ยุทธศาสตร์ : จุดเริ่มต้นการบูรณาการ


           เมื่อเข้าประชุมเกือบทุกงานต้องถูกถามเรื่องการบูรณาการทำอย่างไร หรือเป็นแบบไหน       การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ถือเป็นจุดเริ่มที่สำคัญ

         การบูรณาการยุทธศาสตร์เข้ากับเครื่องมือในด้านการจัดการต่าง ๆ โดยมี

        หลักการที่สำคัญ  ดังนี้

          แผนที่เชิงยุทธศาสตร์ประกอบไปด้วยเป้าประสงค์ ที่หน่วยงานต้องการที่จะบรรลุ โดยเป้าประสงค์เหล่านี้เป็นเป้าประสงค์ที่ถูกสะท้อนภาพมาจากประเด็นยุทธศาสตร์ของแต่ละหน่วยงาน โดยเป็นการครอบคลุมทั้งสี่มิติในการปฏิบัติราชการ (ประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์ คุณภาพการให้บริการ ประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และการพัฒนาองค์กร) อีกทั้งเป้าประสงค์แต่ละประการยังมีความเชื่อมโยงในลักษณะของเหตุและผล (cause and effect relationship)  ที่จะช่วยให้หน่วยงานสามารถมั่นใจได้ว่าถ้าสามารถบรรลุเป้าประสงค์ แต่ละประการแล้วจะนำไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์สูงสุด นั่นคือ เป้าประสงค์ที่เป็นประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์ ดังนั้นเมื่อสามารถจัดทำแผนที่เชิงยุทธศาสตร์ได้แล้ว หน่วยงานราชการต่าง ๆ ย่อมสามารถที่จะ

            วิเคราะห์และกำหนด ความเสี่ยง ที่จะทำให้เป้าประสงค์แต่ละประการไม่บรรลุ เนื่องจากความเสี่ยงที่สำคัญคือ ความเสี่ยงที่จะทำให้ไม่บรรลุเป้าประสงค์ทางยุทธศาสตร์ ดังนั้นการเขียนแผนที่ทางยุทธศาสตร์ขึ้นมาก่อนจึงเปรียบเสมืนการกำหนดกรอบในการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์

            วิเคราะห์และกำหนดความรู้ ที่ต้องใช้ที่ทำให้บรรลุเป้าประสงค์ ดังนั้นการทำให้เป้าประสงค์สำเร็จจำเป็นต้องมีความรู้ที่จำเป็น ในแต่ละประเด็น จากนั้นพิจารณาถึงความมีและไม่มี ถ้าไม่มีหน่วยงานต้องกำหนดยุทธศาสตร์ในการแสวงหาหรือพัฒนาความรู้ดังกล่าว                

                                                  

            วิเคราะห์และกำหนดสมรรถนะ คุณลักษณะ (competencies) ที่จำเป็นสำหรับบุคลากรในด้านต่าง ๆ ในการทำให้เป้าประสงค์แต่ละตัวสำเร็จ  โดยเป้าประสงค์แต่ละข้อจะต้องมีการกำหนดกลุ่มงานหรือสายงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าประสงค์นั้นและจะต้องสามารถกำหนดคุณลักษณะอันเป็นที่ต้องการของกลุ่มงานหรือสายงาน

           ภายใต้เป้าประสงค์แต่ละประการจะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (key performance indicators: KPIs) และต้องแปลงจากระดับองค์กร ไปสู่หน่วยงาน และสุดท้ายระดับบุคคล เพื่อจะทำให้เกิดความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ในลักษณะทั่วทั้งองค์กร (alignment) อีกทั้งเกิดความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของบุคลากรแต่ละคนต่อการนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ(accountability) เมื่อกำหนดตัวชี้วัดสำหรับเป้าประสงค์แล้ว หน่วยงานต้องกำหนดค่าเป้าหมาย (target) ที่ต้องการจะไปถึง รวมทั้งโครงการต่าง ๆ ที่จะทำให้บรรลุค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด ซึ่งการกำหนดเป็นขั้น ๆ ลักษณะนี้ จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความเชื่อมโยงตั้งแต่ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด โครงการ รวมไปถึงงบประมาณต่าง ๆ อีกสามารถมั่นใจได้ว่าโครงการนั้นจะมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน

                                  

                  หายปวดหัวเร็ว ๆ นะ          

         ---------------

 

ศึกษาเพิ่มที่ ก.พ.ร  นะค่ะ strategy map

 

หมายเลขบันทึก: 184001เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2008 23:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับคุณเพชรน้อย

       ได้ทบทวนอีกหนึ่งวิชาครับ...ดีจัง...เอาอีกครับ...อิอิ

                                                ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

ตามมาเพิ่มพูนความรู้ครับ

สวัสดีค่ะ

- ขอบคุณทุกท่าน มากค่ะ ช่วงนี้ฟ้าผ่า คอมพิวเตอร์พัง ใช้ไม่ได้เลยค่ะ---

ตามมาดูบูรณาการ มาให้กำลังใจด้วยครับผม

ขอบคุณค่ะท่าน อาจารย์ขจิต

ขอ ก๊อป ไปให้ความรู้ในโรงงานหน่อยนะครับ..คุณพยาบาลคนเก่ง

สวัสดีค่ะ

- ขอบคุณค่ะ ที่ร่วมแลกเปลี่ยน การทำยุทธศาสตร์ บางท่านคิดว่าเป็นเรื่องปวดหัว แต่บางคน ว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ท้าทาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท