การกำกับติดตาม และนิเทศงานทางการศึกษา


ศึกษานิเทศก์เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ ศึกษานิเทศก์ยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องมีสมรรถนะที่สำคัญ หลายประการ

       การกำกับติดตามและนิเทศงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพงานใด ๆ  เฉพาะในวงการศึกษา ถือเป็นกิจกรรมสำคัญยิ่ง ที่จะมีผลต่อการเร่งรัดหรือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ ทั้งนี้ ในกระบวนการกำกับติดตามและนิเทศงานทางการศึกษา ศีกษานิเทศก์ เป็นกลุ่มบุคลากรทางการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในเรื่องนี้

       ศึกษานิเทศก์ยุคปัจจุบัน(2551) จำเป็นต้องมีสมรรถนะที่สำคัญหลายประการ  ทั้งด้านการวางแผน การกำกับติดตามงาน การวิจัย การประเมินผล ความสามารถในการสื่อสาร ตลอดจนคุณลักษณะส่วนบุคคล เช่น มนุษย์สัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม ความเป็นนักประชาธิปไตย ฯลฯ  ต่อไปนี้ก็เป็นรายการสมรรถนะที่สำคัญส่วนหนึ่งที่เห็นว่าศึกษานิเทศก์จะต้องมี คือ

1)  ความสามารถในการจัดการองค์ความรู้เพื่อการนิเทศ(KM for Supervision)..เน้นระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ผ่านจอภาพหรือใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการจัดการองค์ความรู้

2)  ความสามารถในการบริหารจัดการในการนิเทศอย่างเป็นระบบ   คือ...วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเพื่อการนิเทศได้  พัฒนาทางเลือกใหม่ ๆเพื่อการนิเทศได้  วางแผนนิเทศและสร้างเครือข่ายผู้ร่วมนิเทศได้  ปฏิบัติการนิเทศด้วยเทคนิคที่หลากหลายพร้อมทั้งมีการกำกับติดตามงานอย่างเป็นระบบ  และ มีการประเมินผลการนิเทศ

3)  ความสามารถในการนิเทศเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา...นิเทศเพื่อมุ่งแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ของครู ของโรงเรียน หรือของเขตพื้นที่การศึกษา....จะต้องวิเคราะห์ปัญหาคุณภาพการศึกษาได้ ระบุหรือเรียงลำดับปัญหาได้ จัดหมวดหมู่ปัญหาได้ จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน-ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา

4)  ความสามารถในการนิเทศเพื่อป้องกันปัญหาทางการศึกษา...วิเคราะห์ความเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงทางการศึกษาของสถานศึกษา  หรือของเขตพื้นที่การศึกษา ตลอด 12 เดือนได้  วางแผนหรือจัดทำปฏิทินการนิเทศที่สอดคล้องหรือรองรับการป้องกันปัญหาได้อย่างเหมาะสม

5)  ความสามารถในการนิเทศเพื่อยกระดับหรือพัฒนางานคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ...การทำหน้าที่แกนนำ นำแนวคิดใหม่ มาใช้ในการจัดการศึกษา  การสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมพัฒนา  การบริหารจัดการชุดโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม

การะบุสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ดังกล่าวข้างต้น เป็นการมองงานของศึกษานิเทศก์ เป็น 3 ลักษณะ คือ 1) งานแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา(กรณีคุณภาพต่ำ หรือไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ) 2) งานป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในเขตพื้นที่การศึกษาหรือในโรงเรียน(สักวันหนึ่งจะเกิดปัญหา หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหา) และ 3) งานยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ  หรือการนิเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่นักเรียน ครู  และโรงเรียน

        ในโอกาสต่อไป จะขอขยายความแนวคิด หรือแนวปฏิบัติในแต่ละประเด็น

หมายเลขบันทึก: 195247เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 13:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ศึกษานิเทศก์ทำงานตรงกับบทบาทหรือเปล่า มีหนังสือให้โรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมิน จาก สมศ.ให้จัดทำแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาแล้วจะมาติดตามผล เกือบจะหมดเทอม 1 แล้ว ไม่เห็นมาเลย มีความจริงใจที่จะช่วยกันแก้ปัญหาหรือเปล่า

การกำกับ ติดตาม เป็นการทำงานแบบมีส่วนร่วมแสดงถึงข้อมูลที่ได้จากการเข้าไปศึกษาการดำเนินกิจกรรม มีการนำไปใช้วิเคราะห์เพื่อพัฒนา จัดทำต่อไปใช่หรือไม่ค่ะท่านอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท