Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

พระศากยมุนีพุทธเจ้า : บทที่ 10 อุปสรรคที่มนุษยชาติต้องเผชิญ ตอนที่ 1


สรรพสิ่งเป็นเช่นนั้นเอง

   เป็นการยากที่ประชาชนจะมีสัมมาทิฐิ  เนื่องจากพวกเขาต้องประสบกับอุปสรรคในชีวิต 20 ชนิด  ได้แก่

      1.      เป็นการยากที่จะให้ทานเมื่อเป็นคนจน

2.      เป็นการยากที่จะเรียนรู้อริยมรรคในเมื่อเป็นผู้มีอำนาจและความมั่งคั่ง

3.      เป็นการยากที่จะสละชีวิต(เพื่อบำเพ็ญบารมี) ทั้งที่ในความเป็นจริง  ความตายเป็นของแน่นอน

4.      เป็นการยากที่จะได้สดับพระสูตรทางพระพุทธศาสนา

5.      เป็นการยากที่จะเป็นผู้เกิดในยุคสมัยของพระพุทธเจ้า

6.      เป็นการยากที่จะอดทนต้านทานต่อความกามราคะและตัณหา

7.      เป็นการยากที่จะพบสิ่งที่ดีแล้วไม่แสวงหามันต่อ

8.      เป็นการยากที่จะเป็นผู้สันโดษและไม่กลับมาหิวโหย

9.      เป็นการยากที่จะเมื่อมีอำนาจแล้วจะไม่ใช้มันในทางที่ผิด

10.  เป็นการยากที่จะมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ แล้วมาปล่อยวางเสียได้(ไม่คิดเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ)

11.  เป็นการยากที่จะเป็นผู้เรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้งและเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง

12.  เป็นการยากที่จะหลุดพ้นจากความพึงพอใจในอัตตา

13.  เป็นการยากที่จะไม่ดูแคลนเหล่าสัตว์ผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษา

14.  เป็นการยากที่จะฝึกจิตใจให้เป็นสมาธิ

15.  เป็นการยากที่จะไม่พูดจาซุบซิบนินทากัน

16.  เป็นการยากที่จะพบผู้ชี้นำที่รู้จริง(กัลยาณมิตร)

17.  เป็นการยากที่จะหยั่งเห็นธรรมชาติภายในของตนเองและศึกษาอริยมรรค

18.  เป็นการยากที่จะปรับเปลี่ยนตนเองในวิถีทางทั้งหลายซึ่งเหมาะสมสำหรับการขนเหล่าสัตว์ให้บรรลุธรรม(ตรัสรู้)

19.  เป็นการยากที่จะเข้าถึงสภาวะนั้นแล้วไม่เป็นผู้เคลื่อนออกจากสภาวะนั้น

20.  เป็นการยากที่จะมีสัมมาทิฐิเกี่ยวกับปฏิปทาในวิถีทางทั้งหลาย

 

            ที่สำคัญเป็นการยากที่บุคคลคนหนึ่งจะออกจากเรือน ไม่มีใครต้องการที่จะออกจากเรือน  บุคคลจักต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของตนเสียก่อน  เมื่อบุคคลออกจากชีวิตฆราวาสแล้ว  นั่นหมายถึงว่าเขาได้มอบถวายกายและมอบถวายใจ มอบถวายความเป็นปกติและชีวิตของตนแด่พระรัตนตรัยแล้ว  เขาย่อมเข้าถึงโพธิมณฑล คือ สถานที่แห่งอริยมรรค  และน้อมตนเข้าใกล้พระรัตนตรัย

            การออกจากเรือนสื่อนัยว่า มิใช่จะเป็นเพียงการออกบวชสละบ้านเรือนซึ่งเป็นบ้านเรือนแบบโลก ๆ ของบุคคลเท่านั้น  แต่ยังหมายถึงการที่บุคคลกำลังออกจากอาณาจักร 3 ประการ  คือ อาณาจักแห่งกามตัณหา  อาณาจักรแห่งภวตัณหา และอาณาจักรแห่งวิภวตัณหา   ในที่สุดแล้ว  การออกจากเรือนก็คือ การออกจากเรือนแห่งความทุกข์ทรมาน  จิตใจของบุคคลจักต้องมีความมุ่งมั่นโดยสมบูรณ์ต่อโพธิคือ การตรัสรู้

            เหล่าชนซึ่งออกจากเรือน ก่อให้เกิดรัตนะประการที่สามที่สำคัญ ได้แก่ สังฆะ  สมาชิกของสังฆะก็คือ ภิกษุทั้งหลายนั่นเอง  พวกเขาอาศัยอยู่ในวิถีชีวิตที่มักน้อยและมัธยัสถ์  โดยปกติมีอาหารเพียงวันละมื้อ ฉันก่อนเที่ยงวัน  สิ่งที่พวกเขาครอบครองอันน้อยนิด ประกอบด้วยผ้า 3 ผืน  รองเท้าแตะทำด้วยฟางข้าวหรือผ้าและบาตรเท่านั้น   พวกเขาโกนผมจนโล้น  นุ่งห่มจีวรสีเหลืองและมีลูกประคำสำหรับไว้สวดมนต์  เมื่อไรก็ตามที่เราพบเห็นบุคคลซึ่งมีการแต่งกายลักษณะเช่นนี้ เราจะต้องแสดงออกถึงความเคารพนับถือที่เหมาะสมเนื่องจากท่านเป็นเครื่องหมายแห่งรัตนะที่ 3  ของเหล่าพุทธศาสนิกชน  อย่างไรก็ตามมิได้หมายถึงใครบางคนที่แต่งตัวเป็นภิกษุเช่นนี้เหมือนอย่างเรื่องตัวอย่างที่มีในนิทานสุภาษิตเรื่องมะม่วง 4  ผล

 

นิทานสุภาษิตเรื่อง มะม่วง 4  ผล

            โดยทั่วไปแล้วมะม่วงพันธุ์ต่าง ๆ นั้นสามารถจำแนกเป็น 4 ชนิด ซึ่งเราสามารถหาซื้อได้จากตลาด 

            ชนิดแรกเป็นมะม่วงเขียว  ที่เป็นทางสีเขียวและเนื้อในไม่สุก  

            ชนิดที่สองเป็นมะม่วงเหลือง ที่ข้างในเป็นสุกเหลืองแต่เปรี้ยว 

            ชนิดที่สามเป็นมะม่วง  ที่ข้างนอกเขียวแต่ข้างในเหลืองและมีรสชาติหวานอย่างยิ่งเมื่อได้ลิ้มลอง

            และชนิดสุดท้ายเป็นชนิดที่ข้างนอกเหลืองด้วย ข้างในก็สุกเหลืองด้วย รสชาติก็หวานด้วยเมื่อได้ลิ้มลอง 

            พระภิกษุสามารถเปรียบเทียบได้กับมะม่วง 4 ชนิดเหล่านี้  

            ชนิดแรกของมะม่วง  เปรียบได้กับพระสงฆ์ผู้ยังเป็นสามเณร  ท่านเหล่านั้นมีประสบการณ์น้อยและยังหนุ่ม  

            ชนิดที่สองของมะม่วง  เปรียบได้กับเหล่าภิกษุผู้ไม่ปฏิบัติตามพระวินัยและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นโลกียวิสัย และดำเนินชีวิตด้วยการค้าขายเลี้ยงชีพ

            ชนิดที่สามของมะม่วง  เปรียบได้กับเหล่าภิกษุผู้ซึ่งมีปกติเกียจคร้านและให้ความสนใจกับความเกียจคร้านและการเดินเตร่ไปวัน ๆ และใช้เวลาส่วนมากกับการนอน    ภิกษุเหล่านี้ปฏิบัติตามกติกาของพวกเขาเองในวิถีทางที่เป็นไปนอกคำสอนและหมกมุ่นอย่างแรงกล้าที่จะสร้างเหตุเช่นนี้

            ชนิดที่สี่ของมะม่วง  เปรียบได้กับเหล่าภิกษุผู้ปฏิบัติตามพระวินัยอย่างถูกต้องและเคร่งครัด 

            ท่านเหล่านั้นดำเนินวิถีชีวิตตามทางแห่งอริยมรรคและเป็นแบบอย่างของผู้ปฏิบัติตามทั้งหลาย  อย่างไรก็ตาม แม้พระสงฆ์จะมีศีรษะโล้นและนุ่งห่มด้วยจีวรสีเหลือง  แต่คนที่มีศีรษะโล้นซึ่งนุ่งห่มจีวรสีเหลืองอาจจะไม่ใช่ภิกษุทั้งหมดก็ได้  ทั้งนี้พวกเขาจะเป็นพระสงฆ์หรือเป็นอย่างอื่นกันนั้น  เมื่อไรที่เราประสบกับบุคคลเช่นนั้น มีการแต่งกายเช่นนั้น เราจะต้องแสดงความนอบน้อมต่อท่าน  การแสดงความนอบน้อมเช่นนั้นเป็นการสื่อถึงเครื่องนุ่มห่มซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนหมู่สงฆ์  มากกว่าที่จะสื่อถึงตัวบุคคลซึ่งประดับตกแต่งตนเช่นนั้น

            ในสมัยอดีตอันยาวนาน  คนทั้งหลายออกจากเรือนด้วยเหตุผลหลากหลาย  บางคนพบว่ามันเป็นการยากที่จะได้อาหาร  เครื่องนุ่งห่มและที่พักอาศัย  พวกเขาจึงสังเกตว่า คนที่ออกจากเรือนล้วนเป็นผู้ได้รับการบำรุงเลี้ยงดูอย่างดี ด้วยเหตุดังนั้น พวกเขาจึงออกจากเรือนบ้าง ในที่สุดพวกเขาจึงได้รับการบำรุงเลี้ยงดูเหมือนกันนั้น   มีเครื่องนุ่งห่มใส่ และมีที่พักอาศัย  อีกอย่างหนึ่ง  พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีครอบครัว พวกเขาจึงคิดว่า ฉันจะได้มีบ้านและมีลูกศิษย์หนุ่ม ๆ ไว้ดูแลในยามที่แก่ชราได้  มีคนอีกบางจำพวกที่ออกจากเรือนเพราะพวกเขาเป็นโจรหรือกำลังหลบหนี  การบวชเป็นพระภิกษุ คือทางเลือกหนึ่งสำหรับพวกเขา ทางเลือกนี้เป็นเสมือนที่กำบังให้พวกเขาได้หลบภัยทางกฎหมายเพียงชั่วคราว รวมทั้งอีกประเภทหนึ่งของการบวชเป็นภิกษุ คือ เป็นเด็กถูกละทิ้งเนื่องจากพ่อแม่ยากจน  บางทางเลือกหรือสถานการณ์อื่น ๆ คนเหล่านี้เข้ามาบวชเป็นภิกษุด้วยวัตถุประสงค์เพียงเพื่อตัวเอง และมิใช่เพราะความศรัทธา  ดังนั้น  การเป็นอยู่ของเขาเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิดปัญหา

              ส่วนมากของภิกษุเหล่านั้นเปรียบเสมือนมะม่วงเขียวที่ไม่สุกหรือมะม่วงเหลืองแต่เปรี้ยว  พวกเขาจำนวนมากไม่มีความเป็นภิกษุ  ยิ่งไปกว่านั้น การมีการแต่งกายเป็นภิกษุสงฆ์เช่นนั้น ทำให้พวกเขาสามารถที่จะมีความสำราญอย่างต่อเนื่อง มีการป้องกันคุ้มครองอย่างดีเหมือนอย่างผู้อยู่ในภิกษุบริษัททั่วไป  หลายต่อหลายคนมักดำเนินการค้าขายในท่ามกลางสงฆ์  มีการซื้อขายของใช้ต่าง ๆ ที่ในรูปแบบทางศาสนา  รูปแกะสลัก  เครื่องรางและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเสริมเติมส่วนที่ขาดหายไปในการมีชีวิตอยู่มากกว่าที่จะดำเนินตามหลักการเลี้ยงชีพทางศาสนา   

            อีกอย่างหนึ่ง มีคนบางพวกซึ่งมีความเชื่อที่สับสน  ยกตัวอย่างเช่น  พ่อแม่ของเด็กที่ป่วย อาจเชื่อว่าเด็กอาจป่วยตายด้วยโรคระบาดได้  จึงออกจากบ้านของพวกเขาเพื่อนำเด็กไปที่วัด อนุญาตให้เด็กบวชเพื่อความอยู่รอด  หนทางนี้ทำให้พวกเขาสามารถพบเห็นเขาได้อย่างต่อเนื่อง  แน่นอนล่ะ เป็นการดีกว่าที่จะปล่อยให้เด็กตายด้วยโรคระบาด  เนื่องจากความเชื่อที่ผิด ๆ พวกเขาจึงนำเด็กไปวัด  คนที่เชื่ออะไรผิด ๆ มิได้เลวร้ายเหมือนอย่างคนที่เชื่อในหลักการที่ผิด  คนแรกมีศรัทธา แต่เข้าใจผิดพลาด  ในขณะที่คนหลัง ผิดพลาดอย่างงมงาย  ยังมีอีก  คนบางพวกเป็นผู้ไม่งมงายและมีศรัทธา  คนเหล่านั้นศึกษาโพธิสัตวธรรมด้วยความเชื่อมั่น จนกระทั่งพวกเขาเป็นผู้ที่มีความสงสัยน้อย   อย่างไรก็ตาม  เป็นการยากที่บุคคลจะสิ้นสุด(ความสงสัย)ได้  (แต่)ผู้อยู่ในระหว่างภาวะเช่นนี้  ในที่สุดก็จะสามารถประสบความสำเร็จในการค้นหาอนุตรโพธิญาณได้   ในความเหมือนกันทั้งหมด  ผู้บ่มเพาะบารมีธรรมซึ่งประสบความสำเร็จอาจอยู่ในกลุ่มคนจำนวนน้อยมากกว่าในกลุ่มคนจำนวนมาก

            ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้  บุคคลควรดำเนินตามศีลอย่างมุ่งมั่นโดยปราศจากข้อยกเว้น  ในเส้นทางนี้บุคคลย่อมดำรงอยู่ในความบริสุทธิ์   ในที่สุดหนทางนี้ก็จะนำให้ระลึกถึงจิตและธรรมชาติเดิมแท้ของเขา  เมื่อจิตของเขาระลึกได้  ธรรมะทุกประการย่อมก่อเกิดและความชั่วย่อมหมดไป  ในอีกแง่มุมหนึ่ง  จิตที่ไม่มีธรรมะและห่างเหินธรรมะ  ย่อมไม่ใช่จิต  จิตและธรรมะเป็นอันเดียวกัน  จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่บุคคลจะต้องตระหนักรู้ว่า ห่างธรรมย่อมไม่พบจิต  เมื่อใดที่บุคคลระลึกได้ดังนี้  เมื่อนั้นธรรมชาติที่เกิดขึ้นย่อมสามารถทำให้เขาสามารถเข้าใจความเป็นจริงนั้นได้  เป็นความจำเป็นที่ว่า ในการแทงตลอดถึงพีชะ(จิตเดิมแท้) บุคคลควรเข้าใจว่าจิตและธรรมชาติโดยพื้นฐานแล้วไม่มีแก่นสารภาวะที่แท้จริง  ทั้งไม่มีรูปแบบหรือปรากฏการณ์   มันเป็นเพียงความว่างเปล่า(ศูนยตา) และเป็นมายา   ขั้วที่เป็นการแบ่งแยกก็ไม่มี  สรรพสิ่งเป็นเช่นนั้นเอง

            เมื่อใดที่พวกเราสามารถเข้าถึงพระสูตรและผู้ชี้นำที่ดี  นั้นหมายถึงว่าเราเป็นผู้มีโชคอย่างยิ่ง พวกเราจะต้องได้เป็นอิสระจากอุปสรรคอันเนื่องด้วยกรรมและการจองเวรอันเนื่องด้วยกรรม   เราจักได้มีความสัมพันธ์อย่างแนบสนิท เราจักได้บ่มเพาะกุศลมูลในห้วงเวลาของชีวิตที่ผ่านไป   ดังนั้น  เราจึงควรหมั่นฝึกฝนตนตามหลักพระศีล  สมาธิและปัญญาอย่างจริงจัง  และขจัดโลภะ  โทสะ  และโมหะให้สิ้นไป

หมายเลขบันทึก: 185303เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2008 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

เข้ามาอ่านด้วยความสนใจ

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

เจริญสุขนะครับ

ขอบคุณค่ะ

บุญรักษา ธรรมคุ้มครองนะคะ

ดีใจที่ยังมีผู้ใฝ่ใจในธรรมอยู่ ธรรมะสวัสดีครับ

ขอบคุณนะครับ

และขอโทษด้วยนะครับ ยังไม่มีเวลาแปลบทที่เหลือเลยครับ

ตอนนี้งานยุ่งมากๆครับ

โดยเฉพาะต้องเตรียมงานโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พ่อของแผ่นดิน” ในระหว่างวันที่ 4-6 ธันวาคม 2551 ด้วยครับ

http://gotoknow.org/blog/goodproject/223875

ถ้ามีเวลาจะแปลให้อีกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท