ระบบคุณภาพที่มุ่งเน้นสัมฤทธิผล


การแปลวิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์องค์การไปสู่ชุดของการวัดผลสำเร็จที่กำหนดกรอบสำหรับการวัดกลยุทธ์และระบบการจัดการ

1   ISO 9000

ISO 9000   เป็นระบบคุณภาพซึ่งพัฒนาให้ก้าวหน้าไปกว่าการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ (acceptance inspection)  มาสู่ระบบประกันคุณภาพซึ่งประกอบด้วยการกำหนดมาตรฐานการทำงานหรือคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์  การตรวจสอบสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือความคาดหวัง  การแก้ไขหรือป้องกันปัญหา  โดยเน้นให้ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เริ่มต้นจนลูกค้าได้ใช้สินค้าระบบประกันคุณภาพที่ดีจะเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องไปสู่ความเป็นเลิศ  และเป็นเครื่องมือที่จะธำรงไว้ซึ่งระดับคุณภาพที่พัฒนามาได้  แต่ข้อกำหนด ISO9000 ในปัจจุบันมิได้บังคับให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ปล่อยให้เป็นหน้าที่ขององค์การที่จะกำหนดระดับคุณภาพของตนเอง

            ISO9001:1994 มี 4 ข้อซึ่งเป็นหมวดหมู่และทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นได้แก่:

                    1.1   ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร ได้แก่การกำหนดนโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์และการวางแผน ระบบบริหารคุณภาพ

                    1.2  การบริหารทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรบุคคล สารสนเทศ โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน

                    1.3   การบริหารกระบวนการ ได้แก่ การสร้างความมั่นใจว่าผลผลิตและบริการสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ

                    1.4    การวัด วิเคราะห์ แก้ไข ป้องกัน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาได้แก่ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ และการบริหารทรัพยากร มาตรฐานที่ปรับปรุงใหม่นี้มีความใกล้เคียงกับมาตรฐาน HA มากขึ้น แต่ก็ยังไม่เน้นพฤติกรรมองค์กร อันได้แก่การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

         

          2   TQM.

            Total Quality Management หรือ TQM. หมายถึง การจัดการเพื่อให้เกิดคุณภาพที่สมบูรณ์สำหรับลูกค้า ซึ่งต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในองค์การ ซึ่งจะเป็นการบริหารงานที่เป็นพลวัตและพัฒนาไม่หยุดยั้ง เราจะเห็นว่า TQM จะมีขอบเขตที่กว้างขวางในการดำเนินงาน ซึ่งจะครอบคลุมมากกว่าการสร้างหลักประกันในคุณภาพของสินค้าหรือบริการแต่ TQM จะเป็นแนวทางในการบริหารกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อสร้างความพอใจให้แก่ผู้บริโภคอย่างสมบูรณ์ในทุกขั้นตอน ทั้งภายในและภายนอกองค์การ (Oakland, 1993)

สมาชิก

ทุกคน

มีส่วนร่วม

การให้ความ

สำคัญกับ

ลูกค้า

การพัฒนา

อย่างต่อเนื่อง

TQM

       

            TQM เป็นความพยายามของผู้บริหารที่จะเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ วิธีการคิด และการปฏิบัติงานของธุรกิจ โดยดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการแก้ปัญหา พัฒนากระบวนการและดำเนินการต่างๆ เพื่อสร้างคุณภาพให้แก่สินค้าและบริการ

                   2.1  วัตถุประสงค์ของTQM

                                    1)    การลดต้นทุนและการพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการดำเนินงานด้านคุณภาพ เพื่อการดำรงอยู่และการแข่งขันขององค์การ

                                    2)   สร้างความพอใจและความซื่อสัตย์ของลูกค้า เพราะลูกค้าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับปัจจุบันและอนาคต ซึ่งธุรกิจจะต้องดำเนินงานในเชิงรุก เพื่อให้ได้มาและธำรงรักษาลูกค้าไว้อย่างต่อเนื่อง

                                    3)  สร้างความพึงพอใจในงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานให้เขามีความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการทำงาน

                                    4)   ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการเจริญเติบโตในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างองค์การคุณภาพโดยสมบูรณ์ (Perfect Quality Organization) ซึ่งจะสอดคล้องกับปรัชญาขององค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และพัฒนาการ เพื่อความอยู่รอดขององค์การ ซึ่งเราอาจจะกล่าวได้ว่า TQM เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้

                   2.2  ประโยชน์ของ TQM

                                    1)    ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริงของตลาด สามารถสร้างสินค้าและบริการให้เป็นที่พอใจแก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างรายได้ กำไร ความอยู่รอด และการเจริญเติบโตของธุรกิจ

                                    2) ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ ที่ลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในการดำเนินงาน สามารถบริหารต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

                                    3)    พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบ และแก้ไขได้ง่าย ไม่เสียเวลากับงานที่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ

                                    4) พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ จึงเกิดความพอใจในการทำงาน

                                    5)  มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์การ ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ โดยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

หมายเลขบันทึก: 189893เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากขอคำแนะนำว่า ถ้าต้องการเขียนผังการบริหารของทีมงานคุณภาพ Quality Organization Chart ควรจะประกอบด้วยอะไรบ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท