Planning Division KKU
กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การจัดการความรู้ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2551 เรื่องที่ 2


การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย

การจัดการความรู้  กองแผนงาน  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี  2551 เรื่องที่ 2

เรื่อง  การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต

วันพุธที่  2  กรกฎาคม  2551    ห้องประชุมกองแผนงาน  เวลา 10.00-12.00  น. 

โดย     นายพันธ์เทพ   อนันต์เจริญ    เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

           นางสาวจันทร์เพ็ญ  คำยา       เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน

 

การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ปีงบประมาณ  พ.ศ. 2551

                      ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 21 กำหนดให้หน่วยงานราชการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภท ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดและรายงานผลการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ ทราบ

                ในคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนดตัวชี้วัดที่ 12  เรื่อง ระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ในมิติด้านประสิทธิภาพของการ

ปฏิบัติราชการ เมื่อได้ผลการคำนวณต้นทุนแล้ว ต้องนำผลการคำนวณมาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ และจัดทำแผนการเพิ่มประสิทธิภาพด้วย

                ในการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะใช้เกณฑ์ของกรมบัญชีกลาง

การนำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตไปใช้ประโยชน์

                1.ใช้ในการกำหนดราคาขายสินค้าและบริการ หรือ การกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาในระดับสาขาวิชา

                2.นำไปกำหนดค่าใช้จ่ายในการผลิตบัณฑิตในสาขาที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ

                3.เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน หรือการลดต้นทุนที่สูญเปล่า

                4.เพื่อใช้เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตกับสถาบัน/มหาวิทยาลัยอื่นๆ

                5.เพื่อใช้เป็นข้อมูลให้ผู้รับบริการ(ผู้ปกครอง/นักศึกษา)ประกอบการตัดสินใจในการเลือก(ซื้อ)รับบริการที่สร้างความพึงพอใจสูงสุด

                6.ใช้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน/สนับสนุน

สถาบัน/มหาวิทยาลัย (ทุนการศึกษา ทุนวิจัย)

แนวคิดการจัดทำต้นทุน

·       มหาวิทยาลัยขอนก่นใช้หลักการบัญชีต้นทุนรายกิจกรรม (Activity BaseCosting)

·       การคำนวณต้นทุนผลผลิตต้องให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด

·       ค่าใช้จ่ายที่นำมาคำนวณนั้นเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด จากเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ ไม่รวมงบลงทุน(ครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง)

·       ค่าใช้จ่ายที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงโดยการบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง แล้วคำนวณต้นทุนผลผลิต

·       ค่าใช้จ่ายนี้รวมทั้งค่าเสื่อมราคาซึ่งถือเป็นต้นทุนของการใช้สินทรัพย์ถาวร

·       การคำนวณต้นทุนผลผลิต เริ่มที่การกำหนดผลผลิตและกิจกรรม ต้องกำหนดหน่วยงานที่เป็น ศูนย์ต้นทุนหลัก ศูนย์ต้นทุนสนับสนุน โดยพิจารณากิจกรรมเป็นหลักสำคัญและอิงกับโครงสร้างการบริหารที่แบ่งเป็นคณะ สำนัก  สถาบัน ศูนย์

วิธีการคำนวณต้นทุนรายกิจกรรมและต้นทุนผลผลิต

                1.ระบุกิจกรรมของมหาวิทยาลัย กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม และกิจกรรมสนับสนุน

                2.บันทึกข้อมูลต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายจริงของกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน

                3.ปันส่วนค่าใช้จ่ายกิจกรรมสนับสนุนโดยใช้เกณฑ์การปันส่วน

                                3.1 กิจกรรมสนับสนุนด้านบริหารให้กิจกรรมสนับสนุนวิชาการ สนับสนุนวิจัย สนับสนุนบริการวิชาการ สนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรม และกิจกรรมหลักด้านการเรียนการสอน

                                3.2 กิจกรรมสนับสนุนวิชาการ (คอมพิวเตอร์ฯ,ห้องสมุดฯ) ให้กิจกรรมหลัก 4 ด้าน คือ การเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการ และศิลปะและวัฒนธรรม

                                3.3 เงินเดือนและค่าตอบแทนอาจารย์ให้กิจกรรมหลัก 4 ด้าน

                4.กิจกรรมหลักได้รับ  ต้นทุนทางอ้อม(Indirect Cost) จากกิจกรรมสนับสนุน มารวมกับ  ต้นทุนทางตรง(Direct Cost) โดยมีศูนย์ต้นทุน ดังนี้

                                4.1 ศูนย์ต้นทุนกิจกรรมการเรียนการสอน คือ คณะ     โดยมีหลักสูตรเป็นสายการผลิต แต่ละหลักสูตรมีกิจกรรมย่อย คือ การสอนวิชาต่างๆ คำนวณต้นทุนต่อนักศึกษา (ที่สอบผ่าน) ทุกต้นทุนทุกรายวิชาของแต่ละหลักสูตรเป็นต้นทุนหลักสูตร

                                4.2 ศูนย์ต้นทุนกิจกรรมวิจัย คือ คณะ โดยมีโครงการวิจัยเป็นสายการผลิต

                                4.3 ศูนย์ต้นทุนกิจกรรมบริการวิชาการ คือ คณะ โดยมีโครงการบริการวิชาการ เป็นสายการผลิต

                                4.4 ศูนย์ต้นทุนกิจกรรมบริการรักษาพยาบาล คือ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์และศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯและเป็นสายการผลิต

                                4.5 ศูนย์ต้นทุนกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คือ คณะ โดยมีโครงการศิลปะและวัฒนธรรม เป็นสายการผลิต

กิจกรรม(Activities) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กิจกรรม

กิจกรรมย่อย

กิจกรรมหลัก(Functional Activities)

จัดการศึกษา

หลักสูตรสาขาวิชา,วิชา

บริการวิชาการและบริการรักษาพยาบาล

โครงการบริการวิชาการ

 

กิจกรรมย่อย(โครงการระดับโรงพยาบาล)

ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการศิลปะและวัฒนธรรม

กิจกรรมสนับสนุน(Supporting Activities)

สนับสนุนการบริหาร

กิจกรรมย่อย(โครงการ)

สนับสนุนวิชาการ

พัฒนานักศึกษา

 

หลักสูตร,ทะเบียนและประมวลผล

 

คอมพิวเตอร์และเครือข่าย

 

ห้องสมุดและสารสนเทศ

(Output) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กิจกรรมหลัก

ผลผลิต/หน่วยวัดเชิงปริมาณ

จัดการศึกษา

นักศึกษาสาขาวิชา................/คน

วิจัย

โครงการวิจัย/โครงการ

บริการวิชาการ

และบริการรักษาพยาบาล

ผู้รับบริการวิชาการแก่ชุมชน/คน

 

โครงการบริการวิชาการ/โครงการ

 

คนไข้/คน,ผู้ป่วยเอดส์/ราย,

ชันสูตรพลิกศพ/ศพ

ศิลปะและวัฒนธรรม

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ/คน,

โครงการศิลปะและวัฒนธรรม/โครงการ

ปัญหาด้านข้อมูล

                1.ข้อมูลบางรายการ ไม่ได้บันทึกระดับคณะ หน่วยงาน เช่น ค่าสาธารณูปโภค จึงต้องปันส่วน กระจายต้นทุนจากระดับมหาวิทยาลัย

        2.ไม่มีข้อมูลที่เป็นต้นทุนทางตรงของรายวิชา จึงให้เท่ากับศูนย์ แต่ให้รับต้นทุนที่ได้รับการปันส่วน

        3.ไม่มีข้อมูลค่าเสื่อมราคา ค่าสาธารณูปโภค เงินเดือนและค่าตอบแทนอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาต่างๆ จึงใช้การจัดสรรให้กิจกรรม                                      4.เกณฑ์การปันส่วนพิจารณาจากเกณฑ์ที่มีข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อให้เกณฑ์ที่ใช้เหมาะสมยิ่งขึ้นต้องมีการทบทวนและปรับปรุงเกณฑ์ทุกปี และต้องมีกระบวนการในการเก็บข้อมูลของเกณฑ์ที่จะใช้ด้วย
                5.ไม่ได้ใช้ข้อมูลค่าใช้จ่ายจากงบกลางที่รัฐบาลจัดสรรให้ เช่น ค่า

รักษาพยาบาล ค่าธรรมเนียมการศึกษา

 การเพิ่มประสิทธิภาพ / การลดต้นทุน   ในปีงบประมาณ 2551

1. จัดระบบรวมศูนย์การจัดซื้อวัสดุที่ใช้ร่วมกัน เพื่อลดต้นทุนค่าดำเนินการ การจัดซื้อ และจะได้ราคาวัสดุต่ำกว่า

        ราคาตลาด

2. จัดระบบการใช้ห้องปฏิบัติการ ห้องทดลองให้คุ้มค่า และลดต้นทุนค่าบริการจัดการกลาง เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าวัสดุที่ใช้ในห้องทดลอง  ค่าอาหารปฏิบัติการนอกเวลา

3. การใช้วัสดุสำนักงบประมาณอย่างประหยัด ระมัดระวังไม่ให้เกิดการสิ้นเปลือง ไม่เกิดผลผลิต

4. การใช้ครุภัณฑ์ อาคารร่วมกัน เพื่อให้ต้นทุนค่าเสื่อมราคากระจายตัวทุกผลผลิต และศูนย์ต้นทุนหลัก (คณะ) ไม่ต้องเฉพาะในคณะใดคณะหนึ่ง ทำให้ต้นทุนสูง

 การศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบ Model  ต้นทุนของสาขาวิชา

              การศึกษาเพื่อกำหนด Model ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตแล้ว่ในระดับ สาขาวิชา  ให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2551   การวิเคราะห์ต้นทุนสาขาวิชาจะเป็นข้อมูลที่แสดงถึงประสิทธิภาพการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่าง ๆ และเป้นข้อมูลที่ต้องแสดงต่อสาธารณะ / ผู้รับบริการ 

        note taker รายงาน : วิทยา  บุญนำ  ปรับปรุง:pure

หมายเลขบันทึก: 191919เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2008 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

*เป็น knowledge asset ที่ได้ร่วมกัน ลปรร. เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านแผนและบัญชี ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณคุณวิทยาที่เป็น note taker ได้อย่างดีมากๆ และเก่งจริงๆ

*อีกไม่นานเราจะมีชุมชนผู้ปฏิบัติด้านต้นทุนในสถาบันอุดมศึกษาอีก 1 กลุ่ม ซึ่งประชุมแล้วเมื่อ 8 กรกฎาคม 2551 มีสมาชิกเริ่มต้น ประมาณ 10 คน ความหวังที่จะ knowledge assetเพิ่มขึ้นอีก เร็วๆนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท