สิ่งที่ทำแล้วไม่ได้ผล (ในการพัฒนาคุณภาพไปสู่มาตรฐานระดับโลก)


บุคลากรในวงการศึกษาไม่ว่าจะอยู่ในสังกัดใด คงไม่มีใครไม่รู้จัก คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ซึ่งปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า "สพฐ." ท่านเป็น หญิงเก่ง และ หญิงแกร่ง ที่สุดคนหนึ่งที่ดิฉันศรัทธา ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการบันทึกความรู้ และการให้ความรู้แก่บุคคลที่อยู่รอบข้าง เป็นนักเขียน เป็นนักบันทึก เป็นนักแปล ที่ดิฉันก็ไม่รู้ว่าท่านแบ่งเวลาในการทำงานอย่างไร
บุคลากรในวงการศึกษาไม่ว่าจะอยู่ในสังกัดใด คงไม่มีใครไม่รู้จัก คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ซึ่งปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า "สพฐ." ท่านเป็น หญิงเก่ง และ หญิงแกร่ง ที่สุดคนหนึ่งที่ดิฉันศรัทธา ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการบันทึกความรู้ และการให้ความรู้แก่บุคคลที่อยู่รอบข้าง เป็นนักเขียน เป็นนักบันทึก เป็นนักแปล  ที่ดิฉันก็ไม่รู้ว่าท่านแบ่งเวลาในการทำงานอย่างไร รึว่าชั่วโมงของท่านจะมีถึง 600 นาที ...  ที่ดิฉันยกเรื่องการเขียนมาพูดถึง ก็เพราะ ท่านได้เขียน "เรื่องเล่า" ถ่ายทอดสิ่งที่ท่านได้รู้ ได้เห็น ได้ทำ ในทุก ๆ สัปดาห์ ให้กับบุคลากรในสังกัดได้เรียนรู้รับฟังทุกวันอังคาร ท่านมีคอลัมภ์ประจำบนเว็บไซต์ของ สพฐ. www.obec.go.th ซึ่งในทุก ๆ วันอังคารท่านจะเรื่องราวที่ท่านได้ปฏิบัติราชการ ไปพบ ไปเห็น นำตัวอย่างดี ๆ มาชื่นชมให้เห็นแนวทางดำเนินงานตาม และเกือบทุกสัปดาห์ท่านก็จะมีบทความภาษาอังกฤษจากนักการศึกษานานาชาติแปลเป็นภาษาไทยให้พวกเราได้เรียนรู้ ดิฉันขอยกบทบาทที่ท่านเขียนในคอลัมภ์ พบกันวันอังคาร เมื่อวันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551 มาให้ท่านอ่าน และหากสนใจจะติดตาม ก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ http://www.obec.go.th/new/kasama/ ค่ะ
"เอกสารที่น่าสนใจที่ขอนำเสนอในสัปดาห์นี้ ได้รับมาจากคุณอมเรศ ศิลาอ่อน ผู้มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะช่วยพัฒนางานการศึกษา ท่านได้กรุณาส่งสรุปสาระจากคำบรรยายของ Sir Michael Barber : The Challenge of Achieving World Class Performance ซึ่งดิฉันขอสรุปสั้นๆ เพื่อเป็นข้อคิดสำหรับท่านผู้อ่าน
บทความนี้เริ่มจาก สิ่งที่ทำแล้วไม่ได้ผล (ในการพัฒนาคุณภาพไปสู่มาตรฐานระดับโลก)
- การเพิ่มงบประมาณเพื่อการศึกษาเป็นค่าใช้จ่ายต่อหัวไม่ได้ทำให้คุณภาพเพิ่มขึ้น มีการนำเสนอข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า อังกฤษเพิ่มงบประมาณ 77% นิวซีแลนด์ 223% ออสเตรเลีย 270% แต่คุณภาพในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กลับลดลง 8 คะแนน 10 คะแนน และ 2 คะแนน ตามลำดับ (ดิฉันคิดแย้งเอาเองว่า ผลสรุปนี้ไม่น่าจะใช้ได้กับประเทศไทย เพราะประเทศเหล่านี้ได้รับงบประมาณสูง อยู่แล้ว แต่ของเรายังได้ไม่เพียงพอ)
- มาตรการที่มุ่งเพียงลดอัตราส่วนระหว่างนักเรียนและครู ก็จะไม่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพเช่นกัน
- ความแตกต่างในสภาพเศรษฐกิจและสังคมยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งที่ส่งผลต่อความแตกต่างระหว่างนักเรียน ยกเว้นในกรณีที่ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง งานวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าก่อนเด็กจะอายุ 4 ขวบ จำนวนคำที่เด็กแต่ละคนได้ยินจะต่างกันตามสภาพความรู้ของผู้ปกครอง เด็กจากครอบครัวนักวิชาการวิชาชีพจะได้ยินคำ 46 ล้านคำ จากครอบครัวที่หาเช้ากินค่ำจะได้ยิน 26 ล้านคำ และจากครอบครัวยากจนที่ต้องพึ่งสวัสดิการสังคม จะได้ยิน 13 ล้านคำ เรียกได้ว่าเสียเปรียบตั้งแต่อายุ 4 ขวบไปแล้ว
-  สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อการยกระดับคุณภาพ และมักจะหาไม่ได้ในระบบการศึกษาทั่วไป คือ การเรียนการสอนที่มีคุณภาพอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
อะไรบ้างที่ทำแล้วดูจะได้ผล ต่อการพัฒนาคุณภาพ สรุปจากประเทศที่ผลสัมฤทธิ์พัฒนาขึ้น
บทเรียนที่ 1 การศึกษาจะไม่มีวันมีคุณภาพเหนือคุณภาพของครู ประเทศที่ประสบความสำเร็จจะดึงดูดคนที่มีคุณภาพสูงสุดเข้าเป็นครู เช่น เกาหลี คนเป็นครูมาจากคนที่เก่งที่สุด 5 % แรก ฟินแลนด์  10 % แรก และสิงคโปร์ 30 % แรก
บทเรียนที่ 2 วิธีเดียวที่จะปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ คือ ปรับปรุงการเรียนการสอน วิธีที่ได้ผลที่สุด คือ พัฒนาวิชาชีพภายในห้องเรียนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ด้วยการสนับสนุนให้ครูได้ไปสังเกตการเรียนการสอนของเพื่อนครู เช่น ที่เซี่ยงไฮ้ให้ไปภาคเรียนละ 8 ครั้ง ครูดีเด่นสาธิตการสอนให้เพื่อนครู ตามด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครูได้รับการสนับสนุนให้ทำงานวิจัยเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
บทเรียนที่ 3 ผลงานที่มีคุณภาพระดับสูงต้องช่วยให้เด็กทุกคนไม่ใช่ดูแลเพียงคนเก่งประสบความสำเร็จ โดยได้ยกตัวอย่างประเทศฟินแลนด์ที่ดูแลเด็กเรียนอ่อนเป็นพิเศษ ในวิชาภาษาและคณิตศาสตร์ ด้วยการหาครูสอนเสริม 1 ต่อ 1  สนับสนุนครูการศึกษาพิเศษให้ได้รับการอบรมเพิ่มเติมและได้เงินเดือนสูง และระดม ผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกันเป็นทีม เช่น นักจิตวิทยา พยาบาล ฯลฯ
บทเรียนที่ 4 ผู้บริหารที่ยิ่งใหญ่เป็นตัวช่วยที่สำคัญยิ่งในโรงเรียน ที่สิงค์โปร์ให้ความสำคัญในการคัดเลือกและอบรมผู้บริหารสถานศึกษา เช่น ใช้เวลาอบรม 6 เดือน โดยจ้างบริษัทอบรมผู้บริหารชั้นนำ จัดโครงงานให้ทำงานร่วมกันเป็นทีม ทุกสัปดาห์จะให้โจทย์ยากๆ เพื่อให้ลองพัฒนานวัตกรรมที่จะแก้ปัญหา ส่งไปฝึกงานต่างประเทศกับบริษัทชั้นยอดระดับโลก และมีเกณฑ์การประเมินที่เข้มข้น ในขณะเดียวกัน จะสนับสนุนให้โรงเรียนมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนมากขึ้น ปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเงินและการระดมทรัพยากร ในภาพรวมได้ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร จากบรรยากาศที่สบายๆ ไปสู่การตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย ดังนี้      
สบายๆ
ท้าทาย
ลองผิดลองถูก
มาตรฐานสูงสำหรับทุกคน
รูปแบบ วิธีการที่เหมือนกัน
รูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย
จัดบริการให้
นำเสนอทางเลือก
เน้นที่ผู้ผลิต
เน้นที่ลูกค้า
เน้นที่ปัจจัยป้อน
เน้นที่ผลลัพธ์
ตัดเสื้อโหล
ตัดเสื้อเฉพาะตัว
พูดเรื่องความเสมอภาค
ลงมือทำให้เกิดความเสมอภาค
รับองค์ความรู้ที่ส่งต่อมา
หาข้อมูลและวิธีการที่ดีเด่น
วางกฎระเบียบ
สร้างแรงจูงใจ
พัฒนาตามบุญตามกรรม
พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ข้อกำหนดที่เข้มงวด
แนวทางที่ยืดหยุ่น
มองข้างบน
มองไปรอบตัว

 "

 

หมายเลขบันทึก: 195526เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2008 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (44)
  • มาชื่นชม ด้วยความรัก และศรัทธา
  • คุณหญิง ดร.กษมา วรวรรณ ณอยุธยา ด้วยคน
  • และขอบคุณที่นำข้อความ ความรู้ที่ดีๆมาฝากอีกครั้ง

รัก และศรัทธา ท่านมานานตั้งแต่อยู่ สปช. แนวคิดท่านชี้ช่องทางของวิชาการที่แท้จริง

การที่มีนักบริหารและนักวิชาการที่เยี่ยมยอด รวมอยู่ในคน ๆ เดียว ถือว่าเป็นที่ปรารถนาสูงสุดขององค์กร

สิ่งที่ทำแล้วได้ผลต่อการพัฒนาคุณภาพจากประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์พัฒนาขึ้น...อ่านแล้วดีจัง..ประเทศไทยก็กำลังก้าวไป..คุณหญิงเป็นผู้หญิงเก่งที่จะพาการศึกษาไทยไปสู่จุดนั้นได้...

กรุณาลงมือทำตั้งแต่วันนี้

  • ผมเคยได้ยินชาว ศธ.พูดถึงท่าน
  • ตั้งแต่สมัยท่าน เป็นผอ.กอง อยู่ กศ.น.
  • ว่า เป็น คนสวย รวย เก่ง เพรียบพร้อม
  • ต่อมาได้พบเมื่อท่านเป็น อธิบดี 
  • เคยนำเสนองาน ร่วมงาน ฟังบรรยาย...
  • หลายครั้ง ก็พบว่า คำที่ชาว ศธ.พูดถึง
  • ไม่ได้ 1 ใน 10  เก่ง นิ่ม หวาน สุดสุด.....
  • ใครที่ได้ฟังท่านพูด ท่านบรรยาย
  • รับรองต้องหลงไหลทุกคน
  • สำหรับบทเรียนที่ 1-4
  • ฝากบทเรียนที่ 5 ทำให้ชีวิตคนเป็นครู
  • อยู่ได้อย่างพอเพียง
  • สุดท้าย บทเรียนที่ 6  ทำอย่างไรจะให้
  • บทเรียน 1--5  ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างจริงจัง

 

 

 

จริง ๆแล้ว...การคิดหาวิธีทางในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ

เป็นสิ่งที่ดีมาก......แต่ภ้าจะให้ดียิ่งขึ้น..ทุกๆคนที่เกี่ยวข้อกับการจัดการศึกษา

ต้องช่วยกันพัฒนาและลงมือทำอย่างจริงจัง..ไม่คิดเพียงอย่างเดียว.......

ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูทุกท่าน....และบุคลกรทางการศึกษาลงมือทำงาน

อย่างเต็มที่ค่ะ

  • คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ท่านเป็นตัวแทน เป็นแบบอย่างของผู้หญิงเก่ง
  •  ชื่นชม ชื่นชอบ ในการปฏิบัติงานครั้งแรกของท่านที่ กศน.ค่ะ
  • สพฐ.เราโชคดี ที่มีผู้บังคับบัญชา ที่ทั้งเก่ง ดี มีประสิทธิภาพค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับ ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาที่มีประโยชน์ค่ะ

ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานค่ะ

ท่านเป็นหญิงที่เก่งจริง ๆ สวย สง่า งามอย่างมีคุณค่า

คุณหญิงกษมา เป็นต้นแบบของผู้หญิงเก่ง

เปรียบเสมือนนายผู้หญิงของเรา

มีกับสาฝนหล่นลงทั่วหล้า

เราชาวสถาฯศึกษาได้กำลังใจ

ทุกครั้งที่มีโอกาสได้ฟังท่านพูด ผมยังนึกอยู่เลยว่า เหมือนกับแทบจะทุกวินาทีในชีวิตของท่าน ท่านคิดเรื่องการทำงาน คิดถึงเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อยู่ตลอดเวลาเลยหรืออย่างไร ..

การเป็นครูถือเป็นสิ่งที่ท้าทายเพราะผลที่ได้จะคงทนถาวรอยู่ในตัวของเด็ก สิ่งที่ครูทำมิใช่เพื่อตัวเองแต่เพื่ออนาคตที่ยิ่งใหญ่ของโลก ขอเป็นกำลังใจให้นักคิดและพัฒนาเก่ง ๆ เช่นคุณหญิงต่อไปค่ะ

ผมเคยเห็นท่านครั้งหนึ่งเมื่อท่านมาที่โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณีเมื่อหลายปีแล้ว ท่านเป็นคนสวยและใจดี ขอชื่นชมท่าน

ชื่นชอบคุณหญิงกษมา เป็นต้นแบบที่ดีของคนทำงาน

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ท่านเป็นแบบอย่างของผู้หญิงเก่งวันนี้

เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ เก่ง และน่าศรัธา

สิ่งที่ทำแล้วได้ผลต่อการพัฒนาคุณภาพจากประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์พัฒนาขึ้น

ประเทศไทยก็กำลังก้าวไป

คุณหญิงเป็นผู้หญิงเก่งที่จะพาการศึกษาไทยไปสู่จุดนั้นได้

ขอชื่นชมในการทำงานและทำสิ่งที่ดี ๆให้พวกเราต่อไปเพื่อประเทศไทยเราสิ่งที่ท่านแนะนำพวกเรา เราสัญญาว่าจะนำสิ่งที่ท่านสอนไปปฎิบัติและทำงานที่เรารับผิดชอบให้ดีที่สุดต่อไปค่ะ

พัฒนาสิ่งใดไม่ยากเท่าการพันาครู เพราะครูมีอัตาสูง ขอให้กำลังใจครูดาวต่อสู้ต่อไป

เราเห็นด้วยกับท่านที่จะบอกว่าคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยาท่านเป็น หญิงเก่ง และ แกร่ง สุดยอดจริง ๆ

เป็นแบบอย่างของหญิงทำงาน

ดีใจที่ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากคุณหญิงกษมา นำไปใช้ได้ดี แต่ที่แน่ๆเราต้องนำไปใช้จริงที่ดีใจก็ตอนที่ได้ถ่ายรูปกับท่านตอนไปดูงานที่เมืองทอง

ท่านมีบุคลิกดีนะคะ เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้หญิงยุคใหม่

ท่านเป็นผู้รอบรู้และเป็นตัวอย่างในการทำงานให้กับเราได้เป็นอย่างดี

คุณหญิงท่านเก่งจริง ๆ

คุณหญิงกษมา ท่านเป็นผู้หญิงเก่ง และเป็นนักบริหาร นักวิชาการที่ยอดเยี่ยม รวมอยู่ในคน ๆ เดียว สพฐ. เราโชคดี ที่มีผู้บังคับบัญชาที่ทั้งสวยและทั้งเก่ง

ท่านเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่าทางการศึกษา

พัฒนาสิ่งใดไม่ยากเท่าการพันาครู เพราะครูมีอัตาสูง ขอให้กำลังใจ ท่านเขาฯ และ

ครูดาว ให้ต่อสู้ต่อไป

ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมถึงมีความศรัทธาท่าน ทั้งๆที่ไม่ได้พูดไม่ได้คุยกับท่านแต่รู้สึกพึงพอใจและชอบฟังเวลาท่านพูดเพราะทุกขณะจิตจะพบว่าชีวิตของท่านมอบให้กับการศึกษาจริงๆ

ท่านมีความใส่ใจ สนใจ และพยายามให้ความรู้แก่ผู้คนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนา การศึกษาของไทยอยู่อย่างสม่ำเสมอ

รู้สึกชื่นชมในการพูดแต่ละครั้งของท่าน

ชื่นชมด้วยความศรัทธา ที่ท่านเป็นคนเก่ง บุคคลากรใน สพฐ.ทุกคนควรปฏิบัติตนตามนโยบายที่ท่านได้ชี้แนะ เชื่อว่าอีกไม่ช้าประเทศไทยจะเป็นผู้นำทางการศึกษาได้แน่นอน 

ท่านเป็นผู้หยิงท่เก่งมากทุ่มเทมากและประสบความสำเร็จน่ายกย่อง

ท่านเป็นผู้หญิงเก่ง มุ่งพัฒนาการศึกษาไทย เราดีใจมากที่มีท่านอยู่ในสพฐ.

หญิงเก่ง รูปสวย รวยความสามารถ ฉลาดในการทำงาน สานต่อทางการศึกษา นำพาครูไทยให้พัฒนา มีวาจาอ่อนหวาน ขอไขขานนามนี้คือคุณหญิงกษมา

ท่านเป็นหญิงที่เก่งมากจริงๆนะ

ท่านเป็นนักแก้ปัญหาและให้ข้อคิดท่ดี

ชอบวิธีการพดของท่านมาก ชอบฟังทุกครั้ง

ชอบวิธีการพูดของท่านมาก ชอบฟังทุกครั้ง

  • มาทักทาย
  • มาบอกว่าไปที่แก้ไขบล็อก
  • แก้ไขหัวบล็อกนะครับ
  • ภาพใหญ่มากๆๆ
  • ผมงง งงเลยครับ
  • ดีใจๆๆหัวบล็อกหายแล้วครับ
  • เอาโปรแกรมแต่งรูปย่อรูปมาฝากครับ
  • ที่นี่ครับ
  • http://gotoknow.org/blog/katti/199894

    ย่อรูปแต่งรูปพี่ดาวคนสวยใจดี

  • เอาท่าน ดร กษมามาฝากด้วย

  • วันก่อนพบท่านที่สุพรรณบุรี

ขอบคุณค่ะ อ.ขจิต ..เพิ่งได้มาตัวนึงเหมือนกัน ยังไม่ได้ลองเล่นเลยค่ะ ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท