ศิลปะการจัดทำอาร์ตเวิร์ค


 1. วางแผน  วัตถุประสงค์  ระยะเวลาทำงาน

 2. ออกแบบร่าง   ดูความเป็นไปได้

 3. ลองทำจริง 

 4. ทบทวน  ตรงกับผลงานหรือเปล่า ปรับปรุงก่อนนำไปพิมพ์

 วางแผนเป็นประเด็นหลัก

 1. ทำเป็นโฆษณา หรือ เอกสารธุรกิจ

 2. ทำให้ใครดู วัยรุ่น หรือ นักธุรกิจ

 3. เน้นอะไร คำขวัญหรือสัญญลักษณ์

 4. งบประมาณกับเวลาทำ

หลักการทำเลย์เอ้าท์ 

    ออกแบบคร่าว ๆ ดูความเหมาะสมของต้นฉบับ ที่ทำให้ข้อความ ภาพ โดยอาศัยหลักศิลปะช่วยด้วย

 1. ข้อความ  ภาพ  ควรมีที่ว่างบ้างพอสมควร แน่นไปดูอึดอัด และเบื่อตาได้ง่าย

 2. การใช้สี  ตำราวิชาการอย่าใช้สีฉูดฉาด จะดูไม่น่าเชื่อถือกลายเป็นหนังสือการ์ตูนไป

 3. คำบรรยาย  อ่านง่ายสบายตา ชัดเจน อักษรสวยงามเหมาะกับลักษณะงาน หนังสือวารสารสิ่ง

    พิมพ์ ถ้าใช้ม่เหมาะจะทำให้อ่านยาก ทำให้ผู้อ่านพิจารณาน้อยลง ทำให้รำคาญ อ่านไม่ออก จะมีผล

เสียมากกว่า 

4. ถ้าเป็นข้อความยาว ควรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้  

    ก. หัวข้อใช้อักษรใหญ่กว่า มีแบบพิเศษแตกต่างกว่าปกติ  ช่วยให้เด่นชัด  ดึงดูดความสนใจ เป็นการ

บอกเรื่องที่จะตามมาด้วย

   ข. เนื้อเรื่องตัวอักษรอ่านง่าย สบายตา  ส่วนสโลแกน  เน้นด้วยอักษณะแปลก หรือเน้นให้ชัดเจน

ภาพประกอบ

1. ดึงดูดความสนใจผู้อ่าน

2. ช่วยอธิบายเนื้อหาสาระให้ชัดเจน

3. ช่วยให้ผู้อ่านพักสายตาบ้าง

4. ภาพสำคัญเท่ากันควรมีขนาดเท่ากัน

5. ภาพขาวดำ ตัดพื้นสีขาวทิ้งเหลือสีเข้มไว้ เอามาจัดรวมกับข้อความทำให้น่าสนใจไม่น้อย

6. รูปที่นำมาควรมีองค์ประกอบที่จำเป็น ไม่เกี่ยวควรติดตั้งองค์ประกอบโดดเด่นขึ้นมา

7. ตัวอักษรที่บรรยายลงในภาพ สีต้องตัดกับพื้นภาพ

เทคนิคทั่วไป

1. ควรเว้นขอบกระดาษไว้รอบ ๆ ทุกด้าน ถ้าแน่นไปจะรู้สึกว่าจะผิดพลาดในเรื่องตัดกระดาษ จากผู้ดู

2. จัดหลายคอลัมน์ดีกว่า  คอลัมน์เดียว

3. ถ้าคอลัมน์เดียว  ข้อความ เรื่องต้องบรรยายให้เห็นความต่อเนื่องและมีความสำคัญเท่ากันหมด

4. ถ้าแบบเป็นทางการ หน้าซ้าย ขวา สำคัญทุกหน้า จะดูไม่ตื่นเต้นราบเรียบจนเกินไป แต่ถ้าต้องการให้

ตื่นเต้น  ต้องจัดซ้ายขวาต่างกัน  บางคร้งอาจทำให้ผู้อ่านคิดว่าลืมอะไรไปหรือเปล่า  วิแก้ต้องจัดสม

ดุลย์กันให้ดี

5. การตีกรอบ  ทำให้เกิดการจำกัดขอบเขตสายตา ถึงถ้าเล็กมากก็มากตาม ทำให้เกิดผลศูนย์กลางเกิด

ขึ้น ถ้าต้องจัด 2 ด้านเหมือนกัน  วิธีแก้ตีกรอบแบบเปิด  ขีดบนและล่างเท่านั้น

การทำหัวเรื่อง

1. เด่นชัดมีขนาดใหญ่ที่สุด เทียบเท่าหัวข้อย่อยและรายละเอียด จึงจะดึงดูด

2. ถ้ามีหัวข้อย่อยซ้อนกันหลายชั้น ควรใช้ตัวอักษรลดหลั่นกันตามลำดับ

3. ถ้าแบ่งคอลัมน์ หัวข้อย่อยควรอยู่กันคนละบรรทัด จะช่วยเน้นหัวข้อย่อยชัดเจนกว่า

4. ควรกระชับรัดกุม ตรงประเด็นเนื้อหาน่าสนใจ  ทำให้ผู้อ่านค้นหาสิ่งที่ต้องการได้รวดเร็ว

5.เลี่ยงการขีดเส้นใต้  จะแย่งความสนใจหัวข้อไป  โดยเฉพาะอักษรบางตัวที่ใช้เชิงด้านล่าง ฐ

จะถูกตัดขวาง ทำให้อ่านลำบาก หัวข้อควรเว้นช่องว่าง  มากกว่าเว้นเนื้อหา  จะดูว่าด่านล่างเป็นราย

ละเอียด

6. ขึ้นหัวข้อแล้วต่อเนื้อหาสัก 2-3 บรรทัดก่อน ถึงตัวรายละเอียดต่อไป อยู่เพียงลำพัง

7. ข้อความย่อหน้าใด ๆ ควรใช้อักษรพิเศษ หรือเติมเครื่องหมายคำพูด ขีดเส้นใต้ เพื่อเน้นว่าเป็นหลัก

ของเนื้อหานั้น จัดอยูในหน้าเดียวกันได้อย่างดียิ่ง ถ้าอยู่คนละหลายหน้าจะเป็นเรื่องใหม่ไปเลย

8. ข้อความควรแตกต่างจากหัวข้อและเนื้อหา  จะทำให้ข้อความนั้นสำคัญจริง ๆ ไม่ใช่หัวเรื่องใหม่

9. ตัวอักษรบางประเภทเหมาะสมกับหัวเรื่อง เพราะตัวเข้มขนาดใหญ่  เอาไปใช้เป็นเนื้อหา  บางตัวไม่

เหมาะสมอ่านยาก ควรพิมพ์มาดูก่อน

10. รูปแบบตัวอักษรเหมาะสมกับหน้ากระดาษ และสีของพื้นที่จะใช้พิมพ์ ถ้ากระดาษมันอย่าใช้

อักษรมันจะอ่านยาก

11.ควรใช้  Hyphen น้อยที่สุด

12. ควรใช้ข้อความพร้อมตัวเลข เช่นการทำสารบาญ ควรใช้พื้นที่เกินความกว้างของคอลัมน์ อาจทำ

ให้เว้นข้อความของตัวเลข  จะได้ไกล้กัน หรืออาจใช้วิเว้นว่างล้อมรอบข้อความ กับตัวเลขมาก ๆ เพื่อ

รักษาขนาดรูปแบบตัวอักษรไว้จะทำให้ดูกระชับน่าสนใจขึ้น

13. ควรใช้เลขแถบเครื่องหมายต่าง ๆ ในการลำดับความสำคัญก่อนหลัง เพื่อช่วยเน้นข้อความของ

เนื้อหา

14. ถ้าเป็นเศษส่วนควรใช้ตัวเลขขนาดเล็กกว่าปกติ ช่วยให้เห็นชัดว่าเป็นเศษส่วน

15. การใช้ % เพื่อแทนเปอร์เซ็นต์  ต้องใช้เหมือนกันตลอดจนจบ ห้ามมีบ้าง ไม่มีบ้าง

16. การขีดเส้นใต้ ควรเน้นให้เหมาะกับตัวอักษร

ตารางกราฟ

1. กราฟแท่งเหมาะกับเปรียบ 1 จำนวน ยอดขายเดือนที่แล้วกับเดือนนี้

2. วงกลมแสดงความสัมพันธ์เป็นสัดส่วน กับข้มูลทั้งหมด เช่นส่วนแบ่งการตลาดกับมูลค่าการตลาดทั้ง

    หมด

3. กราฟเส้น แนวโน้มหรือทิศทางข้อมูล วิเคราะห์ดัชนีหุ้น

4. คำบรรยายต้องกระชับที่สุด  โดยเฉพาะแกน  x y ต้องสั้นสุดตรงประเด็น

5. ใช้ตารางเปรียบเทียบ เหมาะกว่าอธิบายเป็นประโยค

6. เลี่ยงการตีเส้นตารางทุกช่อง ดูอึดอัด ทางที่ดีตีเส้นรอบ ๆ  และแนวแบ่งที่สำคัญ เช่นผ่ากลาง

คอลัมน์ จะทำให้ดูสบายตากว่ากัน ที่อยู่ในตาราง

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #rnm
หมายเลขบันทึก: 192580เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2008 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำให้นักเรียน มี ความ รู้เกี่ยวกับ เรื่อง ศิลปะ มากขึ้น

เป็น สิ่ง ที่ ดี

น่าเอาเนื้อ หา มา อัพเดส เลยๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท