กระบวนทัศน์ใหม่ : เครื่องมือในการทำงาน (3)


กระบวนทัศน์ใหม่ : เครื่องมือในการทำงาน (3)

สวัสดีค่ะ วันนี้ ต้องเตรียมความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำไปแชร์ให้กับพยาบาลน้องใหม่ของแผนก AE ให้รับทราบข้อมูลด้านคุณภาพว่าทำไมต้อง HA เครื่องมือคุณภาพ ต่อจาก

ตอนที่ 1  และ ตอนที่ 2 ค่ะ

ตอนที่ 3  เครื่องมือในการทำงา

ข. เทคนิคพื้นฐานเพื่อการมีส่วนร่วม

    ในการทำงานของวิทยากรเครือข่ายชุมชน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จวิทยากรเครือข่ายชุมชนควรต้องมีเทคนิคพื้นฐานเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดเวทีประชาคม ซึ่งเวทีประชาคมเป็นการพบปะของผู้คนที่มีความหลากหลายด้านข้อมูล ประสบการณ์ และความคิดมารวมกันแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ ความคิด เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา วางแผนงาน ดำเนินงานและติดตามประเมินการทำงานร่วมกัน โดยใช้ความแตกต่างหลากหลายของแต่ละคนเป็นจุดแข็งในการทวีคูณความสำเร็จซึ่งเทคนิคพื้นฐานเพื่อการมีส่วนร่วมมีดังนี้

 

1. กระบวนการกลุ่ม ( group process )

       เป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นที่นำมาใช้ในการจัดเวทีประชาคมเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมสูงสุด ( maximum performance ) ซึ่งทำให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด วิทยากรเครือข่ายชุมชนและผู้ใช้กระบวนการกลุ่มควรมีความเข้าใจและมีทักษะในกระบวนการมีส่วนร่วมแบบต่าง ๆ( เช่น Particpatory Rural Aprasial PRA , Appreciation– Influence – Control AIC, Future Search Conference FSC ) รวมทั้งทักษะในเทคนิคพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพการสร้างมิตรภาพและเจตนารมณ์ร่วมหลอมรวมความแตกต่าง การบริหารจัดการความขัดแย้งภายในกลุ่มการคิดเป็นระบบ การระดมสมอง และการมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่มหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม ( Participatory Performance )

     

        การทำงานแบบมีส่วนร่วมอาศัยหลักการทำงานที่ยึดสมาชิกของกลุ่มเป็นศูนย์กลาง( ไม่ใช่ประธานหรือวิทยากร ) โดยสมาชิกผู้สร้างผลงานจากประสบการณ์เดิม การทำงานแบบมีส่วนร่วมมีหลักสำคัญ 5 ประการ

 

      1) เป็นการทำงานที่อาศัยประสบการณ์เดิมของสมาชิก

      2) ทำให้เกิดประโยชน์ การเรียนรู้ใหม่ๆ ความคิดใหม่ที่ท้าทายอย่างต่อเนื่องเป็นการทำงานที่เรียกว่า Active performance

     3) ปฏิสัมพันธ์ ที่มีทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายความคิดที่ทุกคนมีอยู่ออกไปอย่างกว้างขวาง

     4) มีการสื่อสารโดยการพูด การเขียน เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนวิเคราะห์และสังเคราะห์ความคิด

 

2. เทคนิคการสร้างอนาคตร่วมกัน ( Future Search Conference = F.S.C. )

      F.S.C.เป็นเทคนิคการประชุมแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาจากหลักการทางสังคมจิตวิทยาโดยภาคธุรกิจในอังกฤษและสหรัฐอเมริกามีการพัฒนามาตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา องค์กรอื่น ๆ นอกจากภาคธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ได้นำเทคนิค F.S.C. ไปใช้อย่างแพร่หลายอย่างไรก็ตาม F.S.C. เพิ่งนำมาใช้ในประเทศไทยเพียง 6 ปีเท่านั้นและยังใช้อยู่ในวงจำกัด องค์การสหประชาชาติ (UNFPA) ร่วมกับFIT (Foundation for International Training Canada) และสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยนำมาใช้และเผยแพร่ ่ตั้งแต่ปี 2539

      

        F.S.C. เป็นกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้แทนกลุ่มหลายประเภท หลายระดับซึ่งต่างก็มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนั้นมาร่วมกันทำงานโดยนำประสบการณ์ของแต่ละคนมาสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันในเรื่องนั้นและได้แผนหรือแนวทางปฏิบัติให้ไปถึงวิสัยทัศน์ร่วมของกลุ่ม โดยมีจิตสำนึกพันธสัญญาร่วมกัน เป็นกระบวนการที่ใช้อนาคตเป็นจุดประสงค์ที่เต็มไปด้วยความหวังในการทำงานแทนการใช้ปัญหาและการแก้ไขปัญหาเป็นตัวตั้งในการทำงานซึ่งมักทำให้เกิดการขัดแย้ง รู้สึกท้อแท้สิ้นหวังในการแก้ปัญหา F.S.C.ช่วยทำให้เป้าหมายระยะยาวและแนวทางของกลุ่มหรือองค์กรชัดเจนขึ้น เป็นเป้าหมายร่วมกันที่สมาชิกทุกคนยอมรับ และช่วยเพิ่มพันธสัญญาของสมาชิกในการร่วมมือปฏิบัติตามแผนงานหรือแนวทางของกลุ่มเพื่อไปสู่อนาคตร่วมกันของกลุ่มตามที่ตกลงกันไว้

 

    F.S.C. มีวัตถุประสงค์ดังนี้

         1. ร่วมกันทำความเข้าใจสถานการณ์ในอดีตและปัจจุบันที่มีความเชื่อมโยง ซึ่งจะมีผลกระทบในอนาคต

         2. เพื่อเสนอภาพรวมของสถานการณ์ปัจจุบัน

         3. เพื่อลงมติและสร้างพันธสัญญาในการมีวิสัยทัศน์ของอนาคตร่วมกัน

         4. เพื่อรวบรวมแนวคิด ความเข้าใจ ข้อมูลพื้นฐาน แผนปฏิบัติการที่จะใช้ในการสร้างอนาคตร่วมกันผลจากการประชุม

 

   F.S.C. จะทำให้

 

1. เข้าใจปัจจัย องค์ประกอบเหตุการณ์ในอดีตที่มีผลต่อสภาพปัจจุบันและแนวโน้มที่มีผลกระทบต่ออนาคต

2. ทุกคนเห็นภาพรวมเป็นภาพเดียวกัน เกิดวิสัยทัศน์ในอนาคตร่วมกันที่เต็มไปด้วยความหวังและพันธสัญญาร่วมกัน

3. ทุกคนเกิดความตระหนัก ได้แลกเปลี่ยนความคิดใหม่ ๆ ร่วมกัน เป็นการขยายเครือข่ายมีสัมพันธภาพที่ดี เข้าใจและเห็นคุณค่าซึ่งกันและกันความคิดทุกอย่างอยู่ในสมองของทุกคนและตระหนักว่าทุกคนลงเรือลำเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกัน มีแผนงานที่ชัดเจนร่วมกัน

 

บทบาทของผู้เข้าร่วมประชุม

1. เป็นผู้ค้นหาข้อมูล ให้ข้อมูล ประสบการณ์ วิเคราะห์ข้อมูล

2. ช่วยกันทำงานภายในกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมายให้ทันเวลาที่กำหนด

3. ช่วยกันสร้างภาพของอนาคตที่พึงปรารถนา

4. ค้นหาความคิดเห็นร่วมของกลุ่ม

5. ช่วยกันกำหนดกิจกรรมที่จะนำความคิดเห็นร่วมไปสู่การปฏิบัติ

6. ในกลุ่มย่อยให้มีการแบ่งหน้าที่เป็นผู้นำสนทนา ผู้บันทึก ผู้ควบคุมเวลา ผู้ควบคุมแผ่นพลิก โฆษกและให้หมุนเวียนสับเปลี่ยนหน้าที่กันในแต่ละกิจกรรม

 

3. กระบวนการ A-I-C (Appreciation – Influence - Control )

      A-I-C เป็นเทคนิคการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ ที่การระดมสมองทำให้เกิดความเข้าใจสภาพปัญหา ขีดจำกัด ความต้องการและศักยภาพของผู้เกี่ยวข้องในเรื่องต่าง ๆ งานที่ได้จากการประชุมมาจากความคิดของทุกคนโครงสร้างกระบวนการ F.S.C. จะคล้ายคลึงกับ A-I-C เพียงแต่กระบวนการA-I-C มีลำดับขั้นตอนไม่ซับซ้อนเท่า F.S.C.

 

ความหมาย

 

A – Appreciation

คือ การยอมรับชื่นชม (Appreciate) ความคิดเห็นความรู้สึกของเพื่อนสมาชิกในกลุ่มด้วยความเข้าใจในประสบการณ์สภาพและขีดจำกัดของเพื่อนสมาชิกแต่ละคน จึงไม่รู้สึกต่อต้านหรือวิจารณ์เชิงลบในความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิก ทุกคนในกลุ่มมีโอกาสให้ข้อมูลข้อเท็จจริง เหตุผลความรู้สึกและการแสดงออก ตามที่เป็นจริงเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน มีความรู้สึกที่มีเมตตาต่อกันเกิดพลังร่วมและความรู้สึกเป็นเครือข่าย เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

 

I – Influence

คือ การใช้ประสบการณ์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของแต่ละคนที่มีอยู่ มาช่วยกันกำหนดวิธีการสำคัญ ยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ร่วมหรืออุดมการณ์ร่วมของกลุ่มจะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากมีการถกแถลงด้วยเหตุผลทั้งในประเด็นที่เห็นด้วยและเห็นแย้งจนได้วิธีการที่กลุ่มเห็นร่วม

 

C – Control

คือ การนำยุทธศาสตร์ วิธีสำคัญ มากำหนดแผนปฏิบัติการโดยละเอียดสมาชิกจะเลือกว่าตนเองสามารถรับผิดชอบในเรื่องใดด้วยความสมัครใจ ทำให้เกิด พันธสัญญาข้อผูกพัน(Commitment) แก่ตนเอง (Control) ให้ปฏิบัติจนบรรลุตามเป้าหมายร่วมของกลุ่มกระบวนการ A-I-C จะใช้การวาดภาพ

เพื่อสะท้อนประสบการณ์ในอดีต สภาพปัจจุบันกับจินตนาการถึงความมุ่งหวังในอนาคตของสมาชิกทุกคน โดยให้แต่ละคนวาดภาพของตนก่อน นำภาพของทุกคนมาวางรวมกันบนกระดาษแผ่นใหญ่แล้วจึงต่อเติมรวมภาพของแต่ละคนให้กลมกลืนเป็นภาพใหญ่ของกลุ่มเพียงภาพเดียว

 

      การวาดภาพเป็นการกระตุ้นให้สมาชิกสะท้อนสิ่งที่มีอยู่ภายในจิตใจออกมาอย่างแท้จริงบางเรื่องราวไม่สะดวกใจที่จะพูดโดยเปิดเผยก็สามารถสะท้อนออกมาเป็นภาพหรือสัญลักษณ์รูปทรงสีแทนการพูด เขียนหนังสือ เปิดโอกาสให้ผู้อื่นซักถามข้อมูลความหมายจากภาพได้อย่างละเอียดลึกซึ้งใช้เป็นสื่อกระตุ้นให้สมาชิกที่ไม่ค่อยหล้าพูดได้ร่วมอภิปรายความคิด ประสบการณ์ตนเอง การวาดภาพช่วยสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง

 

       การรวมภาพความคิดของแต่ละคนเป็นภาพรวมของกลุ่มทำได้ง่ายและเป็นรูปธรรมมากกว่าการพยายามรวมแนวคิดของแต่ละคนโดยการอภิปรายหรือการเขียนเป็นสื่อถึงความ รู้สึกเป็นเจ้าของภาพร่วมกัน และการมีส่วนร่วมในการสร้างกรอบความคิดตามภาพของกลุ่ม

 

        โดยทั่วไปผู้ใหญ่กังวลว่าไม่มีความสามารถในการวาดภาพจึงควรชี้แจงว่าการวาดภาพไม่เน้นความสวยงาม หากเน้นความหมายที่ปรากฏเป็นภาพ ผู้วาดอาจใช้สีเป็นสัญลักษณ์แทนภาพเหมือนก็ได้ แผนภูมิ กระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ A-I-C

 

แหล่งข้อมูล

 

เอกสารหลักสูตรเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนท้องถิ่น

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

 

กระบวนทัศน์ใหม่

 

เครื่องมือคุณภาพ

 

 

The Quality Toolbook

 

เครื่องมือคุณภาพแบบเดิม

 

เครื่องมือคุณภาพแบบใหม่ 1  2

 

ย้อนหลังกลับไปดู

ตอนที่ 1  และ ตอนที่ 2 ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 188498เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2008 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

- แวะมาทักทายค่ะ

ขอเรียนรู้ด้วยคนค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ  เพชรน้อย

  • ยินดีที่ได้รู้จัก
  • และยินดีต้อนรับค่ะ
  • หากมีอะไรดีๆนำมาแบ่งปันกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทายนะคะ

สวัสดีค่ะ อ.กัญญา

  • เครื่องมือการพัฒนาเนี่ยเยอะจังเลยนะคะ ไม่รู้จะเลือกใช้อย่างไร
  • ขอบคุณที่นำมาให้ได้อ่านค่ะ

สวัสดีค่ะ ป้าแดง

  • เลือกใช้เครื่องมือตัวไหน คงขึ้นกับโอกาส สถานการณ์มังคะ
  • ที่สังเกตเห็นจากบันทึกเพื่อนสมาชิก G2K จะพบว่า ชาวสมาชิกใช้ A-I-C กันมากเลยนะคะ
  • เครื่องมือคุณภาพที่ใหม่ล่าสุด ท่านอาจารย์ JJ บอกว่า คือ "ลปรร" นี้เองล่ะค่ะ
  • ป้าแดงใช้อย่างถนัด และเป็นเซียนในเรื่องนี้อยู่แล้วนะคะ
  • ป้าแดงใช้เครื่องมืออันไหนได้ผลดี นำมาบอกต่อขยายผลด้วยนะคะ
  • ขอบคุณคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท