ประโยชน์ของการอ่าน3


การอ่านเป็นหนทางแห่งปัญญา

1. กล่าวนำ

     เพราะโลกคือการเรียนรู้ หนึ่งของการเรียนรู้คือ "การอ่าน"  เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการสานต่อสิ่งรอบตัวมากมาย  หลายคนมีความสุขกับการอ่าน  หลายคนค้นพบตนเองจากการอ่าน  ผมจึงคิดว่า  "การอ่านเป็นหนทางสู่ปัญญา  เป็นดวงตาแห่งการเรียนรู้และเป็นประตูสู่ความสำเร็จ" การอ่านหนังสือทำให้เรารู้จักโลกกว้างขึ้นไม่ว่าสิ่งนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกล  เราสามารถรู้และเข้าใจถึงกันหมด   การอ่านทำให้เรารู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต  สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน  และจะเกิดขึ้นในอนาคต  การอ่านทำให้เรารู้เรื่องราวต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์  สังคม  วิทยาศาสตร์  ศิลปศาสตร์  ตลอดจนภาษาต่างๆ  การอ่านยังมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์  ตลอดจนจิตนาการของผู้อ่านปัจจุบัน

2. ที่มาของแนวคิด

   การอ่านมีความสำคัญต่อตนเอง  เพระการอ่านทำให้เราได้รับความรู้  ความเพลิดเพลิน  มีความคิดทันโลก ทันเหตุการณ์และเข้าใจสังคมได้ดี  ฉะนั้นการอ่านในโอกาสสำคัญต่างๆ  จะผิดพลาดและคลาดเคลื่อนไม่ได้  เพราะบางครั้งจะมีผู้นำไปอ้างอิงหรือเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษรอยู่เสมอ  หากผิดพลาดจะเกิดผลเสียหายได้  ผศ.การุนันทน์  รัตนแสนวงษ์  ได้รวบรวมวัตถุประสงค์ของการอ่านไว้  ซึ่งอจารย์ได้เสนอแนะว่า  การอ่านนี้แท้จริงแล้วขึ้นอยู่กับความต้องการแท้จริงของมนุษย์  การจูงใจในการอ่านชนิดต่างๆ  อาจเกิดขึ้นได้ในทุกวัฒนธรรมของโลก  และวัตถประสงค์พื้นฐานที่มีประโยชน์ว่าเราอ่านหนังสือทำไม ดังนี้

      *  เพื่อเป็นพิธี  หรืออ่านเพราะเป็นนิสัย

      *  เพื่อฆ่าเวลาหรือใช้เวลาให้หมดไป

      *  เพื่อทราบและเข้าใจเหตุการณ์ปัจจุบัน

      *  เพื่อค่านิยมและความสุขส่วนตัวในขณะนั้น

     *  เพื่อสนองความต้องการทางปฏิบัตืในชีวิตประจำวัน

     *  เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทั่วไปไม่นำไปประกอบอาชีพ

    *  เพื่อเพิ่มพูนวามรู้ด้านอาชีพและวิชาชีพ

    *  เพื่อสนองความต้องการด้านสังคมและส่วนตัว

   *  เพื่อสนองความต้องการด้านสังคมและการเมือง

   *  เพื่อพัฒนาและปรับปรุงตนเองตลอดจนขยายพื้นฐานทางวัฒนธรรมของตนเอง

   *  เพื่อสนองความต้องการด้านปัญญา

   * เพื่อสนองความต้องการด้านจิตใจ

 3. สิ่งที่อยากทำ

          อยากเห็นเด็กๆ  ในชนบทเห็นคุณค่าของการอ่านให้มาขึ้น  ให้รักหนังสือ  เพราะหนังสือคือสิ่งสำคัญยิ่งต่อมนุษย์ทุกวันนี้  จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยอันหนึ่งในการดำรงชีวิต  คนที่ไม่รู้หนังสือ  แม้จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ก็เป็นชีวิตที่ไม่สมบูรณ์  ไม่มีความเจริญ  ไม่สามารถประสบผลสำเร็จในสังคมได้ 

                                                        นรินทร์  ลีกระโทก  บันทึก

 

     

หมายเลขบันทึก: 197918เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2008 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การอ่านไม่ใช่วัฒนธรรมการเรียนรู้ของคนไทย แต่เป็นการฟัง เช่น ฟังนิทาน ฟังเทศน์ ตามกระแสวัฒนธรรมของคนตะวันออก คำว่า พหูสูต ที่แปลว่า ผู้เรียนรู้มาก ผู้อ่านมาก ตามรูปศัพท์ก็คือ ผู้ฟังมาก เด็กไทยเราชอบฟังนิทานจากผู้ใหญ่มากกว่าอ่านเอง ส่วนหนึ่งไม่ใช่เพราะเกียจคร้านแต่การเล่าทำให้ได้อรรถรสและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนรุ่นหนึ่งกับคนอีกรุ่นหนึ่งและเราก็มีแนวโน้มชอบอย่างนั้นมากกว่า เมื่อมีวิทยุโทรทัศน์ เราจึงนิยมเสพมากกว่าหนังสือ

ดิฉันคิดว่า สิ่งสำคัญที่น่าคิดคือ เด็กไทยรับความรู้จากทางใดบ้าง วิเคราะห์สาเหตุ และจะหาวิธีหรือกิจกรรมในห้องเรียนที่ปลูกฝังให้รักการอ่านอย่างไรบ้าง

การสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการอ่านเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กรักการอ่าน เช่นที่บ้านมีมุมหนังสือสำหรับเด็ก ในหลังเบาะรถมีหนังสือการ์ตูนสีสวย ๆ เสียบไว้ล่อตาล่อใจ

ที่โรงเรียนมีมุมสบาย ๆ มีหนังสือแปลกใหม่ผลัดเปลี่ยนมาเด็กได้ตื่นตาตื่นใจอยู่เสมอ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านจาก Internet สารานุกรม และกิจกรรมดี ๆ อื่น ๆ น่าจะช่วยได้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท