ค.คน ไปดูควาย


ภาพแรกที่เห็น บริเวณแพให้อาหารปลา ไม่มีเจ้าหน้าที่ มีเพียงตู้รับบริจาค ตะกร้าอาหารเม็ด ถังขยะ แล้วก็เก้าอี้สำหรับนั่งมองปลาริมแพ ผมว่าอันนี้วัดใจคนเลยนะครับ

ค.คน เที่ยวดูควาย

ค.ควาย เข้านา... เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา มีโอกาสและเวลาว่าง พาลูกๆและคนที่รัก ไปเที่ยวมา ที่ไหนน่ะรึ ก็หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีนี่เอง พวกเราออกจากบ้านกันช่วงสายๆ มีเจ้าอะตอมคนพี่ และคนน้องเจ้าออโต้ ทั้งสองคนหล่อไม่ยอมกัน ก็ด้วยฝีมือการแต่งตัวของแม่เขานั่นแหละ

                ผมขับรถมาถึงที่หมาย น่าแปลกใจ..นี่มันก็จะสิบโมงเช้าอยู่แล้ว รถของผมเข้ามาจอดเป็นคันที่สาม (เอ...หรือว่าเราจะมากันเช้าไปหน่อย) เอาหล่ะช่างเถอะ ยังไงก็มาถึงกันแล้ว เตรียมตัวลงไปเที่ยวกันดีกว่า พวกเราเดินตรงไปที่จุดติดต่อขายตั๋ว ผู้ใหญ่คนละ ๒๐ บาท เด็กคนละ ๑๐ บาท (ราคาเป็นกันเองอย่างมาก หาได้ยากแล้วนะครับ ค่าเข้าชม ๒๐ บาทต่อคน)

               ทางเข้าด้านหน้า มีป้ายบอกว่าเป็นหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย ด้านข้างมีรูปปั้นเด็กน้อยกำลังสนุกสนานอยู่บนควายตัวเขื่อง พวกเราเดินผ่านไปโดยไม่ได้ใส่ใจรายละเอียดมากนัก หลังจากเข้าไปข้างใน เจ้าตัวซนทั้งสอง ก็มาหยุดอยู่ที่สระน้ำ (แต่ก็ไม่แน่ใจเท่าไหร่นะ) ในสระน้ำมีรูปปั้นควายอยู่นอนอ้าปากอยู่กลางสระชื่อเจ้านิล และมีป้ายเขียนบอกไว้ว่า ทำบุญให้อาหารสัตว์ เพลินไปเลยทั้งสองหนุ่ม เล่นกันไปคนหลายเหรียญ แข่งกันโยน เอ๊า! เข้าหรือไม่เข้า...

                 หลังจากสนุกกันจนเหรียญเกือบหมด พวกเราก็ย้ายทัพมาที่บริเวณให้อาหารปลา เจ้าออโต้(คนเล็ก) ตอนนี้อายุ ๑ ปี ๒๙ วัน กำลังเมามันกับการเริ่มเดิน ก็มีบ้างที่จะเป๋ไปเป๋มา แต่ก็ไม่สนใจใคร เวลาข้าเดินใครอย่ายุ่ง!!!

 

ภาพแรกที่เห็น บริเวณแพให้อาหารปลา ไม่มีเจ้าหน้าที่ มีเพียงตู้รับบริจาค ตะกร้าอาหารเม็ด ถังขยะ แล้วก็เก้าอี้สำหรับนั่งมองปลาริมแพ ผมว่าอันนี้วัดใจคนเลยนะครับ เพราะผมเหลือบไปเห็นเหรียญบาท ในตู้บริจาคค่าอาหารปลา (เท่าที่นับได้มีสามเหรียญ) ทั้งที่เขาเขียนไว้ว่า บริจาคค่าอาหารปลาถุงละ ๑๐ บาท แต่..เอ ทำไมจึงมีเหรียญบาทเพียง ๓ เหรียญนะ (ผมว่าน่าคิดนะครับ) ความซื่อสัตย์ เป็นสมบัติของผู้ดี

 

 

                เอาละครับ ช่างเถอะ อย่างไรเสีย ก็ไม่ทำให้เจ้าจอมซนทั้งสองคนของผม เปลี่ยนความตั้งใจได้ อะตอมครับ เอาแบงค์ยี่สิบนี่ ไปใส่ในตู้ลูก แล้วหยิบถุงอาหารปลามาแบ่งกับน้องคนละถุง แม่เจ้าออโต้บอก.แล้วเวลาแห่งรอยยิ้มก็มาถึง

                ความสนุกสนานย่อมมีจุดสิ้นสุด ผมต้องรีบชวนเจ้าตัวป่วนทั้งสองคนของผม ออกจากบริเวณแพปลาโดยด่วนก่อนที่ ภรรยาของผมจะควันออกหู ก็จะอะไรซะอีกหล่ะครับ ทั้งพี่ทั้งน้องผลัดกันหยอดตู้บริจาคไม่เลิกนะซิครับ อาหารปลาหมด ก็ร้อง เอาอีก เอาอีก อะตอมจะให้ปลากินอีก ผมชวนไปดูฝูงควายที่บริเวณลานแสดงควาย ก่อนที่จะทำการโชว์ฝีมือวาดลวดลาย ผมว่าควายที่นี่บางตัว ฉลาดกว่าคนอย่างเราๆอีกนะครับ (ไม่เชื่อลองมาพิสูจน์ซิครับ) เจ้าควายหลายๆ ตัวก็กำลังพักผ่อน บ้างก็กินหญ้า บ้างก็นอน (จริงๆ ก็น่าอิจฉาอยู่ไม่น้อย กินอิ่ม นอนสบาย)

                เดินเลยเข้าไปด้านใน ก็จะเป็นพิพิธภัณฑ์ชาวนา เขาจัดแสดงวัสดุ สิ่งของเครื่องใช้ไม้สอย ในยุคเก่าๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ แทบจะไม่ได้เห็นอีกแล้ว แถมยังมีภูมิปัญญาชาวบ้านให้ชมอีกด้วย เช่น เตาอุโมงค์เผาถ่าน

 

 

 

 

 

 

 

                     ใกล้กันนั้นบริเวณด้านขวา ก็จะมีนกหลากหลายชนิดส่งเสียงกันเจื้อยแจ้ว ดึงดูดความสนใจของเจ้าตัวแสบทั้งสองคนของผมยิ่งนัก เรียกได้ว่าผมหมดโอกาสที่จะได้ชมสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ชาวนาไปเลย เพราะเสียงเจ้านกโพระดกทีเดียวเชียว แต่ก็ไม่เป็นไรครับ เพราะครั้งนี้ผมตั้งใจจะพาลูกๆ มาเที่ยว (ไม่ใช่พาตัวเองมาเที่ยวซะหน่อย)

 

 

 

               เราเดินชมกันโดยรอบ แม้ว่าครั้งนี้พวกเราจะไม่ได้นั่งชมการแสดงของควายไทยก็ตาม (พอดีมีกลุ่มนักศึกษา เขามาทัศนศึกษากัน ๓ คันรถบัส คนก็มากโขอยู่ พวกเราจึงตัดใจ ไว้มาชมกันวันหน้าดีกว่า วันนี้ก็เลยปล่อยให้นักศึกษาเขาได้ดูการแสดงของควาย อันแสนฉลาดกันอย่างเต็มที่ไปเลย) อ้อ! ลืมบอกไป ที่นี่มีควาย ๕ ขา ด้วยนะครับ

                หลังจากที่หลบพ้นความวุ่นวาย ออกมาได้ พวกเราก็มาหยุดอยู่ที่ใต้ถุนบ้านทรงไทยหลังหนึ่ง (ซึ่งแท้จริงแล้ว เรามาตามกลิ่นหอมของขนมหลากหลายชนิด) ที่บรรดาคุณป้า คุณยาย กำลังตั้งใจทำกันอย่างเต็มที่ มีทั้งเม็ดขนุน ฝอยทอง ขนมครก ข้าวตู และอีกมากมาย (ขอบอกว่าอร่อยมาก ชิมเกือบหมดทุกอย่างเลย)

                อิ่มและหายเหนื่อยกันแล้ว พวกเราก็พากันกลับบ้าน ด้วยเหตุว่าเจ้าออโต้ หลับคาไหล่คุณแม่ไปแล้ว สำหรับเจ้าอะตอม แม้จะยังไม่หลับ แต่ก็ขี้เกียจเดินแล้ว สรุปว่าวันนี้ผมมีความสุขมากที่ได้ทำตามความตั้งใจ คือ พาลูกๆ และคนที่รัก มาเที่ยว

ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว

หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย (บ้านควาย) ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 340 (สุพรรณบุรี-ศรีประจันต์) กิโลเมตรที่ 115-116 เป็นสถานที่รวบรวมวิถีชีวิตแบบพื้นบ้านภาคกลาง มีพื้นที่ 100 กว่าไร่ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น หมู่บ้าน ชาวนาแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีลานนวดข้าว คอกควาย โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านเรือนไทยภาคกลาง เรือนแต่ละหลังมีกิจกรรมสำหรับผู้สนใจ เช่น เรือนแพทย์แผนไทย การนวดแผนไทย และการใช้สมุนไพร เรือนโหราศาสตร์ มีลานแสดงควายช่วงเช้าแสดงรอบ 11.00-11.30 น. ช่วงบ่ายรอบ 16.30-17.00 น. ด้านหน้าทางเข้ามีร้านขายสินค้าที่ระลึกของบ้านควายสำหรับนักท่องเที่ยว บ้านควายเปิดให้เข้าชมทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ 09.30-18.30 น. ค่าบัตรผ่านประตู ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ค่าชมการแสดง ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ค่านั่งเกวียน ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาทแต่ถ้าซื้อบัตรแบบเหมา ทั้ง 3 รายการ ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท ครับผม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สำนักงานกรุงเทพฯโทร. 0 2619 6326-9 สำนักงานสุพรรณบุรีโทร 0 3558 1668 เว็บไซต์ : www.buffalovillages.com

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 194109เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2008 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ เพื่อนไพศาล

อ่านแล้วเพลิดเพลิน มีความสุข กับครอบครัว...ดีใจด้วยครับ กับเรื่องราวที่มีความสุข

ให้กำลังใจในการเขียนบันทึกดีๆเรื่อยๆนะครับผม

 

 

 

ไม่ธรรมดา นึกว่าบินเดี่ยวจะไม่มา เป็นกำลังให้ให้นะน้อง

  • ตรงใจพอดีเลยค่ะ กำลีงว่าปิดเทอมจะพาลูกสาวไปฝึกทำนาที่บ้าควายนี่ล่ะค่ะ
  • เคยไปมากันครั้งนึง บรรยากาศดีนะ
  • ได้พาน้องๆไปดูควายเผือกมั้ยค่ะ สวยนะ

สวัสดีและขอขอบคุณทุกความคิดเห็น (ดีใจอย่างล้นเหลือ)

ขอบคุณเพื่อนจตุพร(เอก ปางมะผ้า)บอกตรงๆ ว่า แรงบันดาลใจ

ที่ทำให้เพื่อนอยากเขียนบันทึก ก็นายนั่นแหละ

ยังไงเราก็จะพยายาม เขียนบันทึกที่มีประโยชน์ ให้มากขึ้นนะ

ขอบคุณครับพี่จักรพงษ์ (เอก สาระวิน) ว่างๆ เข้าไปดูใน box

เมลล์บ้างนะพี่ ส่งมาให้หายเงียบเลย อย่ามัวเพลินกับการเขียนบันทึกซิ

ขอบคุณมากครับ (โรงเรียนพ่อแม่) ผมพาเด็กๆ ไปเที่ยวบ่อยๆ ครับ

เพราะว่าบ้านอยู่ใกล้ๆ แถวนั้น พวกเขาชอบดูปลา ดูนก ดูควายห้าขา ควายเผือก

ก็ดูครับ เขายังถามว่า "ทำไม ควายตัวนั้น ไม่เป็นสีดำ" ก็ได้ประสบการณ์ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท