การทำงาน : เคล็ด (ไม่) ลับ


หลายเดือนก่อน หน่วยเราซื้อเครื่องสำหรับตรวจ Ionized Calcium จริง ๆ แล้วมันสามารถตรวจพวก Stat Lab. อย่างอื่นๆ ได้ เช่น Blood Gas, E-lytes, Lactic acid ซึ่งเราไม่ได้ใช้ แต่เราใช้ตรวจ Ionized Calcium อย่างเดียว อย่างที่บอกว่าเหมาะกับ Lab. ด่วน ที่มีน้อย ๆ ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับการทำงานห้องเราเลย เพราะมันช้ามาก กว่าจะสั่ง กว่าจะตรวจ ทำได้ทีละราย ๆ และเราต้องคอยป้อน serum หรือสิ่งส่งตรวจเองทีละราย ๆ (เหมือนป้อนข้าวเด็ก เล็ก ๆ ) และน้ำยาก็เป็น Barcode หลังจากเปิดใช้มีอายุแค่ 45 วัน แต่ถ้าเป็น Membrane สำหรับการทดสอบ Lactic มีอายุแค่ 7 วัน (บางครั้ง 2 สัปดาห์ไม่มีสักกะรายเลย)  พวกเรา เคยถามช่างที่มาฝึกการใช้เครื่องว่า จะมีเทคนิคหรือวิธีการอะไรที่หลอกเครื่องได้บ้าง ?? เขาบอกว่าไม่มี เพราะมัน count โดยใช้ Barcode

ช่วงก่อนหน้านั้นหากมีการทดสอบ Ionized Calcium เราก็จะตรวจ Total Calcium และ Albumin ให้ หรือบางทีแพทย์สั่งตรวจอยู่แล้ว ทั้ง 3 รายการ ถ้าเป็น Ward คงไม่มีปัญหา (อาจไม่คิดเงิน) แต่ถ้าเป็นคลินิก คิดว่าผู้ป่วยต้องจ่ายเงินฟรี ๆ แน่

ช่วงก่อนน่ะทำไม่ได้แน่ ๆ แต่ช่วงนี้หลังจากได้เครื่องมา ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง เพราะน้ำยาหมดอายุ ช่วงนี้น้ำยามีแล้วแต่ Control หมดอายุอีก สั่งเครื่องอย่างไรก็ไม่ยอมทำ แม้ตรวจสอบปริมาณจากเครื่องพบว่ายังมีอีกเยอะ ผู้เขียน พีวรรณี และถวิล ก็เลยดัดแปลง นำ Control ที่อยู่ในเครื่องมา (ลักษณะเป็น pack ดึงออกมา) แล้วผู้เขียนก็ไปขอหลอดฉีดยา และเข็มฉีดยาจาก OPD แล้วดูด Control จากใน Pack มาทดสอบเป็นเสมือนสิ่งส่งตรวจของคนไข้ แล้วตรวจสอบค่าที่ได้ ก็เป็นอัน OK

วันนี้เราก็เลยรายงานผลการตรวจ Ionized calcium ของผู้ป่วยไป 1 ราย

และสรุปว่าวันนี้เราได้ค้นพบเทคนิค และเคล็ด(ไม่) ลับไปแล้วหนึ่งอย่าง

คำสำคัญ (Tags): #การทำงาน
หมายเลขบันทึก: 195770เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2008 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท