แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชมรมสายใยรักแห่งครอบครัวที่เชียงใหม่


Super model โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว

               เมื่อวันที่   3-4  กรกฎาคม  พ.ศ. 2551  ดิฉัน มีโอกาสได้เข้าประชุม ในโครงการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สู่ความเป็นเลิศการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก     ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่. และเทศบาล ตำบลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง  จังหวัดเชียงใหม่   ซึ่งผู้จัดประชุมฯ ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ คือ

1.       เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานอนามัยแม่และเด็ก โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว ถอกบทเรียนนำไปสู่ความเป็นเลิศการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก

2.       เพื่อขยายผลการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สู่พื้นที่การดำเนินงาน  ของศูนย์อนามัยทุกเขต

                    ดิฉัน  ขอเล่ารื่องการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ดังนี้

                   หลังจากลงทะเบียน แล้ว   ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 10 และผู้รับผิดชอบงานโครงการฯ  นำเสนอผลการดำเนินงานโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว  ที่ลงสู่ชุมชน  โดยมีพื้นที่นำร่อง  คือ  เทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา  ตำบลอินทขิล  อำเภอแม่แตง  ซึ่งศูนย์อนามัยที่ 10 เป็นหน่วยงานหลักของการดำเนินงาน และมีหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงาน คือ  สำนักงานสาธรณสุขจังหวัดเชียงใหม่  เทศบาลตำบลเมืองแกนพัฒนา  โรงพยาบาลแม่แตง  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่แตง  สถานีอนามัย  และเกษตรอำเภอแม่แตง

                    โดยมีกิจกรรมที่สำคัญคือ  การเสริมสร้างพลังชุมชน  เริ่มต้นที่กระบวนการกระตุ้น  จุดประกายความคิดในการร่วมพัฒนาหมู่บ้าน  เพื่อให้เป็นหมู่บ้านสายใยรักแห่งครอบครัว  จากนั้นจึงมีการจัดกิจกรรมอื่นๆตามมา  เช่น  กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กในครอบครัวของสมาชิกในโครงการฯ    จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง  การสร้างเครือข่ายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในตำบล  มีมุมให้แม่เก็บนมที่สถานีอนามัย(ไม่ได้เข้าดูงาน แต่จากการนำเสนอ)มีศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่  คู่นมแม่  และการถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  ให้กับกลุ่มเป้าหมายทั้งภาคสาธารณสุขในพื้นที่ หญิงมีครรภ์  หญิงให้นมบุตร  ผู้สูงอายุ  ตลอดจนบุคลากรเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่  ฝ่ายสาธารณสุขของเทศบาลตำบลเมืองแกน  โดยดำเนินการทั้งตำบล

                       จากนั้นได้เข้าศึกษาดูงาน  โรงเรียนพ่อแม่  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ  ศูนย์อนามัยที่10   และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ของเทศบาลเมืองแกนพัฒนา  นำเสนอโดยนายกเทศมนตรีฯ  ผู้รับผิดชอบด้านสาธารณสุขจองเทศบาลฯ  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำสาธารณสุขอำเภอ  สถานีอนามัย  รวมทั้งประธานชมรมผู้สูงอายุ  ซึ่งมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วย

                       ดิฉันพบปัจจัยความสำเร็จ(จากการดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้) ที่ศูนย์อนามัยที่ 10  ดังนี้

  • ศูนย์ฯมีอาคารสถานที่มาก  เนื่องจากปรับมาจากวิทยาลัยพยาบาลเดิม  ทำให้มีห้องทำกลุ่ม / ห้องสอนคู่สามีภรรยาที่มีปัญหาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่กว้าง
  •  บุคลากร  สามารถทำงานแทนกันได้  ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้งาน  สอนงานในแต่ละแผนก  และเป็นทีมทำงานที่สามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานกันได้ดี     

                 ปัจจัยความสำเร็จการดำเนินงาน  ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเมืองแกน  คือ

  •   ผู้นำให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานกับภาคีเครือข่าย  และมีความสามารถในการประสานงาน  รวมทั้งเป็นขวัญกำลังใจที่ดี  และให้การสนับสนุนแก่ทีมงาน/ผู้ร่วมงาน เป็นอย่างดี
  • ทีมงานศูนย์ฯ  มีความมุ่งมั่น  เสียสละเวลาส่วนตัว  เพราะบางกิจกรรมต้องดำเนินการในช่วงวันหยุด  เพื่อสอดคล้องกับบริบทและวิถีชีวิตของชุมชน
  •  ทีมงานฯ มีความสามารถในการประสานงานกับเครือข่าย
  • ชุมชน  ท้องถิ่น   และเครือข่ายสาธารณสุข ทุกระดับ เห็นความสำคัญของการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก  และมีความตั้งใจที่จะพัฒนาถิ่นที่อยู่
  • พื้นที่ฯ  เป็นที่ทรงงานของเสด็จพระองค์หญิง  พระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์  พระวรชายาฯ

                ภายหลังการศึกษาดูงาน  รองอธิบดีกรมอนามัย  ให้ผู้บริหารและตัวแทนจากทุกศูนย์เขต  เล่าถึงสิ่งที่ได้รับจากการดูงาน  และมองเห็นปัจจัยสำเร็จ  อะไรบ้าง  ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาศูนย์ฯ ของตนเอง                                       

                ดิฉันได้เล่าถึงปัจจัยสำเร็จของการดูงานทั้ง  2 แห่ง ดังข้างต้น  และเล่าถึงข้อจำกัดการดำเนินงานส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ศูนย์อนามัยที่ 8  ว่ามีข้อจำกัดด้านสถานที่เป็นส่วนใหญ่  แต่ด้านบุคลากร  มีความพร้อมไม่ด้อยกว่าศูนย์อนามัยที่ 10

                 สำหรับงานชุมชนฯ  ศูนย์อนามัยที่ 8  ยังไม่มี Super model  ชมรมสายยรักแห่งครอบครัวระดับชุมชน เหมือนศูนย์ฯ  10 ในขณะที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เคยดำเนินการ  โดยผู้รับผิดชอบของโรงพยาบาลฯ  ได้ประสานกับโรงพยาบาลจังหวัด  และได้รับการแบ่งพื้นที่ตำบลหนองปลิงให้แก่ศูนย์ฯ   จากนั้นโดยผู้รับผิดชอบได้เข้าประสานกับสถานีอนามัย  แต่ถูกปฏิเสธ   ศูนย์ฯ จึงจัดกิจกรรมให้แก่สมาชิกชมรมฯ ที่คลอดที่โรงพยาบาลฯ  เท่านั้น (สมาชิกมาจากหลายพื้นที่)  ดังนั้นการเกิดเป็นชมรมฯ จึงเกิดขึ้นหลวม ๆ เนื่องจากไม่มีพื้นที่เป็นของตนเอง 

                จากบทเรียนรู้ที่มีอยู่และที่ได้รับใหม่  ดิฉันมีแนวคิด  ที่จะประสานกับจังหวัดใหม่  โดยร่วมกันคัดเลือกพื้นที่  ที่คาดว่าจะส่งเสริมให้เป็น Super model  โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ประจำจังหวัด  ซึ่งศูนย์ฯ จะเป็นผู้กระตุ้น และสนับสนุนการดำเนินงาน  และเครือข่ายอื่น ๆ เป็นผู้ดำเนินการและสนับสนุนงบประมาน  โดยจะเริ่มที่จังหวัดนครสวรรค์และขยายต่อไปใน 3 จังหวัดที่เหลือ  ตามที่อธิบดีกรมอนามัยกำหนดให้ทุกศูนย์ฯ เขต  ต้องดำเนินการเพื่อให้เกิด  Super model  จังหวัดละ 1 แห่ง  ต่อไป                 

              หากท่านใดที่เข้ามาเยี่ยมชม  Block   มีข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์  แนะนำด้วยคะนะ  ยินดีรับฟังคะ

หมายเลขบันทึก: 195844เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2008 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • ต้องบอกว่า ท้าทายมากๆ เลยนะคะ
  • คงมีสิ่งที่จะนำมาต่อยอด งาน สายใยรักแห่งครอบครัว ของเมืองนครสวรรค์ แน่นอน
  • เชียร์ สุดใจ เลยค่ะ

ขอบคุณ คุณหมอมาก ที่เป็นกำลังใจ จะตั้งใจทำให้ดีที่สุดคะ

  • พี่ตุ๊กขา  เขียนบันทึกเรียกเรตติ้งได้ยังขนาดนี้แล้ว  ทิ้งกันได้ไงเนี่ย
  • เขียนอีกซิค่ะ...ตามอ่านอยู่นะคะพี่คนสวย

ขอแลกเปลี่ยนค่ะ เรายังมีชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข/ชมรมอาสาสมัครนมแม่ ที่ปฏิบัติงานแทนเราในชุมชนอีกค่ะ............จนท.สอ.บ้านปง ต.อินทขิล อ.แม่แตง

ฏฯฆโฏณฌ็โณ๋ฮฺ???ฮ???????????????????????????????????????????????

คุณหมอก้อเกียรเป็นหมอประจำโรงพยาบาลแม่และเด็กจังหวัดนครสวรรค์ให้การบริการต่อคนไข้ที่แบ่งชนชั้นและให้บริการที่ตามตามพอใจตนเองว่าจะทำงานวันละกี่ชั่มโมงเท่านั้นไม่เสียสละเวลาอุทิศตนให้แก่ผู้ป่วยที่ที่ต้องการรักษาตนให้หายป่วยต้องให้รอตายก่อนหรือยังไรจึงจะเข้ารักษาตนได้  ถ้ารู้ตัวว่าตนเองไม่เสียสละเวลาเพื่อนคนอื่นก็ไม่ควรเป็นหมอเพื่อให้ตนเองดูดีก็ไม่ควรเป็นให้คนอื่นชื่นชมตนน่ะ คนไข้ที่เป็นเด็กที่ไม่มีเงินก็พูดกับแม่เด็กไม่ดี บอกว่าที่ต้องรักษาไม่เป็นไร  ต้องให้ตายก่อนหรือจึงจะได้รับการบริการรักษาตามควรที่ได้รับการรักษาอย่างวิญชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท