เชิญผู้เกี่ยวข้อง ร่วมพิจารณา ทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2444


ขณะนี้ มีการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับปรับปรุง 2551 แล้ว ในรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลง ผมมองว่าไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปจากหลักสูตร 2544 มากนัก สิ่งหนึ่งที่ครู ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และนักวิชาการจะต้องช่วยกันคิด คือ "ช่วยกันวิเคราะห์จุดอ่อน ทบทวนสิ่งที่ผ่านมาให้ชัดเจน" ก่อนที่จะก้าวไปข้างหน้าต่อไป

 1.  ความเป็นมาและเหตุผลในการเปลี่ยนหลักสูตร เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 

1.  หลักสูตรในอดีตไม่สนองความต้องการของสถานศึกษา ท้องถิ่น

2.  คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ไม่ประสบความสำเร็จ 

3.  นักเรียนขาดทักษะกระบวนการ และความคิดสร้างสรรค์

3.  นักเรียนขาดนิสัยใฝ่เรียน  วิธีการเรียนรู้  ขาดความสามารถ

    ในการเผชิญปัญหา

4.  ภาษาเพื่อการสื่อสารยังไม่ประสบความสำเร็จ

คำถาม 1...ณ วันนี้  ปี 2551   ปัญหาเหล่านี้แก้ได้หรือยัง หรือมีแนวโน้มดีขึ้น หรือไม่ เพียงใด

  2. หลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544

1.  เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ เน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

2.  เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

4.  เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ  เวลา และการจัดการเรียนรู้

5.  เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้และประสบการณ์ 

 

 คำถาม 2 ณ วันนี้  ปี 2551   หลักการทั้ง 5 ประการ ได้รับการตอบสนองอย่างจริงจังเพียงใด

  

 3.  จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2544

กำหนดจุดมุ่งหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่อไปนี้

1.  เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง  ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์

2.  มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน การเขียน และการค้นคว้า

3.  มีความรอบรู้อันเป็นสากล  รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ  มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการคิด วิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์

4.  มีทักษะและกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์   ทักษะการคิด  การสร้างปัญญา และทักษะในการดำเนินชีวิต

5.  รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี

6.  มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าเป็นผู้บริโภค

7.  เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย เป็นพลเมืองดี  ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

8.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม  ประเพณี  กีฬา  ภูมิปัญญาไทย  ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

9.  รักประเทศชาติและท้องถิ่น  มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม

 

คำถาม 3 จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ทั้ง 9 ประการ นับจนถึงวันนี้ ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 195276เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

การศึกษาไทย...

ปฏิรูปการศึกษาไทย...ปฏิวัติการศึกษาไทย...มีอะไรบ้างที่มีการเปลี่ยนแปลง.

1...................?

2...................?

3...................?

ผมยังคิดไม่ออกเลยนะครับ...

สิ่งสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร กฎหมายการศึกษา อื่น ๆ ...ผมว่าไม่ใช้ปัญหา...ปัญหาอยู่ที่การปฏิบัติว่าเราทำจริงจังกันเพียงใด

ผมเห็นด้วยกับข้อคำถามข้างบนเป็นอย่างมาก... (รัฐบาลแก้รัฐธรรมนูญเสร็จคงตอบเราได้นะครับ)

ขอบคุณครับ...

  • ขอบคุณครับที่ร่วมแสดงความคิดเห็น
  • ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่ตัวหลักสูตร  ปรับกี่ครั้งก็อาจให้ผลลัพธ์แบบเดิมครับ

คำถาม 1...ณ วันนี้  ปี 2551   ปัญหาเหล่านี้แก้ได้หรือยัง หรือมีแนวโน้มดีขึ้น หรือไม่ เพียงใด

จากปัญหาที่อาจารย์กล่าวมา...มีปัญหาที่ได้ดำเนินการแก้ไขไปแล้ว...บางปัญหาก็ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่น นักเรียนขาดความสามารถในการเผชิญปัญหา แต่เรื่องที่สำคัญคือเรื่อง หลักสูตรท้องถิ่นนะค่ะ...อยากให้มีการดำเนินการให้ชัดเจน

 คำถาม 2...ณ วันนี้  ปี 2551   หลักการทั้ง 5 ประการ ได้รับการตอบสนองอย่างจริงจังเพียงใด

หลักการทั้ง 5 ประการในฐานะครูผู้สอนเห็นว่า การสอนของครู

ในยุคปัจจุบันก็ใช้แนวยึดนักเรียนเป็นสำคัญ ส่วนในประเด็นอื่นๆ ต้องปรับปรุงและพัฒนาต่อไปให้ชัดเจนนะค่ะ..โดยเฉพาะการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  สถานศึกษาเราทำเฉพาะเพียงการศึกษาในระบบ....และในทางปฏิบัติการเทียบโอนหน่วยการเรียนรู้และประสบการณ์ก็ทำได้ยาก สรุปหลักการบางหลักการเรายังไม่ได้ดำเนินการให้ชัดเจน และต่อเนื่องเลยค่ะ

คำถาม 3 จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ทั้ง 9 ประการ นับจนถึงวันนี้ ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด

จุดมุ่งหมายทั้ง 9 ประการ...ถ้าประเทศเราทำสำเร็จนักเรียนของเราก็เป็นบุคคลคุณภาพ....แต่เรายังไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพครบทั้ง 9 ข้อ  และบางข้อยังไม่ชัดเจนในการดำเนนิการเช่น ข้อ 6

----------------------

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ฉบับนี้หลักการ จุดมุ่งหมายเขียนได้ชัดเจน โครงสร้างก็ชัดเจนสอดคล้องตามทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีทางจิตวิทยา...ปัญหาอาจจะไม่ได้อยู่ที่ตัวหลักสูตรค่ะ...แต่การปรับหลักสูตรก็ไม่ใช้เรื่องแปลก...หากผลการประเมินการใช้หลักสูตรพบว่ามีจุดบกพร่อง.....แต่ก็อยากให้ทบทวนให้ครบถ้วนทั้งบริบท ปัจจัยป้อนเข้า กระบวนการ และผลผลิตค่ะ

  • จุดมุ่งหมายทั้ง 9 ประการ...ถ้าประเทศเราทำสำเร็จนักเรียนของเราก็เป็นบุคคลคุณภาพ
  • เริ่มมองแล้ว ใช่ไหมครับว่า  นักวิชาการและกระทรวงศึกษาธิการ เก่งมากในยกร่างหลักสูตร     "ตรงตามหลักวิชาและหลักจิตวิทยา หรือตรงตามความต้องการของประเทศอย่างแน่นอน"
  • แล้วปัญหาหรือรากของปัญหา อยู่ที่ไหนกันแน่ ที่ทำให้คุณภาพเด็ก ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ

"ทำอะไรตามใจ คือไทยแท้" อาจเป็นสาเหตุที่ 1

คนไทยเก่งเรื่องฉายเดี่ยว, ร่วมมือร่วมใจเป็นทีม ไม่สำเร็จ

ความคิดเห็นคนเดียวนะคะ อาจไม่ใช่ก็ได้

  • กำลังมองว่า "คนไทย ทำอะไรตามสบาย ตามใจตัวเอง ตามที่ถนัดและสนใจ มากกว่าที่จะจริงจังตามที่หลักสูตรกำหนด" หรือครับ คุณจิด้า
  • หรือว่า อ่อนที่ "ระบบกำกับติดตามและตรวจสอบ(หรือประเมินผล)"

อาจารย์คะ หนูว่าระบบติดตาม ดีอยู่ เว้นเสียแต่ว่ามีการซ่อนปัญหารายงานไม่ตรงความจริง

แต่ที่เขียนว่า รวมตัวกันไม่ได้ ทำตัวตามใจ งานที่วางแผนไว้ดี จึงทำไม่ได้ตามที่คาดหมายในแผนค่ะ

ครูเก่าแก่ โรงเรียนข้างบ้าน เคยบ่นว่า "ครูสมัยใหม่ ไม่สนใจสอน ถึงเวลาเข้าสอน มัวนั่งแต่งตัว....."

ถ้าครูเป็นแบบอย่างที่ดี นักเรียน ซึมซับ และน่าจะประพฤติตัว ตามอย่างแม่แบบ ดีไปด้วย

เช่น

นิสัยใฝ่เรียนใฝรู้ ครูน่าจะทำพฤติกรรมให้เด็กเห็นซ้ำ ๆ มากกว่า บอกว่า"เธออ่านซิ,เธอไปค้นงานมาซิ"

ออกกำลังกาย ก็เช่นกัน ครูไม่ออก นั่งอยู่กับเก้าอี้ แต่กระตุ้นให้เด็กออกกำลัง,มีแต่ครูพละที่จำเป็นต้องนำเด็กเรียน ฯลฯ

ทัศนะ คนนอกกระทรวงศึกษาค่ะ

  • เรื่องปฏิรูปครู ก็คงเป็นเรื่องหนึ่งครับที่ต้องทำกันอย่างจริงจัง ครับ
  • ยังขาดระบบจูงใจที่จะดึงคนเก่งมาเป็นครู
  • ปัจจุบันครูทำงานหนักเกินไป รับภาระหลายเรื่อง จนไม่มีเวลาดูแลหรือพัฒนาเด็กได้อย่างเต็มที่(ทั้ง ๆ ที่เป็นงานหลัก)

เรียน ท่านอ.สุพักตร์ หนูขอแสดงความคิดในเรื่องบุคลากรนะค่ะ ซึ่งหนูมองว่า เป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้หลักสูตรบรรลุเป้าหมายนะค่ะ

  • ระดับผู้บริหาร...ภาวะผู้นำของผู้บริหารเรายังคงต้องพัฒนาซึ่งในช่วงหลังๆ มีการจัดฝึกอบรมผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง...เพื่อให้ผู้นำของเรามีศักยภาพปรับเปลี่ยนการบริหารให้เข้าบริบทได้อย่างมีประสิทธิภาพ...การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เราคงต้องสร้างผู้นำที่มองนักเรียนเป็นสำคัญเช่นครูผู้สอนนะค่ะ
  • ครูผู้สอน...ในปัจจุบันมีครูพันธุ์ใหม่ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ มีครู สควค....ซึ่งเก่งด้านวิชาการ แต่ด้านทักษะการสอนคงต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง....ปัญหาคือทำอย่างไรให้ครูพันธุ์ใหม่ไม่โดนครูที่มีประสบการณ์การสอนมากกลืน หรือทำให้ไหลไปตามกระแส ซึ่งมีอิทธิพลมากค่ะ...ในการถ่ายทอด ปลูกฝังค่านิยม
  • บุคลากรที่เกี่ยวข้อง หมายถึงบุคลากรที่สนับสนุนส่งเสริมการสอนเรายังขาดเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญการเฉพาะทางเช่น ด้านวัดผลประเมินผล ด้านสารสนเทศ ด้านการบริหารจัดการ ปัจจุบันหน่วยงานมีการจ้างลูกจ้าง...แต่ตราบใดที่คนทำงานขาดความมั่นคงแรงจูงใจในการพัฒนาศักยภาพก็มีขีดจำกัดนะค่ะ....

หนูมองว่า...เหล่านี้ก็คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรายังไม่บรรลุเป้าหมายของหลักสูตร กราบสวัสดีค่ะอาจารย์

  • สวัสดีครับคุณ Noktalay
  • เห็นด้วยว่า เรายัง week มาก ในเรื่องการสร้างผู้บริหาร ครู หรือบุคลากรทางการศึกษา  ไม่มีการกำหนดสมรรถนะที่ชัดเจน หรืออาจจะกำหนดเกือบชัดเจน โดย ก.ค.ศ. หรือ คุรุสภา  แต่กระบวนการพัฒนาและตรวจสอบสมรรถนะเป็นระยะ ๆ ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง จริง ๆ แล้ว ควรมีการประเมินศักยภาพหรือสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นระยะ ๆ เหมือน ๆ กับที่ทหาร/ตำรวจ ต้องได้รับการประเมินสมรรถนะเป็นระยะ ๆ เช่นกัน

เรียนอาจารย์ ดร.สุพักตร์

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ที่ว่าหลักสูตรดี ถ้าถามว่า

ทำไมจึงไม่ประสบความสำเร็จในฐานะผมเป็นผู้ใช้หลักสูตร

กับเด็กหากผมเป็นเช่นคนปั่นสามล้อ คนสร้างหลักสูตรเป็น

ผู้โดยสาร เมื่อไปถึงห้าแยกเขาชี้แล้วบอกว่าไปทางนี้ ทางนี้

ในขณะที่คนปั่นไม่ได้หันมามองเพราะต้องมองทางไม่ให้รถ

ตกถนน เมื่อไม่ได้มองเขาก็พาไปตามถนนที่ว่าใช่ในความคิดเขา

ผู้โดยสารก็บอกว่าแย่ต้องเปลี่ยนทางใหม่ แล้วก็ว่าครู....

ความผิดนี้อยู่ที่ใคร

  • ขอบคุณครับที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น
  • อาจารย์เปรียบเทียบได้แปลกดี

เรียน ดร.สุพักตร์

ตอนนี้เขาก็เปลียนหลักสูตรแล้วนะค่ะ ถามว่าเมื่อเปลี่ยนแล้ว

เด็กจะดีขึ้นไหมบอกไม่ได้ค่ะ

อาจารย์รู้สึกอย่างไรที่เมื่อก่อนนักเปลี่ยนหลักสูตรบอกว่า

ครูยุคเก่า ครูเก่าสอนเด็กแล้วทำให้เด็กคิดไม่ได้ คิดไม่เป็น แล้วเขา

ได้รับการสั่งสอนอบรมจากครูเก่าไหมค่ะ แล้วสิ่งที่เขาคิด มันถูกไหมนะ

หากหนูบอกอาจารย์ว่า หนูเป็นคนพูดโกหก อาจารย์จะเชื่อหนูไหมค่ะ

ถ้าอาจารย์ไม่เชื่อ แสดงว่าอาจารย์เชื่อว่าหนูพูดจริง ถ้าเชื่อว่าพูดจริง

อาจารย์ก็ควรเชื่อหนู แต่ถ้าอาจารย์เชื่อ ก็ถูกหลอกแล้วล่ะ

โทษนะค่ะหากทำให้อาจารย์สับสน .....

นักพัฒนาหลักสูตรก็ทำนองเดียวกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท