หลักในการเลือกประเด็นเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ตอนที่ 1


ประเด็นที่จะพัฒนา ควรตรงตามหลักการในการจัดการศึกษา ที่เน้น 1) การศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน 2) ให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วม และ 3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

       ในการบรรยายเรื่อง “การพัฒนาสมรรถนะและการพัฒนางานทางวิชาการของครู” ตามหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2551 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กทม. เขต 2 ณ โรงเรียนสารวิทยา  มีผู้สนใจท่านหนึ่งถามว่า “มีหลักอะไรในการเลือกประเด็นเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้”

       ผมให้ข้อคิด ในทัศนะของผมดังนี้ นะครับ

1)  ประเด็นที่จะพัฒนา ควรตรงตามหลักการในการจัดการศึกษา

หลักการในการจัดการศึกษา ในวันนี้ ตาม พ.ร.บ.การศึกษา ฯ 2542 เน้น

หลักการที่สำคัญ คือ  1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน....ภายใต้หลักการนี้ ครูจะต้องสอนให้นักเรียนเป็นคนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน  ดังนั้น ถ้าท่านเน้นการปลูกฝังนิสัยใฝ่รู้ จัดกิจกรรมเพื่อสร้างค่านิยมการเป็นยอดนักอ่าน ฯลฯ ถือว่าสอดคล้องกับหลักการของ พ.ร.บ. ครับ  2) ให้สังคม ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา...ภายใต้หลักการข้อนี้ ถ้าท่านเน้นกิจกรรมการเรียนรู้ หรือการพัฒนาผู้เรียน ที่เน้นบทบาทร่วมของผู้ปกครอง หรือ ชุมชน หรือเครือข่ายผู้ปกครอง  หรือการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามาช่วยในการจัดการศึกษา  น่าจะถือว่าผลงานของท่านสร้างสรรค์ครับ และ 3) ให้มีการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ...ประเด็นนี้เป็นเรื่องของ การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมหลักสูตร   การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น  การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ  ล้วนถือว่าตรงกับหลักการในข้อนี้ ทั้งสิ้น

 

2)  ประเด็นเพื่อการพัฒนานวัตกรรม ต้องสอดคล้องกับหลักการหรือจุดเน้นของหลักสูตร

3)  นวัตกรรมการเรียนรู้ จะต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและธรรมชาติของผู้เรียน

4)  นวัตกรรมการเรียนรู้ ควรให้ความสำคัญกับนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน

5)  นวัตกรรมการเรียนรู้ ควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตามสภาพจริง  การใช้ปัญหาเป็นฐาน เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 

ในประเด็นที่ 2)-5) ผมค่อยขยายความ ในตอนต่อไปนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 186337เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2008 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ความคิดเห็นหายไปครับ
  • ตอนคุณครูทำไม่ค่อยได้พิจารราประเด็นเหล่านี้ครับ
  • เสียดายมาก

    2)  ประเด็นเพื่อการพัฒนานวัตกรรม ต้องสอดคล้องกับหลักการหรือจุดเน้นของหลักสูตร

    3)  นวัตกรรมการเรียนรู้ จะต้องสอดคล้องกับเนื้อหาและธรรมชาติของผู้เรียน

    4)  นวัตกรรมการเรียนรู้ ควรให้ความสำคัญกับนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน

    5)  นวัตกรรมการเรียนรู้ ควรให้ความสำคัญกับ การเรียนรู้ตามสภาพจริง  การใช้ปัญหาเป็นฐาน เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

  • ขอบคุณครับ อ.ขจิต
  • ผมจะขยายความในประเด็นที่ 2)-5) เป็นนวนิยายแบบหลายตอนนะครับ เพราะคิดว่า เราน่าจะเคลียร์ในเรื่องเหล่านี้กันอย่างจริงจัง และร่วมแลกเปลี่ยนกัน จะได้ทำผลงานในประเด็นที่มีน้ำหนัก ไม่ใช่ว่า "ทำเพียงเพื่อให้มันเป็นรูปเล่ม"  ไม่มีน้ำหนัก และไม่ผ่านการประเมินด้วย
ไม่ได้เป็นครู แต่ห่วงการศึกษาไทย

เรียน ดร.สุพักตร์

ดิฉันไม่ได้เป็นครูหรือผู้สอนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในโรงเรียน แต่จบด้านการวัดและประเมินผลทั้ง ป.ตรี และ ป.โท รวมทั้งได้มีโอกาสไปช่วยเป็นวิทยากรพี่เลี้ยงเกี่ยวกับการทำวิจัยให้กับครูบ้าง พบว่าครูส่วนใหญ่ที่ต้องการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ ยังขาดความเข้าใจในการทำผลงานวิชาการของตนเอง ยังไม่ทราบว่านวัตกรรมที่ตนจะใช้เป็นผลงานควรเป็นอะไร

ทั้งนี้เพราะยังขาดความเข้าใจที่ชัดเจน ทำให้มุ่งที่จะทำเอกสารเพื่อให้เป็นเล่มสำหรับส่งให้ตรวจอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วถ้าครูรู้ว่าปัญหาในการจัดการศึกษาของตนในห้องเรียนมีอะไรบ้างแล้ว และแต่ละปัญหามีสาเหตุมาจากอะไร จะใช้อะไรไปแก้ปัญหาเหล่านั้นเพื่อให้เกิดผลที่ตัวนักเรียน ครูก็ต้องศึกษาหาความรู้ว่าควรจะใช้เครื่องมืออะไรสำหรับจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้มีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้นั้นๆ และนั้นก็จะเป็นนวัตกรรมของครูที่จะให้เป็นผลงานสำหรับเสนอของมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ

แต่ที่พบในปัจจุบัน ครูส่วนใหญ่มุ่งที่จะเขียนผลงานย้อนหลังโดยไม่มีนวัตกรรมจริงๆ ที่ส่งผลให้เกิดกับเด็ก แต่เป็นการทำโดยไม่มีร่องรอยหลักฐานที่ได้ทำไปแล้วมาเป็นแนว ทำให้คิดไม่ออกว่าจะทำอะไรเป็นนวัตกรรมดี

นอกจากนี้ยังไม่รู้ว่าอะไรบ้างที่จะเป็นเรื่องที่เหมาะสำหรับส่งเป็นผลงาน เพราะคิดแต่ว่าต้องทำให้ผู้ตรวจเห็น โดยไม่ได้มองที่นักเรียนเป็นสำคัญ ถ้าครูมุ่งที่จะสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละสาระฯ แล้ว ดิฉันเชื่อว่าครูก็สามารถที่จะนำวิธีการนั้นๆ มาเขียนเพื่อเป็นผลงานของตนเองได้

ขอร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ "ไม่ได้เป็นครู แต่ห่วงการศึกษาไทย"

  • ขอบคุณมากครับ ความคิดเห็นของท่านดีมาก ผมสรุปที่สำคัญ ๆ เช่น

-ครูต้องศึกษาหาความรู้ว่าควรจะใช้เครื่องมืออะไรสำหรับจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้มีผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้

-ไม่มีนวัตกรรมจริงๆ ที่ส่งผลให้เกิดกับเด็ก

-ทำโดยไม่มีร่องรอยหลักฐานที่ได้ทำไปแล้ว

-ถ้าครูมุ่งที่จะสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละสาระฯ แล้ว เชื่อว่าครูก็สามารถที่จะนำวิธีการนั้นๆ มาเขียนเพื่อเป็นผลงานของตนเองได้

สวัสดีค่ะพี่ชาย....ดร.สุพักตร์

  • วันนี้  เราเรียนเรื่อง การเขียนรายงานการปฏิบัติงานในตอนเช้า  และการจัดทำผลงานทางวิชาการในตอนบ่าย
  • ครูหลายๆท่านเครียดกับการที่ได้รู้  และหลายๆคนคิดว่า  ...เฮ้อ !  ขอมาเรียนรู้เท่านั้น  ยังไม่ส่งในปีนี้หรอก
  • สาเหตุ เพราะ หลายๆท่านยังไม่มีนวัตกรรมเลย  คิดยังไม่ออกเลย  แต่ที่สอนมาแล้ว หลายๆปีนั้น  ยังไม่เคยนำมาเรียบเรียงเป็นเอกสารทางวิชาการ  ก็เลยท้อแท้ใจ
  • ครูอ้อยก็เลยปลอบใจว่า  ท้อได้  แต่อย่าถอย 
  • แต่หากมีนวัตกรรม และรู้ลู่ทางแล้ว  จะเข้าใจบทความนี้เป็นอย่างดี
  • แต่ครูจำนวนหนึ่ง  ถามแต่ว่า  จะทำเรื่องอะไรดี  ชื่อนี้ดีหรือยัง  พี่น่าจะทำเรื่องอะไรระหว่าง.....กับ....
  • แต่เรื่องสอน  ครูไม่ย่อท้อนะคะ 
  • หลายๆคนเข้ามาสมัครแล้วค่ะ  ครูอ้อยให้ทุกท่านใส่ คำหลักว่า  ครูเชี่ยวชาญ กับ สพท.กทม.2 8jt

รักษาสุขภาพนะคะ 

  • การรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ ตามกลุ่มสาระ แนะนำตัว รู้จักกัน แล้วจัดทำปฏิทินเพื่อพบกันเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่เดือนหน้าเป็นต้นไป เดือนละครั้ง แล้วมาแลกเปลี่ยนกัน  ช่วยแนะนำและช่วยเหลือกัน  ผมคิดว่า ถ้าทำแบบนี้ คงจะประสบความสำเร็จทุกคน  แต่ถ้าต่างคนต่างทำ  ผมคาดว่า ไม่เกิน 30 % ที่จะประสบความสำเร็จ

ขอบคุณอาจารย์...มากเลยครับ เป็นแนวคิดที่จุดประกายให้ผมมากเลยครับ.....ผมขอแนวคิดของท่านอาจารย์ไปประยุคนะครับ

1. คือเทอมนี้แนวคิดนี้ผมจะนำกลุ่มเด็กจำนวน 50 คน จากนักเรียน ม.6 สองร้อยกว่า ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จะเริ่มในเดือน ก.ค. นี้ ถึง ส.ค. ซึ่งประมาณต้นเดือน ก.ย. ทางกลุ่มสาระฯ จะทดสอบสมรรถภาพครั้งที่ 2

2. แนวการวิจัย"รายงานการพัฒนาสุขภาพอนามัย เรื่อง กว่าจะถึงวันนี้" ผมขอตั้งหัวข้อเป็น การพัฒนาสุขภาพอนามัย เรื่อง กว่าจะถึงวันนี้ นะครับ โดยใช้ กิจกรรมที่โรงเรียนเลือกเล่น กิจกรรมวิ่งเก็บรอบ และกิจกกรมที่ร่วมกับผู้ปกครอง โดยทั้ง 3 กิจกรรมจะให้นักเรียนทำเป็นปฎิทินการวางแผนการออกกำลังกายโดยการนำสมรรถภาพของตนเองมาวิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

3. ผมสอน ม.2 และ ม.6 ซึ่งทั้ง 2 ระดับ ผมตั้งข้อสังเกตเห็นผลการทดสอบสมรรถภาพต่างกันมากครับอาจารย์ คือ ม. 2 สอน 3 ห้องเรียน ที่รับผิดชอบ ผลการทดสอบสมรรถภาพผ่านเกณฑ์น้อยมาก ส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์ ทั้งเกณฑ์ทั้ง 2 ระดับ ก็ใช้เกณฑ์อายุและสิถติของเกณฑ์ ก็ต่างกันอยู่แล้ว ทั้งๆสภาพของวัยและอายุ ของ ม. 2 เรื่องความอาย เรื่องสรีระ ก็มีน้อยไม่น่าจะเป็นปัญหาหลัก.....อาจารย์มีข้อสังเกตอย่างไรครับ

  • ตั้งชื่อแบบเรียบ ๆ จะดีกว่า
  • การสร้างเจตคติ ต้องใช้เวลา ดังนั้นในการเรียบเรียงผลงาน ต้องระวังเป็นอย่างมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท