Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

พระศากยมุนีพุทธเจ้า : บทที่ 1 การประสูติและตอนที่ยังทรงพระเยาว์


กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท : การเสด็จอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องยาก "พระศากยมุนีพุทธเจ้า ตามคติของฝ่ายมหายาน"

            ก่อนที่พระโคตมะ สิทธัตถะจะประสูตินั้น  พระองค์ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต   ในขณะนั้นเอง  เหล่าเทวดา  จอมเทพและเทพเจ้าบนสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จำนวนมากได้ทูลเชิญพระองค์เพื่อจุติลงมาปฏิสนธิในโลกมนุษย์   ก่อนที่พระองค์จะทรงรับคำเชื้อเชิญนั้น  พระสิทธัตถะได้ทรงพิจารณาปัญจมหาวิโลกนะ (การพิจารณาหลักการกลับชาติมาเกิด 5 ประการ)

            หลักการทั้ง 5 ประการนั้น ได้แก่  1.เวลา  2.ทวีป  3.ประเทศ  4.ชาติตระกูล  5.พระมารดาและช่วงอายุของพระมารดา  ดังนี้

             1.เวลา  จะต้องไม่ใช่เวลาที่มนุษย์มีอายุมากกว่าแสนปี  และทำไมเวลาเช่นนั้นจึงไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม ?  เพราะเหตุว่า การเกิดในยุคเช่นนั้น  ทำให้ไม่สามารถเห็นการเติบโต(เปลี่ยนแปลง)และการดับสลายของชีวิตได้ชัดเจน  และไม่มีคำสอนเกี่ยวกับหลักพุทธธรรมซึ่งทำให้ว่างเว้นจากหลักสามัญลักษณะ 3 ประการ (หลักไตรลักษณ์) เนื่องจากว่า  เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสสอนประชาชนเกี่ยวกับความไม่เที่ยง (อนัจจตา) ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตน (อนัตตา)  พวกเขาย่อมโต้แย้งได้ว่า  พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสเกี่ยวกับอะไรกัน ? และพากันคิดว่าพวกเขาไม่ควรเป็นทั้งผู้ฟังและผู้เชื่อถือตาม ด้วยเหตุนี้  จึงไม่มีการหยั่งรู้  เมื่อเป็นเช่นนี้, จึงนำให้ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ดังนั้น, เวลาเช่นนี้จึงเป็นกาลเวลาที่ไม่เหมาะสม  ซึ่งเวลาที่เหมาะสมจะต้องเป็นยุคสมัยซึ่งช่วงอายุของมนุษย์มีไม่เกินกว่า 100,000 ปี  แต่ก็ไม่ควรที่จะต่ำกว่า 100 ปีด้วยเหมือนกัน 

            ทำไมเวลาเช่นนั้นเป็นเวลาที่ไม่สมควร ?  เมื่อมนุษย์มากไปด้วยสิ่งเศร้าหมอง การชี้แนะให้พวกเขาผู้ซึ่งกำลังมากไปด้วยสิ่งเศร้าหมองทำให้ไม่ฝังลึกในจิตใจได้  ดุจเดียวกับเอาท่อนไม้ขีดลงบนพื้นผิวน้ำ รอยขีดก็หายไปทันที เป็นเวลาที่ไม่เหมาะสมเพราะเหตุเช่นนี้เอง จะต้องเป็นยุคสมัยที่ช่วงอายุอยู่ระหว่าง 100 ปี แต่ไม่เกิน 100,000 ปี  จึงจะเป็นเวลาที่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้  อายุของมนุษย์อยู่ในช่วง 100 ปี  ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตัดสินพระทัยในการถือปฏิสนธิเป็นมนุษย์

            2. ทวีป พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาทั้ง 4 ทวีป พร้อมด้วยเกาะรอบ ๆ  ปรากฎว่า  มีอยู่ 3 ทวีปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เคยเสด็จลงมาประสูติ  มีเพียงในชมพูทวีปเท่านั้นที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเคยประสูติมาแล้ว  ดังนั้น พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยว่า  จะเลือกชมพูทวีปเป็นทวีปที่ประสูติ 

3. ในเมืองกบิลพัสดุ์  ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเนปาลในปัจจุบัน

            4. ชาติตระกูล  พระองค์ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พบว่า ไม่เคยประสูติในชนชั้นแพศย์และชนชั้นศูทรมาก่อน  แต่เคยประสูติทั้งในชนชั้นกษัตริย์และพราหมณ์ ซึ่งเป็นชนชั้นสูงในสังคมยุคนั้น  โดยเฉพาะชนชั้นกษัตริย์  ถือกันว่าเป็นชนชั้นที่สูงกว่าชนชั้นอื่น ๆ  พระองค์จึงตัดสินพระทัยว่า  เราจะเกิดในชนชั้นกษัตรย์  มีพระราชาพระนามว่าสุทโธทนะ เป็นพระราชบิดา

            5.  ทรงทำการพิจารณาถึงเรื่องมารดา   พระองค์พิจารณาว่า  พระพุทธมารดา ต้องไม่เป็นหญิงที่มีราคะ อีกทั้งไม่เป็นผู้ดื่มสุรา  แต่เป็นบุคคลผู้บำเพ็ญบารมีความดีมาตลอดแสนชาติ  และรักษาศีลไม่ด่างพร้อยมานับตั้งแต่วันประสูติ ขณะนี้ บุคคลเช่นนั้น มีพระนามเรียกกันว่า   มหามายา  เป็นพระราชธิดาแห่งโกลิยวงศ์ พระองค์จะเป็นพระมารดาของเรา นับจากที่พระโพธิสัตว์ได้ทรงปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนาง(จนประสูติ)  พระชนมายุของพระนางจะมีเพียง 10 เดือน กับอีก 7 วันเท่านั้น

             หลังจากได้พิจารณาปัญจมหาวิโลกนะนี้แล้ว   จากนั้นพระโพธิสัตว์ ได้รับคำเชิญของทวยเทพในสวรรค์ชั้นดุสิต พระองค์ได้เสด็จเข้าสู่สวนนันทวันในสวรรค์ชั้นดุสิตและประทับอยู่จนกระทั่งได้ปฏิสนธิในโลกมนุษย์ในเดือนที่ 7 ทางจันทรคติ  ตรงกับวันเพ็ญ ในช่วงเช้าตรู่

            ในวันเพ็ญแห่งเดือนที่ 4 ทางจันทรคติ (วสันตฤดู) ของปีต่อมา  ในขณะที่ชมพูทวีปมีต้นไม้นานาชนิดเต็มไปด้วยความสมบูรณ์แห่งผลและดอก และในทุกถิ่นสิ่งมีชีวิตต่างอยู่อย่างผาสุก พระนางสิริมหามายา  กำลังเสด็จประพาสอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะเพื่อจะไปยังถิ่นฐานแห่งพระราชบิดาและพระราชมารดา  ตามธรรมเนียมสมัยนั้น เพื่อการประสูติแห่งพระราชโอรส  แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่  เนื่องจากเมื่อถึงกึ่งกลางของทั้ง 2 เมือง  ณ สวนลุมพินีวัน  ใต้ต้นไม้สาละ พระองค์ได้ประสูติพระราชโอรสในขณะนั้นนั่นเอง

            ในวันที่พระโคตมะ สิทธัตถะประสูติ  เหตุการณ์ที่เปี่ยมไปด้วยความสุขสำราญก็ตามมา ณ สถานที่นั้น   ก่อนที่พระราชกุมารจะทรงสัมผัสภาคพื้น  เทวดา 4 องค์ (ท้าวจตุโลกบาล) ได้รองรับพระองค์ไว้ และได้นำเสนอต่อพระราชมารดา  โดยกล่าวว่า โอ  พระแม่เจ้า   เป็นที่น่ายินดียิ่ง  พระองค์ได้ทรงประสูติมหาบุรุษแล้ว

            พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ 4 พระองค์  ได้ทรงรับพระราชกุมารจากทวยเทพมาไว้ในหนังเสืออันอ่อนนุ่มและถัดจากนั้น พระองค์ก็ถูกรองรับโดยนางสนมของพระราชมารดาซึ่งได้นำพระองค์ไว้ในผ้าแพรไหมอย่างดี

            พระราชกุมารทรงย่างพระบาทลงบนพื้นโลกและผันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก  ผ้าเพดานสีขาวได้ลอยมากำบังเหนือพระเศียรของพระองค์  เหล่าสัตว์หาประมาณมิได้จากทั่วทั้งจักรวาลได้กระทำการถวาย 8 อย่าง ได้แก่ น้ำสำหรับอาบ, น้ำดื่ม,ดอกไม้,ของหอม,ประทีป,ธงแผ่นผ้า,อาหารและบรรเลงเพลงถวาย และกล่าวกันว่า โอ พระมหาบุรุษ  ไม่มีใครยิ่งใหญ่เสมอพระองค์ในที่นี้และไม่มีผู้ยิ่งใหญ่กว่าในที่ไหนๆ  กล่าวคือ เมื่อมองไปทั่วทุกทิศ  ไม่เห็นใครเสมอด้วยพระพุทธเจ้า  และพระองค์ได้ทรงย่างพระบาทได้ 7 ก้าวไปทางทิศเหนือ  ในขณะที่ทรงย่างพระบาทก้าวที่  7  พระพุทธเจ้าได้เปล่งอุทานว่า เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก  ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา การเกิดในภพใหม่ของเราจะไม่มีอีกแล้ว

            ในเวลาเดียวกันกับการประสูติของพระพุทธเจ้า รัศมีอันเรืองรองไม่มีที่จำกัดได้ของทวยเทพในสถานที่นั้น  ได้แผ่ซ่านไปตลอดทั่วทั้งโลก เหตุการณ์อื่น ๆ ซึ่งได้เกิดขึ้นด้วยเหมือนกันในขณะนั้น คือ การประสูติของพระนางภัททกัจจานะ (พระนางยโสธรา), นายฉันนะอำมาตย์,  กาฬุทายะและม้ากัณฐกะ, ต้นพระศรีมหาโพธิ์และขุมทรัพย์ทั้ง 4 คือ สิ่งมีค่า 4 อย่าง ได้แก่  ความยั่งยืน (นิจจัง), ความสุข, อัตตาที่แท้จริง และความบริสุทธิ์

            ดังนั้น  พระศากยมุนี และเจ้าหญิง  ได้ประสูติเมื่อ  543 ปีก่อนคริสตกาล  พระองค์ทรงเชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ศากยะ พระราชบิดาพระนามว่าสุทโธทนะ ผู้เป็นกษัตริย์แห่งเมืองกบิลพัสดุ์  และพระราชมารดาของพระองค์คือพระนางสิริมหามายา  เมื่อพระโคตมะ สิทธัตถะกุมารประสูติได้เพียง 7 วัน  พระนางก็ได้เสด็จสวรรคตไปปฏิสนธิในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

            หลังจากการสวรรคตของพระนางมหามายา พระนางปชาบดี โคตมี ผู้เป็นน้องสาวของพระนางได้ทำหน้าที่เลี้ยงดูพระกุมาร พระกุมารสิทธัตถะทรงถูกเลี้ยงดูด้วยสิ่งปราณีตดีเลิศหลากหลายอย่างในแต่ละวัน  มากมายรายล้อมไปด้วยสิ่งหรูหรา พระองค์ทรงได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด ทรงศึกษาศิลปะแห่งการรบมากมายและเป็นการฝึกฝนอย่างดีเยี่ยมเพื่อสืบทอดราชบัลลังก์ของพระราชบิดา ในเวลานั้น พระราชประสงค์อย่างแรงกล้าของพระเจ้าสุทโธทนะ คือ การให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกสมรส  อยู่ครองเรือนและเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ปกครองราชอาณาจักรของพระองค์, ความหวั่นพระทัยที่สำคัญที่สุดของพระองค์คือ พระราชโอรสของพระองค์อาจจะละเสียจากชีวิตครองเรือนเพื่ออยู่อย่างปราศจากเรือนและบวชเป็นบรรพชิต

            เป็นไปตามธรรมเนียมประเพณี  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุครบ 16 พรรษา  พระองค์ได้อภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา  พระญาติ(ลูกพี่ลูกน้อง) ของพระองค์เอง ผู้ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ และพระนางปมิตาแห่งโกลิยวงศ์ เจ้าหญิงทรงมีพระชนมายุเท่ากันกับเจ้าชายสิทธัตถะ และมิได้อยู่ในวิถีที่ด้อยกว่ากันกับเจ้าชายเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่ได้รับการฝึกอบรมมา กระนั้น แม้จะเป็นความพยายามทั้งหมดของพระราชาที่จะทำให้ความตั้งพระทัยของเจ้าชายบ่ายเบี่ยงไปจากความสนพระทัยที่จะออกบวช  ความตั้งพระทัยแน่วแน่ในประการหลังเพื่อมุ่งแสวงหาพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ  ทำให้ความพยายามของพระราชาไม่เป็นผล

            ขณะที่ทรงพระเยาว์  เจ้าชายถูกปิดกั้น(ทำให้บ่ายเบี่ยงจากความจริง) เกี่ยวกับความคิดเห็น  4  ประการ  ซึ่งพระองค์พระองค์ทรงสังเกตเมื่อทรงเสด็จประทับนอกเขตพระราชวังกับนายฉันนะอำมาตย์คนสนิทของพระองค์ ความคิดเห็น 4 ประการนั้น (เทวทูตทั้ง 4)  ได้แก่

1   คนผู้โรยลาไปด้วยอายุ (คนแก่), เขาเป็นคนอนาถาอย่างที่สุด, อยู่อย่างโดดเดี่ยวและถูกญาติในครอบครัวหรือเพื่อน ๆ ลืมเลือนไปเสียเลย -  นี่เป็นความทุกข์ของความเปลี่ยนแปลง

2   คนผู้ซึ่งมีผิวหนังเหี้ยวแห้งและมีแต่กระดูก, ต้องทุกขเวทนาและน่าสงสารยิ่ง, ทรมานไปด้วยโรคต่าง ๆ นี่เป็นความทุกข์ของความเสื่อมสลาย

3   หมู่ญาติผู้ชายซึ่งกำลังโศกเศร้าในขณะที่กำลังแบกหามศพของบุคคลผู้เป็นที่รัก  เพื่อนำไปเผา นี่เป็นความทุกข์ของความตาย

4   สมณะ, ผู้สงบและสันโดษ, กำลังปฏิบัติสมาธิอย่างโดเดี่ยวปราศจากการข้องเกี่ยวกับกิจกรรมจ่าง ๆ ซึ่งมีอยู่รอบตัว นี่เป็นการไม่รับรู้สรรพสิ่ง 

            ภาพปรากฎทั้ง 4 นี้ ฝังอยู่ในห้วงแห่งพระทัยของพระองค์   ก่อให้เกิดความกรุณาและเมตตาต่อสรรพสัตว์, ดังนั้น  พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่จะแสวงหาทางแก้เพื่อที่สุดแห่งทุกข์ อันเกิดขึ้นจากความเกิด  แก่  เจ็บและตาย

            เมื่อทรงมีพระชนมายุในวัยหนุ่ม  เจ้าชายมักพิจารณาถึง ความหมายของชีวิต อยู่เสมอ ๆ  และทรงพยายามที่จะเพ่งพินิจถึงเนื้อหาสาระอย่างละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้  ความคิดเกี่ยวกับการออกบวชก่อเกิดขึ้นในภายในพระทัยของพระองค์อยู่  พระองค์ถูกรบกวนอย่างยิ่งโดยความคิดเกี่ยวกับความทุกข์ของมนุษยชาติ ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ทรงเจ็บปวดเกินกว่าความเจ็บปวดทั้งหลายของมนุษยชาติ  ยิ่งทำให้พระองค์ทรงแน่พระทัยว่าโลกตกอยู่ในห้วงแห่งความต้องการความสุขที่แท้จริงอย่างยิ่ง อยู่ที่ไหนและต้องทำอย่างไร บุคคลถึงจะสามารถค้นหาทางแห่งความพ้นทุกข์ได้

             ในคืนนั้น  ความนิ่งสงัดเงียบและความสงบของค่ำคืน  ความคิดของเจ้าชายได้เกิดขึ้นว่า ชีวิตของแต่ละคน สุดท้ายจะต้องมีอายุที่ล่วงเลยไป ขณะนั้น  ความรู้สึกของคนเราจะถูกบีบคั้น  มันทำให้คนเราทรุดโทรมลง สุขภาพกายอ่อนแอเนื่องกระบวนการของความแก่  ความแข็งแรงเสื่อมถอยไป  โรคเข้ามารุมเร้า  ในที่สุดความตายก็มาเยือน ซึ่งมักซ่อนเร้นมาโดยปราศจากการตักเตือน และนำมาสู่วาระสุดท้ายแห่งชีวิตของบุคคล 

             มีช่องทางที่จะหลุดพ้นจากเหตุการณ์อันไม่น่าพึงปรารถนาซึ่งไม่มีใครอาจเลี่ยงได้นี้บ้างไหม ? 

             มีการรอดพ้นจากความแก่  ความเจ็บและความตายบ้างหรือไม่?” 

            ท้ายที่สุดนี้  เจ้าชายหนุ่มจึงตัดสินพระทัยอย่างเด็ดเดี่ยวด้วยพระมหากรุณาอันลึกซึ้งและความตั้งใจแน่วแน่ซึ่งไม่มีสิ่งใดสามารถทำให้หวั่นไหวได้ ผนวกกับพระเมตตาต่อมนุษยชาติของพระองค์  ทั้งหมดนี้ได้นำพระองค์สู่การแสวงหาหนทางแห่งการตรัสรู้

                              บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองนะคะ

  เพื่อนๆ สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมในแง่มุมต่างๆ ได้จากที่นี่ค่ะ

 

บวชที่วัดป่าเจริญราช

http://gotoknow.org/blog/makingmeditation

 

ปฎิบัติธรรม ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ

http://gotoknow.org/blog/gotoybat

 

ตามรอยพระอารยะวังโส

http://gotoknow.org/blog/arayawangso

 

ค่ายพุทธบุตร

http://gotoknow.org/blog/bhuddabutr

 

เรื่องเล่าในหนังสือธรรมะ

http://gotoknow.org/blog/storydhamma

 

Good Project

http://gotoknow.org/blog/goodproject

 

ประโยชน์ของการปฏิบัติกรรมฐาน

http://gotoknow.org/blog/bhuddabutr/257968

หมายเลขบันทึก: 182997เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2008 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีครับ

ทำให้เห็นอีกแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

ขอให้เจริญในธรรมน่ะครับ

เนื่องในสัปดาห์วันวิสาขบูชานะคะ

ขอเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความธรรมนี้

เผยแพร่เป็นธรรมทานแก่ทุกคน

ให้สมดังเจตนาของผู้เขียนและผู้แปลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท