ประเมินผลสัมฤทธิ์ เพื่อประสิทธิภาพของเครือข่าย


สรุปบทเรียน เพื่อการวิจัยและพัฒนาสู่ชุมชนฐานราก ที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551  ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ในนาม เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันแม่ข่าย

 

        จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การติดตามประเมินผลงานวิจัย โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานรากของเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้น

 

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านการบริหาร การดำเนินการวิจัยและผลของการวิจัยจากผู้บริหารเครือข่ายวิจัย นักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องกับการวิจัย ได้แก่ ชุมชนท้องถิ่น ภาคเอกชนและราชการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการวิจัย

2.  เพื่อนำผลจากการประชุมมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาแบบวัดและการจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพในเครือข่ายการวิจัยในภาคอื่น ๆ ต่อไป

 

Sga4

ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน  50  คน  ประกอบด้วย

  • นักวิจัยและผู้ร่วมวิจัย ที่ได้รับทุนของเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคอีสาน
  • ผู้ประสานงานเขตพื้นที่ของเครือข่าย 5 เขตพื้นที่
  • ชุมชน/หน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียของเขตพื้นที่ ในภาคอีสาน
  • ผู้ประเมิน และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ของเครือข่ายฯ

 

Sga1

โดย มี เป็นประธานที่ประชุม ได้แก่

      ดร.ประสิทธิ์  ทองไสว 

      ประธานคณะทำงานโครงการติดตามและประเมินผลงานวิจัยของเครือข่ายการวิจัย

      สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

และมี

      นายภูมิภักดิ์  พิทักษ์เขื่อนขันธ์

      ผู้อำนวยการสำนักบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ

      ประธานคณะกรรมการดำเนินงานเครือข่ายฯ

      เป็นผู้ดำเนินรายการ ในการประชุม

 

ประเด็นหารือในการประชุมครั้งนี้ คือ

1.    ประสิทธิภาพของการบริหารงารนวิจัยในรูปแบบของเครือข่าย

2.    ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินโครงการวิจัย

3.    การนำผลการวิจัยไปถ่ายทอดสู่ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4.    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

 Sga2

Sga3

ผู้เข้าร่วมประชุม ระดมความคิดเห็นเพื่อสรุปบทเรียนการดำเนินงานเครือข่ายร่วมกัน

          สรุปผลในการหารือ ผู้เข้าร่วมประชุมได้ระดมความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อเครือข่ายการวิจัยภาคอีสาน เพื่อนำไปทบทวน ปรับปรุง ข้อเสนอแนะ รวมทั้งการผลักดันการแก้ไขปัญหาต่างๆ เสนอต่อระดับเชิงนโยบาย เพื่อนำไปกำหนดยุทธศาสตร์การวิจัยของเครือข่าย และกลับมาสู่แผนปฏิบัติ ของเครือข่าย ในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้

v    มีความชัดเจน คล่องตัว และประสานงานตามเขตพื้นที่ได้อย่างดี

v    เป็นการบริหารวิจัยที่ลงไปสู่ฐานรากได้อย่างแท้จริง

v    เครือข่ายฯ ได้มีกระบวนการติดตามประเมินผลความสำเร็จของโครงการอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ประสิทธิผลของโครงการดำเนินไปด้วยดี

v    งบประมาณที่จัดสรรในเขตพื้นที่ แต่ละปี ค่อนข้างจำกัด การวิจัยและพัฒนาเพื่อการต่อยอดและขยายผลงานวิจัย จึงมีข้อจำกัดในการขยายวงกว้างและเจาะลึกของผลงานวิจัยนั้นๆ

v    การวิจัย ควรเน้นวิจัยเชิงประเด็นในพื้นที่เป็นหลัก เพื่อตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ตรงตามพื้นที่นั้นๆ

v    ที่ประชุมเห็นด้วยกับการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2552 นี้ ซึ่ง เครือข่าย ได้กำหนดทิศทางการสนับสนุนงานวิจัยในลักษณะบูรณาการ โดยเฉพาะหน่วยงานภาคีวิจัย หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย ทั้งในพื้นที่ และนอกเขตพื้นที่ หากมีประเด็นวิจัยที่เชื่อมโยง และสอดคล้องกัน ให้บูรณาการวิจัยในประเด็นนั้น ๆ เพื่อประโยชน์โดยรวมต่อไป

v    ข้อเสนอแนะโดยรวม ที่เครือข่าย จะต้องดำเนินการและขยายผลคือ การทำตัวบ่งชี้ ถึงบริบทการวิจัยสู่ชุมชน ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะแม่ข่าย รับที่จะดำเนินการแล้วในขณะนี้

 ขอขอบคุณผู้มาร่วมประชุมทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง มา ณ โอกาสนี้     

ผลสรุปอื่นๆ หากท่านใดมีข้อเสนอแนะ เพิ่มเติม ยินดีน้อมรับ เพื่อนำไปปรับปรุง ให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาที่สร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง ต่อไป

 ขอบคุณค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 197906เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2008 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท