025 : สมองอ่าน ข้อความสับสน ได้อย่างไร?


 

พี่ดาว - คุณ ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี ได้เปิดประเด็นที่น่าสนใจ

ไว้ในความเห็นที่ 108 ของบันทึกเรื่อง AAR Gotoknow ฉบับ ดาวลูกไก่

ดังนี้ครับ

 

พอดี ผมเคยสงสัยและได้ค้นคว้าจนนำไปเขียนเป็นบทความ

ลงใน นิตยสารสารคดี & หนังสือเล่มหนึ่งไว้แล้ว

จึงขอนำเอาสิ่งที่เคยทำเอาไว้แล้ว

มาให้เพื่อนๆ ใน G2K ลองพิจารณา & อาจนำไปต่อยอดได้ครับ

ในบทความต่อไปนี้

 

ไขปริศนา : สมองอ่านข้อความที่สับสนได้อย่างไร?

 

อ่านแล้วคิดว่าอย่างไร ลองเล่าสู่กันฟังบ้างเด้อ!


 

 

  

 

คำสำคัญ (Tags): #jumbled text
หมายเลขบันทึก: 193249เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2008 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีครับ

เคยเห็นข้อความภาษาไทยทำนองนี้เหมือนกันครับ

ยังไงก็ไม่ทราบ แต่คิดว่าเป็นเรื่องความคุ้นเคย (แปลว่าจำได้) เพราะการอ่านนั้น อาศัยความคุ้นเคยทั้งนั้น ทำให้เราอ่านได้คล่อง

กระบวนการอ่านเราไม่ได้มัวสะกดทีละตัว ไม่งั้นจะอ่านได้ช้ามาก เคยอ่านสามก๊ก เมื่อเจอตัวละครใหม่ๆ เราจะเสียเวลาสะกด แต่เมื่ออ่านเรื่องไทยๆ ชื่อคุ้นเคย เราก็จะผ่านได้อย่างรวดเร็ว

ถ้ามีข้อความที่เราไม่คุ้น สลับตำแหน่งกัน ก็ยากที่จะเข้าใจ คือเดาไม่ถูก นั่นเอง

กระบวนการนี้ คล้ายๆ กับการทำความเข้าใจบทร้อยกรอง แม้มีไวยากรณ์แตกต่างจากภาษาทั่วไป (เพราะอะไร ต้องวิเคราะห์ต่อไป)

คำไทยๆ เช่น "ดมบอย" เขียนตรงตัวอย่างนี้ ก็คงงง เพราะไม่คุ้น ยิ่งถ้าสลับเป็น "ดมบอย" ก็คงเดาไม่ถูกว่ามันคือ มดยอบ

แต่ว่า มดยอบ คืออะไรน้อ....

อีกตัวอย่าง..

หะาหยกะรต่ยาเนต้ มชแข

(หะหายกระต่ายเต้น ชมแข)

เข้าใจยากกว่าภาษาทั่วไป

แต่ก็ยังเข้าใจง่ายกว่า

"ก็ะรจเห็ภนลด ระตดบัลยติขัยา"

(ก็ระเห็จนภดล ตระบัดยลขัติยา)

สวัสดีค่ะพี่ชิว

เหมือนเคยเห็นข้อความแนวนี้ผ่านตาเหมือนกันค่ะ คิดคล้ายๆที่เค๊าวิเคราะห์ว่า ส่วนใหญ่เป็นคำสั้นๆที่พอเดาได้ ถ้าศัพท์ที่ยากและยาวหลายๆคำในประโยค ก็แปลไม่ถูกเหมือนกันค่ะ  ส่วนเรื่องของคนที่จับผิดการสะกดคำ ใช่เลยค่ะ บางคนมีความละเอียดในการ proof read มากค่ะ เค๊าจะหาเจอได้ดีกว่าเราทุกทีสิน่า..ความถนัดของแต่ละคนไม่เหมือนกันจริงๆนะคะ

คุณ Conductor เคยตอบต้นกล้าไว้ในอนุทินค่ะว่า "มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริจด์หลายปีมาแล้วครับ บอกว่าสมองเราน่าจะรับรู้คำได้ถ้าตัวอักษรแรกและตัวสุดท้ายของคำอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยที่อักษรตัวอื่นในคำสลับที่กัน (หมด)"

  • ดีจังค่ะ วางลิงค์มาบันทึกและเอกสาร พี่ชิว ไว้ในไฟล์อัลบั้ม ที่นี่ ด้วยค่ะ
  • ตั้งใจจะรอหนังสือของอาจารย์อย่างเงียบๆ แต่...

ม่ไรอเงีบยๆ แวล้ ทงวเฉยเยล...ดีไหมคะ ^^ ล้อเล่น

ถามคำถามที่ไม่เข้าใจตัวเองบ้างดีกว่าค่ะ มันเกี่ยวกับสมองตรงส่วนไหน

  • พี่ถนัดซ้าย และอีกหลายคนที่ถนัดซ้าย เรามีอะไรเหมือนๆกัน ที่หาคำตอบไม่ได้คือว่า ทำไมพวกเราถึงสามารถเขียนตัวพยัญชนะกลับด้านได้หน้าตาเฉยและรวดเร็วด้วยคะ ทุกวันนี้ยังมีติดขัด ตัว ร เรือ เขียนหางไปทางซ้ายบ่อยค่ะ
  • งงตัวเองมากมาย

ข้อสังเกบรรณาธิการหนังสือมืออาชีพมักจะตาไวกับคำที่สะกดผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ แม้จะมองผ่านเพียงแว่บเดียวก็ตามที ไม่เชื่อก็ลองส่งบทความที่มีจุดสะกดผิดให้มนุษย์พันธุ์พิเศษกลุ่มนี้อ่านดูได้!

 

เดาเล่นๆ ในG2K นี้มีหลายคนแน่ะค่ะ

  • คนนี้ด้วย...มั้ยนะคะ
  • P และ P   (ถ้าตรวจข้อสอบการบ้านน้องจ๊ะเสร็จนะคะ)
  • ^^ 

แกล้งเขียนให้ผิดใช่ไหมล่ะ

เพราะข้อความของพี่ชิวเขียนถูกแล้ว "ข้อสังเก"

เอ๊ะ หรือหาว่าใครเป็นเกย์??

  • มาขำๆๆ
  • ยังไม่ได้เล่า
  • พี่ดาวก็ น้องแค่อ่านผ่านๆๆ
  • วันก่อนเจอคุณครูท่านหนึ่งใน gotoknow
  • สอนวิธีการเปลี่ยนรูถ่ายในบล็อก
  • โห ต้องรีบเขียนไปบอกทันที
  • ขำๆๆ
  • จะลองไปอ่านบทความพี่ชิวดูนะครับ
  • ขอบคุณครับ

พี่ชิวค่ะ (เรียกตามคนนี้ค่ะ อ.ขจิต ฝอยทอง )

พี่ต้องรีบมาแก้ตัวก่อนพี่ชิวจะมา...555

  • แก้ตัวว่า วันนี้เครื่องคอมที่ทำงานทรยศมากๆ Copy แปะ แล้วก็ฟอนต์ประหลาดๆ ตัวเล็กจิ๊ด แต่ไหงเบ้อเร่อได้ด้วย ลบก็ไม่ออก ดูเถอะบรรทัดยังยาวเป็นอาถรรพ์อะไรเนี่ย เต่ามันเดินช้ามาไม่ทันสิคะ
  • เฮ้อ ของพี่ชิวเค้าเขียนถูกต้องดีอยู่แล้ว คำที่หายไปมีหายมากกว่านั้นด้วยนะเออ...ลองเดาซิคะ

สวัสดีครับ อาจารย์หมู (อู๊ดๆ) ธ.วั ช ชั ย

        มดยอบ = myrrh (ออกเสียงว่า เมอร์)

The American Heritage Dictionary ให้ความหมายไว้ว่า

myrrh
1. An aromatic gum resin obtained from several trees and shrubs of the Genus Commiphora, of India, Arabia, and eastern Africa, used in perfume and incense.
2. Sweet cicely (sense 2).


ส่วน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายไว้ว่า

มดยอบ
น. ยางหอมสีแดงอมเหลืองหรือน้ำตาลอมแดง ได้จากรอยแตกของเปลือกหรือจากการกรีดเปลือกไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Commiphora วงศ์ Burseraceae เช่น ชนิด C. abyssinica (Berg) Engl., C. molmol Engl. ใช้ทำยา แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง และใช้ในพิธีทางศาสนา

        เคยอ่านบทความที่ฝรั่งเขียนไว้ว่า มดยอบ (myrrh) นี่เป็นหนึ่งในของ 3 อย่างที่ ปราชญ์ 3 ท่าน (Magi) นำไปนมัสการพระกุมารน้อย (พระคริสต์แรกประสูติ) ด้วยครับ

        ประเด็นสุดท้ายนี้ ถ้าคุณซูซาน (Little Jazz) แวะผ่านมาอีกครั้ง ก็รบกวนช่วยแก้ไข หากผมเข้าใจผิดด้วยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าไว้เลย ^__^ 

 

สวัสดีครับ อุ๊ a l i n_x a n a =)

      ใช่แล้วครับ ถ้าคำสั้นๆ ก็เดาได้ไม่ยากมาก ยิ่งถ้าบริบท (context) ช่วยด้วย บางทีนึกล่วงหน้าได้เลยว่าความหมายต่อๆ ไปจะเป็นอะไร

       ส่วนเรื่องการตรวจจับคำสะกดผิส เอ้ย! สะกดผิด (อิอิ) อย่างที่ สนพ. สารคดี นี่ คนที่ทำหน้าที่นี้เป็นสุภาพสตรี ก็เลยได้รับสมญานามว่า "คุณนายละเอียด" ครับ

สวัสดีครับ ซูซาน Little Jazz

       คำอธิบายที่ว่า "สมองเราน่าจะรับรู้คำได้ถ้าตัวอักษรแรกและตัวสุดท้ายของคำอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยที่อักษรตัวอื่นในคำสลับที่กัน (หมด)" แล้วอ้างงานวิจัยของ Cambridge University ตามที่คุณ Conductor อธิบายไว้นั้น เป็นคำอธิบายที่แพร่หลายกันโดยทั่วไปครับ (ซึ่งอาจจะยังไม่แม่นยำนัก)

       ยังมีอีกมุมมองหนึ่ง โดยคุณ Matt Davis นักวิจัยของ Cognition and Brain Science Unit ซึ่งอยู่ที่ Cambridge University ได้อธิบายไว้ต่างกัน ตามที่ปรากฏในบทความที่ให้ไว้ครับ (ข้อ 2 & 3)

สวัสดีครับ พี่ดาว ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี

      เรื่องถนัดซ้ายแล้วเขียนกลับด้านได้นี่ น่าสนใจมากจริงๆ เพราะอัจฉริยะอย่าง Leonardo da Vinci ก็ถนัดซ้าย และเขียนกลับด้านเช่นกัน!  ^__^

      เรื่องนี้ถ้าใครรู้คำตอบ ก็บอกมากหน่อยเถิด...

ปล. ส่คหงสืองไปปาล้วรันั หน่าจะถึงแต้บนสัดาห์น้
(ต้องถอดรหัสเอาเองแล้วล่ะครับ...อิอิ)

สวัสดีครับ อ.แอ๊ด ขจิต ฝอยทอง

       คุณวินทร์ เลียววาริณ เคยเอาคำนี้ไปเล่นเหมือนกัน แต่ใช้ในความหมายว่า "รูถ่าย" = aperture ของกล้อง อะไรทำนองนี้

       เคยมีนักเขียน-บรรณาธิการท่านหนึ่ง คือ อาจารย์วิริยะ สิริสิงห์ (ผู้ก่อตั้ง สนพ. ชมรมเด็ก ปัจจุบันท่านสิ้นบุญแล้ว) เล่าไว้ว่า ท่านสงสัยเหลือเกินว่าทำไมวัยรุ่นสมัยนี้ถึงได้ติดนิยายเกาหลีเหลือเกิน...

       จนกระทั่งวันหนึ่งท่านลองไปอ่านดูบ้าง ก็พบข้อความซึ่ง (ควร) เขียนว่า
        "ชายหนุ่มหลับตาปี๋จุมพิตหญิงสาว...."
       แต่ที่พิมพ์ไว้นั้น แทนที่จะเป็นไม้จัตวา + กลับพิมพ์เป็นไม้โทแทน! (อุ๊บส์ ชักจะติดเรท :-P)

       ท่านก็เลยถึงบางอ้อว่า อย่างนี้นี่เองพวกวัยรุ่นถึงได้ชอบอ่าน ;-)

       อ้าจารย์หมู๋ครั้บ อย๋างนี่ปรั่บกี้บ่าทดี๋? 5555555

ลองอ่านดูข้อ 11 ค่ะ มดยอบนี่คนไทยไม่ค่อยจะรู้จักหรอกค่ะ ของสามสิ่งที่ Magi ถวายคือ "ทองคำ กำยาน และมดยอบ" เป็นสัญลักษณ์แทนที่มีความนัยในตัวเอง
- ทองคำ เป็นสิ่งที่แสดงว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ของกษัตริย์ เป็นจอมเจ้านายเหนือเจ้านายทั้งปวง (King of Kings and Lord of Lords) เพราะทองคำเป็นสิ่งมีค่า ควรคู่กับผู้ที่อยู่สูงสุด ณ สมัยนั้น
- กำยาน เป็นยางไม้หอมที่ปุโรหิตหรือนักบวชใช้เผาเพื่อบูชา นมัสการพระเจ้า เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงการยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า กำยานในภาษาละตินเรียกว่า Incensum แปลว่าบางสิ่งที่ถูกเผาไหม้ ในทางศาสนาถือว่าเป็นเครื่องชำระให้บริสุทธิ์ น่าจะประมาณเดียวกับพวกอินเดียที่ใช้จุดบูชาเทพเจ้า ซึ่งต่อมากำยานหรือเครื่องเผาเพื่อให้เกิดกลิ่นหอมก็พัฒนาเป็นธูปเพื่อความสะดวกในการใช้งาน (เรื่องธูปอันนี้สันนิษฐานเติมค่ะ ไว้ว่างๆ จะไปหาข้อมูลมาประกอบอีกที)
- มดยอบ อันนี้ล่ะที่พูดถึง ตัวมดยอบเองเป็นน้ำมันหอมชโลมศพเพื่อดับกลิ่นในสมัยโบราณ มีราคาแพงมาก และที่ Magi มอบให้ก็เล็งให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ในการบังเกิดว่า เกิดมาในสภาพของมนุษย์และมาเพื่อตายไถ่บาป เป็นการพยากรณ์ล่วงหน้าค่ะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
มดยอบ น. ยางหอมสีแดงอมเหลืองหรือนํ้าตาลอมแดงได้จากรอยแตกของเปลือกหรือจากการกรีดเปลือกไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Commiphora วงศ์ Burseraceae เช่น ชนิด C. abyssinica (Berg) Engl., C. molmol Engl. ใช้ทํายา แต่งกลิ่นเครื่องสําอางและใช้ในพิธีทางศาสนา.

สวัสดีครับ ซูซาน Little Jazz

       ขอบคุณมากเลยครับ สำหรับความรู้ที่มีค่าเช่นนี้ ^__^

       เวลาที่มาช่วยกันต่อยอดความรู้นี่รู้สึกดีจัง แต่ที่มีค่ามากกว่านั้น คือ การที่เราเข้าใจเพื่อนที่อาจจะมีความเชื่อ-ความศรัทธาแตกต่างจากเรามากยิ่งขึ้นครับ

Thankbuncha 

  • ส่คหงสืองไปปาล้วรันั หน่าจะถึงแต้บนสัดาห์น้
  • เอาแล้วสิคะ จะอ่านยังไง ^^
  • (แอบเอาภาพประกอบเรื่องเป็ด เป็ด ตอนเป็ดไม่ได้อยู่รวมฝูงมาใช้งานเลยนะคะเนี่ย)

สวัสดีครับ พี่ดาว

        พี่เขียนหนังสือกลับด้านเก่งจริงๆ ด้วย ^__^

ส่วนคุณเป็ดนี่อย่าหลงฝูงบ่อย ถ้าจะให้ดีต้องมีผู้นำแบบนี้ครับ ;-)

ปล. ประโยคสลับอักษร ผมขอปล่อยทิ้งไว้ให้งงต่อไป...อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท