ยกระดับการศึกษาของแรงงาน


ยกระดับการศึกษา

ยกระดับการศึกษาของแรงงาน

เพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขัน

ในปัจจุบันปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่นับว่าเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ คือ แรงงานไทยส่วนใหญ่มีพื้นฐานการศึกษาเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ต่ำเพียงแค่ระดับประถมศึกษา และแรงงานไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและเพิ่มศักยภาพโดยการฝึกทักษะอาชีพไปสู่การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่ต้องพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง แทนที่อุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่ จากการสำรวจของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ(สกศ.)พบว่าประชากรไทยที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไปร้อยละ 70 มีการศึกษาไม่เกินระดับประถมศึกษา และประชากรอายุ 25-64 ปีร้อยละ 87 มีการศึกษาไม่ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้ประชากรที่อายุ 15 ปีขึ้นไปที่ไม่รู้หนังสือนั้นมีอยู่ถึงร้อยละ 5.3 ปัญหาที่ตามมา ก็คือ ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ และเป็นปัญหาทำให้ภาคการผลิตของไทยมีความเสียเปรียบโดยเปรียบเทียบเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งทางการค้าของไทยในเวทีการค้าโลก ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าความเหลื่อมล้ำของระดับการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ โดยแรงงานไทยที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานมีความรู้ ความสามารถสูงขึ้น เพื่อช่วยให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการดำเนินการ ในขณะเดียวกันต้องเร่งยกระดับความรู้ความสามารถให้กับแรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงานอยู่แล้ว โดยให้ความร่วมมือกับสถานประกอบการและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในภาคอุตสาหกรรม

หมายเลขบันทึก: 188043เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2008 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ให้กำลังใจนะครับ เขียนมาอีกนะครับเป็นประโยชน์มาก

การศึกษาสร้างชาติ ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท