เรื่องเล่าของครูวิทย์ : ครูอินทิรา จองแค สพท.แพร่ เขต 1


    จากการที่ สพฐ. กำลังดำเนินการจัดการความรู้ ครูภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 เรื่อง การอ่านออก-เขียนได้  ครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 และ 3 โดยกำหนดหัวปลาว่าด้วยเรื่องการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในเรื่องดังกล่าว โดยในที่ประชุมปฏิบัติการได้มีการใช้ "เรื่องเล่าเร้าพลัง" เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนให้คุณครูผู้เข้าร่วมประชุมได้ดึงเอา Tacit Knowledge ที่ตนได้ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดเรียนการสอนออกมาแลกเปลี่ยนกัน ด้วยตั้งเป้าหมายว่า เมื่อครูกลับออกไปปฏิบัติการเรียนการสอนต่อจะได้นำเอาเทคนิควิธีการต่าง ๆ ทั้งที่ได้เรียนรู้จากวิทยากร คือ ท่าน ดร.โกวิท ประวาลพฤกษ์   ท่าน ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า  ท่านที่ปรึกษาวันทยา  วงศ์ศิลปภิรมย์  ท่านที่ปรึกษาชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์  ท่าน ผอ.อรทัย มูลคำ  ท่าน ผอ.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า   ท่าน ทองสุข  รวยสูงเนิน และอีกหลาย ๆ ท่าน ไปปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  

    และในการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ ก็ได้มีการแนะนำให้คุณครูรู้จัก Blog ของ gotoknow ด้วยหวังว่าเราจะร่วมกันสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเทคนิคกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้แพร่หลายมากขึ้น  ซึ่งหวังว่าหากคุณครูที่มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์พอมีเวลา ก็คงจะได้ใช้ช่องทางนี้ในการสื่อสารกัน

     ซึ่งในระยะแรก ๆ นี้คงต้องให้เวลาสำหรับการสร้าง Blog ของครู  อย่างไรก็ตามทางโครงการจะนำเสนอเรื่องเล่าของคุณครูอินทิรา มาให้อ่าน หากอยากรู้อะไรเพิ่มเติมก็สอบถามเข้ามานะคะ

เรื่อง  การพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์

ของ  นางอินทิรา  จองแค   ครู คศ.1  โรงเรียนบ้านคุ้ม (ประสารราษฎร์วิทยา)

สหวิทยาเขตยมเหนือ   อำเภอสอง   จังหวัดแพร่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1

                จากที่ข้าพเจ้าได้ทำการสอนที่โรงเรียนบ้านนาหลวง (ประชาพัฒนา) ต.สะเอียบ  อ.สอง  จ.แพร่  ในตำแหน่ง ครูอัตราจ้างสอนรายเดือน  ตั้งแต่วันที่  17  พ.ค.  2539 14  ก.พ.  2547  เป็นเวลา 8 ปี 4 เดือน รับผิดชอบสอนในวิชา วิทยาศาสตร์ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับช่วงชั้นที่ 3 (ม.1 ป.3)  จากประสบการณ์การสอน นักเรียนจะขาดทักษะทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คิดวิเคราะห์ ไม่ค่อยเป็น ข้าพเจ้าก็จะพยายามใช้คำถามกระตุ้นอยู่เสมอว่า อะไร  ทำไม  อย่างไร  ที่ไหน  เพราะเหตุใด  ระยะแรก ๆ นักเรียนก็ตอบไม่ค่อยได้พอสอนไปนาน ๆ ก็ทำให้นักเรียนกล้าตอบ  กล้าแสดงออก โดยข้าพเจ้าใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์เข้าช่วย เพื่อให้นักเรียนรู้จักการเป็นคนคิดเป็น  ทำเป็น  แก้ปัญหาเป็น โดยใช้กระบวนการกลุ่ม  ซึ่งข้าพเจ้าจะคอยเป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ด้วย แนะนำ ให้คำปรึกษาทั้งทางด้านวิชาการ และอำนวยความสะดวกทางด้านวัสดุ-อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการทดลอง 

                จากการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในลำดับหนึ่ง คือ  ข้าพเจ้าจะจัดให้มีการแข่งขันในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ระดับโรงเรียน เลือกโครงงานที่ชนะเลิศอันดับ 1 ส่งเข้าแข่งขันในระดับกลุ่ม   ระดับอำเภอ   และระดับจังหวัด ซึ่งก็ได้รับรางวัชชนะเลิศอันดับ 1 และได้เป็นตัวแทนของจังหวัด (ซึ่งขณะนั้นเป็นสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด) เข้าแข่งขันในระดับเขตการศึกษา 8 ติดต่อกัน 4 ปี

ดังนี้คือ 

ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อผู้เรียน ผลงานระดับเขตการศึกษา 8

ที่

กิจกรรมที่ได้รับรางวัล

วัน เดือน ปี ที่ได้รับ

1

นักเรียนได้รับเกียรติบัตรจากกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ รางวัลเหรียญทองแดง ในงานแข่งขันทักษะวิชาการวิชาชีพ และศิลปหัตถกรรมนักรเยน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 8 ปีการศึกษา 2542 จังหวัดลำปาง

10  กันยายน  2542

2

นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญเงินจากกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ในงานมหกรรมแสดงผลงานและความสามารถทางวิชาการนักรเยนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเขตการศึกษา 8  ปีการศึกษา 2543 จังหวัดเชียงราย

12  กันยายน  2543

3

นักเรียนได้รับเกียรติบัตร รางวัล เหรียญทองแดง จากกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ในงานปฏิรูปการเรียนรู้ศิลปหัตถกรรมนักเรียน เขตการศึกษา 8  จังหวัดแพร่ ปีการศึกษา  2544

23  สิงหาคม  2544

4

นักเรียนได้รับเกียรติบัตร รางวัล เหรียญทองแดงจากกิจกรรมแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในการปฏิรูปการเรียนรู้ศิลปหัตถกรรมนักเรียน เขตการศึกษา 8 จังหวัดแพร่ ปีการศึกษา  2544

23  สิงหาคม  2544

ที่

กิจกรรมที่ได้รับรางวัล

วัน เดือน ปี ที่ได้รับ

5

นักเรียนได้รับรางวัลเหรียญเงิน จากกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในงาน ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด เขตการศึกษา 8 จังหวัดพะเยา

26  มิถุนายน  2545

 

ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อผู้เรียน ผลงานระดับเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1

ที่

กิจกรรมที่ได้รับรางวัล

วัน เดือน ปี ที่ได้รับ

1

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง เปลือกหอมย้อมผ้าน่าสนใจ ได้รับรางวัลที่ 3 เนื่องในการแข่งขันทักษะวิชาการ/วิชาชีพ โครงการมหกรรมปฏิรูปการศึกษาเบิกฟ้าเมืองแพร่

22-25 พฤศจิกายน 2547

2

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปรียบเทียบการผลิตดอก ของก้อนเชื้อเห็ดเก่า กับก้อนเชื้อเห็ดใหม่ เนื่องในงานกิจกรรมพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศ ประจำปี 2548  รางวัลเหรียญทอง

2  สิงหาคม  2548

3

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขมิ้นย้อมผ้านำพาเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องในงานการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนประจำปี 2550  รางวัลเหรียญทอง

30  มิถุนายน  2550

4

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง บอร์ดจากธรรมชาติแสนสวยด้วยมือเรา  ได้รับรางวัลที่ 1 เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสองพิทยาคม ประจำปี 2547

17-18 สิงหาคม 2549

5

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง  การประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ ได้รับรางวัลที่ 1 เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสองพิทยาคม

17-18 สิงหาคม 2549

6

การส่งโครงงานวิทยาศาสตร์เข้าร่วมแข่งขัน ของสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย ร่วมกับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ในปี พ.ศ.2549-2550 จำนวนทั้งสิ้น 5 โครงการ

พ.ศ.2549 2550

 

                จากผลงานการปฏิบัติงานนี้ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความภาคภูมิในอีกอย่างหนึ่งคือ  ได้รับเกียรติบัตรเป็นผู้มีผลงานดีเด่นในการตั้งใจฝึกสอนศิษย์ ชนะการแข่งขันในระดับเขตการศึกษา 8 ติดต่อกัน 4 ปี จากนายประยุทธ นาวายนต์  ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดแพร่ 

                จากนั้น ปี พ.ศ.2547  ก็ได้มีการสอบบรรจุข้าราชการจากครูอัตราจ้างรายเดือนมาสอบแข่งขันกัน อาจจะเป็นผลงานจากงานที่เกิดกับนักเรียนนี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้รับคัดเลือกบรรจุเป็นข้าราชการครู อันดับที่ 1  (ขณะนั้นเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1) ก็ทำให้ข้าพเจ้าเป็นข้าราชการครูนับตั้งแต่วันที่  15  กันยายน  2547 และปฏิบัติงานที่โรงเรียนบ้านคุ้ม (ประสารราษฎร์วิทยา) จนถึงปัจจุบัน

                จากการที่เปลี่ยนชีวิตครูจากมัธยม (ขยายโอกาส) มาสอนระดับประถมศึกษาซึ่งมีความแตกต่างกันมากจากอายุ และตัวนักเรียน ตอนแรก ๆ ข้าพเจ้ายังปรับตัวไม่ได้ รู้สึกท้อแท้มาก เพราะมาสอนระดับประถม ซึ่งนักเรียนจะขาดทักษะทางวิทยาศาสตร์ ขาดการคิดวิเคราะห์ นักเรียนจะคิดไม่เป็น อะไรก็ไม่ตอบ ข้าพเจ้าก็ใช้ความพยายามอย่างมาก ค่อย ๆ ป้อนคำถาม เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียนมากขึ้น ด้วยคำถามเดิมคือ อะไร  ทำไม  อย่างไร  ที่ไหน  เพราะเหตุใด  ตลอด  จนทำให้นักเรียนได้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นโดยใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ก็ทำให้ทางนักเรียน โรงเรียนบ้านคุ้ม (ประสารราษฎร์วิทยา) ได้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป โดยส่งกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์เข้าแข่งขันระดับอำเภอ ดังนี้ คือ

1.  โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง บอร์ดจากธรรมชาติแสนสวยด้วยมือเรา ได้รับรางวัลที่ 1 เนื่องในๆ  งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสองพิทยาคม ประจำปี 2547 วันที่  17 18 สิงหาคม  2550

2.  โครงงานวิทยาศาสตร์  เรื่อง การประดิษฐ์จรวดขวดน้ำ ได้รับรางวัลที่ 1 เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสองพิทยาคม  วันที่ 17 18 สิงหาคม  2550

                จากการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์นี้  ข้าพเจ้าได้รับการประเมินเพื่อคัดเลือกกิจกรรมประกาศเกียรติคุณสดุดี ปี 2550 ครูดีเด่นด้านการสอนวิทยาศาสตร์ ระดับศูนย์ยมเหนือ

               

               

หมายเลขบันทึก: 195280เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เข้ามาอ่านแล้วครับ หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมที่เชียงใหม่ มีความรู้สึกดีใจและยินดีกับเจ้าของเรื่องเล่านี้ที่ประสบผลสำเร็จกับกิจกรรมที่ได้พัฒนาผู้เรียน...ขอเป็นกำลังใจครับผม

อาจารย์อ่ะนี่แช้มเองนะอ่ะ หนูได้อ่นของครุแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากเลย ครูสบายดีนะอ่ะ

เว็บนี้สนุกมากค่ะ

จากการที่ได้อ่านข้อความและได้สัมผัสกับตัวของคุณครูคือครูอินทิรา จองแค เปนผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่และเรียนรู้จากสิ่งรอบข้างเสมอ ผลจากการปฏิบัติหน้าที่ของคุณครูได้ส่งให้เกิดอานิสงค์ต่อตัวคุณครู ครอบครัวและทำใหลูกศิษย์ได้มีโอกาสเรียนรู้ ขอเป็นกำลังใจในการปฏิบ้ติงานต่อไป

พวงเพ็ชร์ ศรีสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท