เลี้ยงลูกให้เก่ง ดี มีมนุษยสัมพันธ์ ด้วย S.Q.


ี ความฉลาดทางสังคม ( Social quotient ) คือการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่น

 

                                             เลี้ยงลูกให้เก่ง ดี มีมนุษยสัมพันธ์ ด้วย S.Q.

 

                                                        .. กมล แสงทองศรีกมล

                                                        กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

เคยคิดไหมครับว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้คนเราประสพความสำเร็จในชีวิต เชื่อว่าหนึ่งในปัจจัยนั้นคือเรื่องของการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งก็คือความฉลาดทางสังคม ( Social quotient ) หรือ S.Q. นั่นเองครับ S.Q. ยังรวมไปถึงการมีบุคลิกภาพดี ยิ้มแย้มแจ่มใส หรือแม้แต่การสบตา ( eye contact ) ขณะพูดคุยกับผู้อื่น S.Q.นั้นจำเป็นสำหรับเกือบทุกสาขาอาชีพครับ เคยสังเกตไหมครับว่าทำไมศิลปิน นักร้อง นักแสดงบางคนประสพความสำเร็จ ทำไมบางคนไม่ ครั้งหนึ่งผู้จัดการศิลปิน ( entertainer manager) ของบริษัทแกรมมี่ ซึ่งมีหน้าที่คัดเลือกศิลปินนักร้องนักแสดงเคยให้สัมภาษณ์นิตยสารเล่มหนึ่ง บอกว่าเราต้องการ "นักเล่าเรื่อง" ที่เก่ง คำว่า"นักเล่าเรื่อง" ก็หมายถึงคนที่มีสามารถในการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของเพลงไปสู่ผู้ฟังนั่นเอง ยกตัวอย่างคุณเบิร์ด ธงชัย แมคอินไตย์ อาจไม่ใช่นักร้องที่เสียงดีที่สุดแต่เป็นนักร้องที่ประสพความสำเร็จมากโดยเฉพาะบนเวทีคอนเสิร์ต จะเห็นว่าเขามีทักษะที่สูงมากในการสื่อสารถ่ายทอดอารมณ์ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนดู คุณเบิร์ดเคยให้สัมภาษณ์ว่าเวลาแสดงอยู่บนเวทีคอนเสิร์ต " เบิร์ดจะมองทุกๆคน " นั่นคือให้ความสำคัญกับการสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์ด้วยการการสบตา ( eye contact ) กับทุกคนไม่ว่าจะอยู่ชั้น1หรือชั้น2 ชั้น3 คนดูที่อยู่ซ้ายสุดหรือขวาสุดของเวที มีศิลปินนักร้องลูกทุ่งอีกคนที่ประสพความสำเร็จมากในอดีตคือคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์ เวลาร้องเพลงจะมีการทอดสายตา แสดงอารมณ์ความรู้สึกบนใบหน้าไปตามอารมณ์ของเพลง ไม่ว่าจะเป็นเพลงสนุกหรือเพลงเศร้าได้อย่างดีเยี่ยม มีคนบอกว่า เพลงตั๊กแตนผูกโบว์นั้น เนื้อหา ทำนองเหมือนไม่มีอะไรเลย แต่พอเป็นคุณพุ่มพวงร้องก็กลับดีและสนุก จะเห็นว่าอาชีพอื่นๆเช่นนักการเมืองก็ต้องอาศัย S.Q. ในการหาเสียงบนเวทีหรืออภิปรายในสภา ผู้บริหารที่เก่งก็ต้องใช้ S.Q. กับพนักงาน ผลการเรียนแพทย์ที่ดีอาจใช้ I.Q. แต่การประสบความสำเร็จ เป็นหมอที่คนไข้ติด ก็ต้องใช้ S.Q ครูที่สอนเก่งและสนุกก็ต้องใช้ S.Q. สอนนักเรียน ปัจจุบันนี้เวลารับสมัครงานเริ่มมีการให้ความสำคัญกับความฉลาดทางสติปัญญา ( Intelligence quotient, I.Q. ) เช่นผลการเรียนน้อยลง แต่เริ่มพิจารณาถึงความฉลาดทางสังคม ( Social quotient , S.Q. ) มากขึ้นเรื่อยๆครับ

 

ที่มาของ S.Q.

ที่มาของ S.Q. นั้นน่าสนใจมากครับคือมาจากการศึกษาวิจัยในห้องเรียน โดยให้เด็กนักเรียนมัธยมลองคัดเลือกเพื่อนร่วมชั้นที่คิดว่ามนุษยสัมพันธ์ดีที่สุด น่าคบที่สุด เพื่อนที่ทุกคนรักมากที่สุด โดยแต่ละคนจะลงคะแนนหรือโหวตชื่อเพื่อนทั้งหมด 5 ลำดับ ปรากฏว่าเพื่อนคนที่ได้คะแนนสูงสุดมักจะเป็นคนที่มีทักษะที่ดีในการติดต่อสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ( Good interpersonal skills ) ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ

- ยิ้มเก่ง ( smiling a lot )

- มองโลกในแง่ดี ( positive attitude )

- ดูมีความสุข ( general happiness. )

( พูดถึงคนที่ดูมีความสุข และมีคนชอบมากๆ ก็ลองนึกถึงคุณโนส อุดมนะครับ )

 

S.Q. หนึ่งในปัจจัยความสำเร็จ

ว่ากันว่าปัจจัยของความสำเร็จของคนเรานั้น 1/3 มาจากความฉลาดทางสติปัญญา ( I.Q.) อีก2/3 มาจาก ความฉลาดทางอารมณ์ ( E.Q. ) ซึ่งใน E.Q. นี้ แบ่งย่อยออกไปอีกเป็น1/3 คือ S.Q. อีก1/3 คือการมีจุดมุ่งหมายและสนใจในงานที่ทำ (ambition ) แท้ที่จริงแล้ว S.Q. ก็เป็นส่วนหนึ่งของ E.Q. นั่นเองครับ ดังนั้นทักษะทางสังคม (social skills ) จึงคิดเป็น 1/3 ของความสำเร็จเลยทีเดียว มีการศึกษาวิจัยบางอันพบว่านักเรียนเกรด C คือคนที่ผลการเรียนไม่ดีนัก กลับทำเงินได้มากกว่า และเป็นผู้จัดการของนักเรียนเกรด A คือคนเคยเรียนเก่งๆ กล่าวคือผลการเรียนและคะแนนที่ดีนั้นอาจนำไปสู่งานที่ได้เงินมากกว่าในตอนแรกเท่านั้น และนั่นก็เป็นเพียงแค่ 1/3 ของความสำเร็จ แต่ถ้าคนเราควบคุม 2/3 ของความสำเร็จ ( social skills and ambition. ) ได้ก็จะประสพความสำเร็จได้ไม่ยาก นอกจากนี้คนเรายังไม่สามารถเปลื่ยนแปลง I.Q. คือระดับสติปัญญาของตัวเองได้ ( out of control ) แต่เราสามารถเสริมสร้าง S.Q. และความสนใจในงานได้ของตัวเราเองได้ครับ

 

การสมัครงานกับ S.Q.

การรับสมัครงานยุคปัจจุบันนี้ให้ความสำคัญกับความฉลาดทางสังคม ( S.Q. ) มากขึ้นเช่นการมีมนุษยสัมพันธ์ ยิ้มแย้มแจ่มใส บุคลิกภาพดี หรือแม้แต่การสบตา ( eye contact ) ขณะพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่ง S.Q. ยังรวมถึงทักษะด้านอื่นๆ เช่น ความตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีต่อองค์กร ความสามารถในการสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง ( self-motivated) ซึ่งล้วนแล้วแต่มีผลต่อการทำงานทั้งสิ้นครับ

เราลองมาดูการจัดอันดับความสำคัญ ( rating ) ของการพิจารณาจ้างงานและรับบุคคลเข้าทำงานในองค์กร

โดยคะแนน 3 หมายถึงมีสำคัญมาก , คะแนน1 มีสำคัญน้อย พบว่า

การตรงต่อเวลา ( Punctuality) = 3.00

ความซื่อสัตย์ สุจริต (Honesty) = 3.00

ความยิ้มแย้มแจ่มใส (Smile)* = 2.60

บุคลิกภาพ (Personable )* = 2.71

การแต่งกาย (Appearance )* = 2.67

ทักษะในการพูดจา (Verbal skills ) = 2.62

การสบตา (Eye contact )* = 2.60

ความสามารถสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง (Self-motivate)* = 2.57

คะแนนจากการศึกษา (Grade Point ) = 1.79

ประสบการณ์ (Experience) = 1.38

 

จะเห็นว่ามีหลายข้อที่เป็นเรื่องของ S.Q. ( * = S.Q. score )

 

จงรักงานที่ตัวเองทำ

การมีจุดมุ่งหมายและสนใจในงาน ( Ambition or self-skills) มีสำคัญมากต่อความสำเร็จของการทำงานครับ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็ตรงกับฉันทะและจิตตะในอิทธิบาทสี่ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ก่อนแล้วนั่นเอง การมีจุดมุ่งหมายและสนใจในงานที่ทำนั้นเป็นผลจาก

- ความซื่อสัตย์ สุจริต ( honesty)

- ความสามารถในการปรับตัว ( adaptability)

- ความเป็นคนตรงไปตรงมา ( punctuality )

 

การมีจุดมุ่งหมายและสนใจในงานที่ทำนั้นมีความสัมพันธ์กับความสนใจ และรักในงานที่ทำ ( Love career )

Bill Gate เรียนไม่จบปริญญาตรีแต่ด้วยความรักและสนใจในการเขียนโปรแกรม ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ยังเป็นเด็กวัยรุ่น โดยโปรแกรมแรกที่เขาหัดเขียนก็คือโปรแกรมเกมส์นั่นเองครับ ทุกวันนี้เขาประสพความสำเร็จทางธุรกิจระดับโลกก็เพราะรักและทุ่มเทในงานที่ทำ คุณสรยุทธ์เคยบอกว่าข่าวคือชีวิต ไม่ใช่งาน เขาสนใจและชอบอ่านข่าวมาแต่เด็ก คุณหมึกแดงก็รักการทำอาหาร เวลาทำรายการอาหารก็ทำด้วยความสุข

 

ปัจจัยความสำเร็จของลูกหลานของเรานั้นนอกจากจะขึ้นกับสติปัญญา ผลการเรียนแล้วยังขึ้นกับทักษะทางสังคมที่ดี การมีมนุษยสัมพันธ์และความรักในงานที่ทำด้วย มาช่วยกันเป็นแบบอย่างและส่งเสริมให้ลูกหลานมีสิ่งดีๆหล่านี้เพื่อความสำเร็จในอนาคตกันเถอะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 184898เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2008 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากให้อาจารย์ช่วยกรุณาแนะนำเทคนิคการพัฒนาSQด้วยคะทั้งเด็กและผู้ใหญ่

ขอความกรุณาอาจารย์ แนะนำกิจกรรมที่จะตรวจสอบ SQ ของผู้เข้าร่วมสัมมนา โดยเน้นกิจกรรมกลางแจ้ง ให้ทุกคนสามารถสะท้อน SQ ว่ามีความสำคัญในการทำงานเป็นทีมอย่างไร

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

เนื้อหาดีจิงๆ

อ่านแล้วรุ้เรื่องจัง

555+

*.*

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • หนังสือดีที่คุณหมอได้มอบให้  พี่ครูคิมได้นำมาพัฒนาตนเอง พัฒนาเด็กนักเรียนและคนรอบข้างด้วยค่ะ
  • ทุกคนพยายามที่จะเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้วน S.Q ของตนเอง
  • สำหรับพี่คิมก็ได้พัฒนาตัวตนมากขึ้นค่ะ
  • กราบขอบพระคุณคุณหมออีกครั้งหนึ่งค่ะ

ส่งไปนึกว่าพี่ครูคิมไม่ได้อ่านเสียอีก

ขอบคุณครับที่เห็นว่าพอเป็นประโยชน์

แอบติดตามอ่าน blog ของพี่ครูคิมตลอดครับ ชอบเรื่องไปเก็บมะขามมาก เรียกในblog น่าจะพิมพ์รวมเล่มเป็นหนังสือได้

นะครับ

หมอกมล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท