวันความรู้เหล่านี้จะทะยอยล้มหายตายจากไปกับผู้รู้ทั้งหลาย
  • พุดไปพูดมา ทำไมเราไม่ทำเองล่ะ ไปเรียกร้องให้ใครทำ อิอิ
  • คิดหนัก  จะเริ่มอย่างไรดี

หลานจิที่คิดถึง P 8. โก๊ะจิจัง แซ่เฮ ^๐^!

เจ้าทุยเผือกกินหญ้าหรือยัง เอาหญ้าไปป้อนมันหน่อยนะ  อิอิ สงสารมัน เวลาทำงานมันก็ทำหนัก เวลามันพักผ่อน เราก็ดูแลเขาหน่อยนะ  อิอิ  ทดแทนคุณเขาบ้าง

  • พี่บูทคะ....
  • ตะแบกเป็นต้นไม้ในใจเสมอค่ะ   เวลามองจากหน้าต่างห้องทำงานจะเห็นขึ้นอยู่เรียงรายเต็มไปหมด เป็นการพักสายตาอย่างหนึ่ง
  • ส่วนดอกตะไคร้เพิ่งเคยเห็นค่ะ   ปกติไม่เคยสังเกตเลย แต่พอพี่ถ่ายรูปมาให้ชม   ดูสวยงามจริงๆค่ะ
  • มีหลายสิ่งหลายอย่างที่มีคุณค่าในป่า  แต่เรากลับมองข้ามไป    คงต้องมาช่วยกันค้นหากันแล้ว มหัศจรรย์ของไม้ป่าจริงๆนะคะ
  • ไว้เจอกันที่สวนป่าค่ะพี่

น้องสาวคนงาม P 11. อ.ลูกหว้า

  • มันเป็นของใกล้ตัวแต่ไกลตัวเพราะเราไม่ค่อยได้สนใจเขา
  • เมื่อมาทราบคุณสมบัติเราก็ตื่นเต้นนะครับ
  • ความจริงก็พอรู้มาบ้างแล้ว การมาฟังชาวบ้านย้ำเตือนเราก็ยิ่งเห็น ตระหนักมากขึ้นน่ะครับ
  • แล้วเจอะกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท