การบริหารความเสี่ยงและกำกับติดตามงานในองค์กร


องค์กร ควรมีปฏิทินอย่างชัดเจนว่า ในการประชุมเดือนใด จะมีการติดตามงานในเรื่องใดบ้าง กำหนดไว้เป็นรายปี ผู้เกี่ยวข้องต้องเตรียมความพร้อมและรายงานความก้าวหน้า ตามปฏิทิน เป็นระยะ ๆ

วันที่ 29 พ.ค.2551 ได้ไปร่วมประชุมจัดทำแผนการพัฒนาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์(คณะศึกษาศาสตร์) ณ โรงแรมหัวหิน บีช รีสอร์ท อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในที่ประชุมได้มีการพูดถึง Comment ของ สมศ.ในการประเมินมหาวิทยาลัย รอบแรก(ปี 2547) โดยในครั้งนั้น คณะผู้ประเมินได้เสนอสิ่งที่ควรปรับปรุงประการหนึ่ง คือ ในเรื่อง การกำกับติดตามงาน และการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ควรมีการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ คำถามที่เกิดขึ้นในที่ประชุม คือ เราควรทำโครงการอะไร ที่สะท้อนว่าเราได้พยายามพัฒนาตามข้อเสนอของ สมศ. ผมได้เสนอว่า อาจไม่จำเป็นต้องร่างเป็นโครงการก็ได้กระมัง สิ่งที่จะสะท้อนว่าเราได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง อาจออกมาในรูปของ “ปฏิทินการบริหารจัดการความเสี่ยงและการกำกับติดตามงานของสาขาวิชา” โดยมีการวิเคราะห์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบงานขององค์กร แล้วมีปฏิทินการกำกับ ติดตาม หรือกิจกรรมเพื่อลดปัญหา ในลักษณะของปฏิทินการกำกับติดตามงานตลอดปี

เราควรเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ปัญหา เช่น

 

ประเด็นปัญหา/ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

มิถุนายน

       -ชุดวิชา ไม่แล้วเสร็จ

       -การส่งชุดวิชาให้นักศึกษาล่าช้า ไม่ทั่วถึง

       -นักศึกษาลืมลงทะเบียน

       -นักศึกษาไม่มีเงินลงทะเบียน

       -แผนการสัมมนาเสริม สัมมนาเข้ม ไม่เรียบร้อย

         ฯลฯ

กรกฎาคม

       -

       -

       -   

       หลังจากวิเคราะห์ปัญหา หรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ แล้ว คณะ ควรจัดทำปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง/การกำกับติดตามงาน

     ปฏิทินการกำกับติดตามงาน

พฤษภาคม

    1-7 พ.ค. 51 เวียนแจ้งทุกภาควิชา สำรวจรายการ ชุดวิชาที่จะเปิดในภาคเรียนที่ 1   พร้อมให้จัดทำรายงานสรุปสภาพความพร้อมในด้าน เอกสารประมวลสาระ และแผนกิจกรรมชุดวิชา

    8-15 พ.ค.51 จัดประชุมหัวหน้าภาควิชา เพื่อรายงานสภาพความพร้อมของชุดวิชา และการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1

       ฯลฯ

หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือ ในวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ(คณะกรรมการประจำสาขาวิชาฯ) ควรมีวาระ การกำกับติดตามงาน/เตรียมความพร้อมของงาน โดย มีการระบุเป็นปฏิทินอย่างชัดเจนว่า ในการประชุมเดือนใด จะมีการติดตามในเรื่องใดบ้าง กำหนดไว้เป็นรายปี ทุกภาควิชาต้องทราบล่วงหน้า ตลอดปี จะได้เตรียมความพร้อมและ เตรียมรายงานความก้าวหน้าในการเตรียมงาน  วาระ “กำกับติดตามงาน” น่าจะเป็นวาระต่อเนื่องจาก เรื่องแจ้งเพื่อทราบ(ปัจจุบัน วาระแบบนี้ มักจะไม่มีในการประชุม อาจมีบ้างก็เป็นเรื่องแทรกในวาระอื่น ๆ)

ถ้าองค์กร ได้ทำการวิเคราะห์ปัญหา/ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการบริหารงานขององค์กร ตลอดปี แล้ว จัดทำเป็นวาระติดตามงานตามปกติไว้ในวาระการประชุม เป็นรายปี หลังจากนั้น มีการรายงานความก้าวหน้าของงาน เป็นระยะ ๆ ซึ่งจะปรากฏในรายงานการประชุมประจำเดือน....แค่นี้ ก็น่าจะเป็นหลักฐานชัดเจนแล้วว่า “องค์กรของเรามีการวิเคราะห์ความเสี่ยง มีการบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยง และมีการกำกับติดตามงานอย่างต่อเนื่อง”....แค่นี้ สมศ.ก็ไว้วางใจเราแล้วละครับ...แต่ สมศ.ไว้วางใจก็ไม่สำคัญเท่ากับ  “งานของเราเป็นไปอย่างราบรื่น ไร้ปัญหา คุณภาพงานเป็นเลิศ มีความพร้อมตลอดเวลา เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาหรือผู้รับบริการ อย่างแท้จริง”

 

......ผมคิดว่า ถึงเวลาที่เราจะต้อง วิจัยและพัฒนาระบบหรือรูปแบบการบริหารการประชุมที่มีประสิทธิภาพ  เพราะในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา เรามักจะติดอยู่กับประเพณีปฏิบัติ(Traditional Approach) และเสียเวลาอย่างมากในการประชุมแบบเยิ่นเย้อ ยิ่งการประชุมทีมบริหารที่อาวุโสและเงินเดือนสูง ค่าตัวแต่ละคน นาทีละ 40 บาท เป็นอย่างต่ำ ถ้าคนเข้าประชุม 40 คน เราสูญเสียค่าเสียโอกาส นาทีละ 1600 บาท หรือ ชั้วโมงละ 96,000 บาท(เกือบแสนบาทน่ะ) หากประชุมแบบไร้ข้อสรุป ไร้ประสิทธิภาพ  องค์กรและประเทศจะเป็นอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 185252เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2008 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีครับอาจารย์ดร.สุพักตร์

              ขออนุญาตนำไปปรับใช้ในงานครับผม...อ่านแล้วเข้าใจง่ายครับ

                                             ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ นายช่างใหญ่

  • ขอบคุณครับ ที่ติดตาม
  • เรื่องการบริหารความเสี่ยง เป็นเรื่องใหญ่ ในการทำงานยุคนี้นะครับ เราไม่ควรปล่อยให้เกิดปัญหา แล้วค่อยแก้(แบบวัวหาย แล้วล้อมคอก) เราต้องมีปฏิทินการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เป็นการล่วงหน้าเสมอ เพื่อลดโอกาสในการสูญเสีย ในทุกกรณี

แวะมาเรียนรู้ครับ...ผมเป็นลูกศิษย์อบรมวิจัยกับอาจารย์บ่อยๆ...หนังสือของอาจารย์อยู่ที่ผมหลายเล่ม...มีประโยชน์มากครับ..ขอบคุณ..อนุโมทนา..ในวิทยาทานครับ

สวัสดีครับ ครูพิสูจน์

  • ขอบคุณครับที่เข้ามาติดตาม
  • ผมติดตาม ชื่นชมท่าน การทุ่มเทของท่านต่อลูกศิษย์ และผลงานของท่านบ่อยครั้งมาก ครับ โดยอ่าน ผ่าน G2K
  • หรือสึกภูมิใจและขอชื่นชมท่านอาจารย์ ด้วยความจริงใจครับ

* วันนี้ได้เทคนิค/แนวทางการกำกับติดตามโดยมีการวิเคราะห์ปัญหา/ความเสี่ยง เพื่อเฝ้าระวังตลอดแนว น่าจะเป็นตัวช่วยในการแก้ปัญหาเรื่อง check กับ act ในวงจร PDCAได้เป็นอย่างดี  ขอบคุณครับ
* เมื่อปีที่แล้วผมได้คุยกับ ผอ.สุวรรณ ร.ร.สตรีนนทบุรี และทีมงานบริหาร ตอนทำแผน "ผู้นำการเปลี่ยนแปลง" ผมเสนอแนะว่า ผู้บริหารน่าจะมีโครงการของตนเองสักโครงการหนึ่งคือ "การเฝ้าระวังติดตาม" ปรากฎว่าที่โรงเรียนนี้เกิดขึ้นแล้ว  โดย ผอ.มีแผนและปฎิทินร่วมกับทีมผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระ และฝ่ายแผน(กรรมการกำกับติดตาม) ทุกวันพฤหับบดีจะจัดตารางว่างตรงกัน  มานั่งคุยกันที่ห้องวิทยบริการอย่างไม่เป็นทางการ คล้ายกับกินกาแฟ หรือ AAR คุยเรื่องการทำงานในรอบสัปดาห์กัน ในที่สุดปัจจัยเสี่ยงก็ถูกนำมาเปิดเผย และร่วมกันหาทางแก้และเตรียมรับมือ พร้อมทั้งเกิดตัวช่วยขึ้นมา  บางโครงการเมื่อคุยกันก็เกิดเห็นพ้องตัองกันที่จะปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้ดีขึ้นก็มี 
     วันนี้ผมไปบรรยายให้ที่โรงเรียนนี้  ท่าน ผอ.สุวรรณ บอกกับผมว่า  ยังทำต่อเนื่อง แต่ย้ายเวลาเป็นภาคบ่ายวันพฤหัสบดีครับ

สวัสดีครับ อ.ธเนศ

  • รู้สึกว่า ช่องทาง G2K นี้ น่าจะเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนหรือพบปะระหว่างผมกับ อ.ธเนศ ได้เป็นอย่างดี แบบรายวันเลยทีเดียว เป็นการประชุมกาแฟไปในตัว(ต่างคนต่างนั่งจิบกาแฟที่บ้านตนเอง วันหลังค่อยนัดเจอกัน แล้วจิบกาแฟ "ภาคพื้นดิน" นะครับ)
  • ถ้าสตรีนนท์ทำตามแนวนี้ ก็น่าจะเป็น Best Practice ในเรื่องการกำกับติดตามงานได้เป็นอย่างดร ยิ่งถ้ามี List รายการสิ่งที่ต้องกำกับติดตาม หรือกระตุ้นในแต่ละรอบสัปดาห์ แต่ละเดือน เป็นรายภาคเรียนและรายปี อย่างชัดเจน ไว้ล่วงหน้า ก็จะดียิ่ง โดยจะต้องประชาสัมพันธ์ ให้ หัวหน้ากลุ่มสาระและครูทราบด้วยว่า ในเดือนนั้น ๆ รายการสำคัญ ๆ ที่จะถูกติดตาม หรือกระตุ้น คืออะไรบ้าง(จะได้ทำงานให้อัฟเดท โดยไม่ผิดพลาด หรือล่าช้า)

ขอบคุณครับ ผมเคยฟังอาจารย์ที่ สถาบันพัฒนาผู้บริหาร ฯ วัดไร่ขิง รู้สึกประทับใจ ในการแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อื่นเพื่อเป็นวิทยาทาน และที่ปรึกษาให้ด้วย  ขอบคุณมากครับ

  • ขอบคุณ คุณประถม มากครับ ที่ติดตาม
  • คงจะมีโอกาสได้เจอกันอีกนะครับ

สวัสดีคะอาจารย์

  • มาราตรีสวัสดิ์คะ
  • ได้ข้อคิดดีๆ คะ บางครั้งการพัฒนางานเราไม่จำเป็นที่จะต้องคิด ใหญ่ๆ ตามแนวกระแส ขอมองให้ออกว่าเรากำลังทำอะไร เพื่ออะไร คนได้ผลประโยชน์ที่แท้จริง เป็น ผู้รับบริการหรือไม่
  • ขอบคุณมากคะ

สวัสดีครับ คุณก้ามปู

  • ครับ...ราตรีสวัสดิ์ ครับ(คนละคืนกัน)
  • ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยม
  • ตอนนี้ ผมขายความคิด ให้ทุกองค์กรวิเคราะห์ความเสี่ยงของงานในแต่ละรอบเดือน เรียกว่า ปฏิทินความเสี่ยง     เป็นการคิดแบบ "มีภูมิต้านทาน" ครับ
ครูปรียาภรณ์ แก้วน่วม

สวัสดีค่ะอาจารย์ วันนี้อาจารย์มาบรรยายที่ โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี ได้รับความรู้อย่างมากเลยค่ะ อาจารย์บรรยายสนุกมาก ไม่ง่วงเลย รู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วมาก ...

ครูปรียาภรณ์ แก้วน่วม

ถ้ามีโอกาส อาจารย์คงได้มาเติมเต็ม การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกนะคะ

ครูปรียาภรณ์

  • ขอบคุณครับอาจารย์ จะแวะมาเยี่ยมครับ หากมีโอกาส

 

ครูมีลูกศิษกี่คน หนูขอสมัคเป็นลูกศิษครูได้เปล่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท