การแก้ปัญหาด้วยอริยสัจ4


การคิดแก้ปัญหา ควรใช้วิธีการแห่งปัญญา 1 ในวิธีนั้นคือ อริยสัจ4

การคิดแก้ปัญหาแบบอริยสัจ4

อ่านจากไหน

อ่านจากวิทยานิพนธ์ของ น้ำอ้อย หอมจริง 2546: ผลของกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อการพัฒนาการคิดแก้ปัญหาตามแนวอริยสัจ4ของนักเรียนระดับปวช.2 แผนกพณิชการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี. ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ทำไมสนใจเรื่องนี้ : วันก่อนคุยกับผู้เชี่ยวชาญว่า การจะแก้ไขปัญหาอะไรต้อง ศึกษาสาเหตุของปัญหา ก็จึงหาเครื่องมือหาสาเหตุและวิธีแก้ สนใจอริยสัจ4 มาก ประกอบกับคุณจรัญ กลุ่ม2 เขียน BBL คิดว่าจะไปกันได้ (คิด+ไม่คิด-นะ อ่านไปเถอะ)

 

แล้วสาระมันเป็นอย่างไร: อ๋อ เขาบอกว่าการพัฒนาปัญญาโดยเฉพาะความสามารถในการแก้ปัญหาจะช่วยให้ผู้ประสบปัญหา มีแนวคิดและวิธีคิดที่ถูกต้องอันจะนำไปสู่วิธีแก้ปัญหาได้

                วิธีที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้มี 10 วิธีคิดตามแนวโยนิโสมนสิการ วิธี 1 ใน 10 คือ วิธีคิดแบบอริยสัจ 4 คือ ขั้นที่1 การกำหนดรู้ทุกข์(ทุกข์) ขั้นที่ 2 สืบสาวเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ขั้นที่ 3 เล็งหมายชัดซึ่งการดับทุกข์(นิโรธ) และขั้นที่ 4 จัดวางวิธีการดับทุกข์ (มรรค)

เออ แล้วไงอีก ชักง่วงแล้ว นะคุณวิชากร : เอาน่า อ่านต่อไป ถ้าจะให้เห็นภาพเพื่อนำมาใช้กับงานวิจัยฯต้องให้เห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่าง ขั้นของอริยสัจ  กิจในอริยสัจ  และญาณ 3

ชักจะไปกันไหญ่แล้วนะ : เออ น่า ยังไม่เห็นน้ำ อย่าเพิ่งตัดกระบอก สิ คนอะไร เอ้ามาว่ากันต่อ

                                                ความสัมพันธ์เป็นอย่างนี้

ญาณ 3     สัจจญาณ                                       กิจจญาณ                                           กตญาณ 

สัจจะ 4 

ทุกข์      รู้ว่าทุกข์นี้คือดังนี้                     รู้ว่าทุกข์นี้ควรกำหนดรู้                    รู้ว่าทุกข์นี้กำหนดรู้แล้ว

         = รู้ว่าปัญหาคืออะไร                 = รู้ว่าปัญหานี้ต้องเข้าใจ                    = รู้ว่าเข้าใจสภาพและ

           ตัวปัญหาอยู่ที่ไหน                   สภาพและขอบเขตของมัน               ขอบเขตของปัญหาแล้ว

สมุทัย     รู้ว่าสมุทัยคือดังนี้                  รู้ว่าสมุทัยควรละเสีย                    รู้ว่าสาเหตุนั้นได้แก้ไข

           =รู้ว่าสาเหตุของปัญหาคือ         =รู้ว่าจะต้องแก้ไขที่สาเหตุ         =รู้ว่าสาเหตุนั้นได้แก้ไข

              อะไร                                          นั้น                                                        กำจัดแล้ว

นิโรธ   รู้ว่านิโรธคือดังนี้                      รู้ว่านิโรธควรทำให้แจ้ง              รู้ว่านิโรธนี้ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว

          =รู้ว่าสภาวะหมดปัญหาที่           =รู้ว่าสภาวะนั้นเป็น                 = รู้ว่าได้บรรลุจุดหมายนั้นแล้ว

             ต้องการคืออะไร                    จุดหมายที่ต้องการให้ถึง        

มรรค    รู้ว่ามรรคคือดังนี้                   รู้ว่ามรรคควรเจริญ                      รู้ว่ามรรคนี้ได้เจริญแล้ว

         =รู้ว่าวิธีแก้ปัญหาเป็น                  =รู้ว่าวิธีการนั้นจะต้อง         =รู้ว่าได้ปฏิบัติตามวิธีการนั้น

             อย่างไร                                      ลงมือปฏิบัติ                            เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว   

ที่มา พระธรรมปิฏก

 

 จะสังเกตเห็นว่า กิจในอริยสัจ4 เป็นการกระทำ/ปฎิบัติ(action)ทั้งสิ้น ส่วนตัวอริยสัจนั้น บ่งชี้ถึงแนวคิด หือสภาพการณ์(condition)อันจะต้องนำไปปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ และการตรวจสอบความสำเร็จในการปฏิบัติอริยสัจ4 สามารถตรวจสอบจากหลักญาณ 3 ข้างต้น

    เห็นแล้วเป็นไง เป็นระบบไหม การดับทุกข์เป็นขั้นตอนการคิดอย่างเป็นระบบหรือ วิธีการแห่งปัญญา

แล้วได้ข้อคิดอะไร: ไม่น่าถาม ก็ได้แนวคิดจะไปทำงานอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มที่ตัวปัญหาก่อน ไปหาเหตุของมันไง ไม่ใช่อยู่ๆไปหาวิธีการ แล้วจะยุ่งยาก เพราะวิธีการแก้นั้นอาจไม่ตรงสาเหตุ

 

จะไปใช้อย่างไร: กลุ่มสนใจเรื่องการส่งเสริมการอ่าน ก็ควรจะหาสาเหตุแห่งปัญหาก่อน โดยผชช.แนะนำให้ศึกษาปัญหาสังคมไทย และพฤติกรรมผู้เรียน แต่ผมเห็นว่าควรเจาะพฤติกรรมผู้เรียนก่อนดีกว่า  

 

แล้วไงอีก: อู ฟะ เอ้ย! ขอโทษ ก็ไปคิดต่อเอาเองบ้างสิ  ง่วงแล้ว เมื่อคืนเล่นskype จนดึกแทบไม่ได้หลับ ไปแล้วนะ                ขอบคุณคุณน้ำอ้อย หอมจริงด้วย

 

จาก นายวิชากร ลังกาฟ้า กลุ่ม 2

หมายเลขบันทึก: 196029เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2008 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สาธุ ขอบคุณพระธรรมปิฎก

เป็นการประยุกต์ธรรมะขั้นปรมัตถ์เลยละ...ลึกจริง ๆ ...ดีมากครับ ธรรมของพระพุทธเจ้าใช้ได้ทุกสถานการณ์จริง ๆ

ลึกซึ้งจริง ๆ ถึงขั้นปรมัตถ์ นับว่าประยุกต์ธรรมของพระพุทธเจ้าได้อย่างเหมาะสม เป็นมุมมองที่น่าศึกษา ครับ

คิดได้อย่างไรนี้ ท่าน ดร. ไม่บอกไม่รู้นะ เยี่ยมจริงๆน่าเอามาประยุกต์ใช้บ้าง สัจจญาณ กิจญาณ กตญาณ โดยเฉพาะ กตญาณนี้

ชอบค่ะ ซื้อเลย...

1. นักเล่านิทานระดับ Ph.D. ถ่ายทอดวิทยายุทธให้สมาชิกด้วยนะคะ ท่านเจตนาบอกว่าเวลาเขียนหนังสือ... มันมักจะออกมาเป็น "วิชาการ" เพราะงั้นท่านช่วยสอนท่านเจตให้เขียนหนังสือออกมาเป็น "วิชากร" ด้วยนะคะ ยังไง ๆ ก็อยู่ใกล้กัน ช่วย ๆ กันไป

2. ท่าน ศน. ประสิทธิ์มาแสดงความคิดเห็นแบบเทศนา... ด้วย ดีใจจังที่ได้เห็นท่าน

ช่วยแปล "สัจจญาณ กิจญาณ กตญาณ" ให้ด้วยค่ะ ปัดห่างวัด

ขอบคุณที่ทำให้อ่านไปยิ้มไป ในเย็นวันศุกร์ค่ะ

ติดกับวัดไร่ขิง จะห่างได้อย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท