ปัญหาในการอ่านหนังสือของนักเรียนในชนบทชายแดน


ปัญหาของเด็กชายแดนเขมรบุรีรัมย์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่  31  กรกฎาคม  2551  เวลาประมาณ  10.30 น. ได้เข้าสนทนากับผู้เชี่ยวชาญ  ดร.อรพินธ์  และคุณปัด  ซึ่งได้ Conferance ถึงปัญหาในการอ่านหนังสือของนักเรียน  และได้เสนอแนะปัญหาของการไม่มีนิสัยรักการอ่านของเด็กนักเรียนในพื้นที่ชายแดนไว้หลายสาเหตุ ที่เป็นเรื่องจริง เช่น

      1. เด้กนักเรียนย้านติดตามผู้ปกครองไปประกอบอาชีพรับจ้าง ในต่างพื้นที่เป็นเวลานานเป็นเดือน  เพือรับจ้างทางการเกษตร  ตัดอ้อน  ปลูกมัน  กรีดยางทำสวนผลไม้  ระยะเวลา  2 - 3  เดือนก็ย้ายกลับอีกครั้ง เป็นอย่างนี้ประจำทุกๆปี

      2. ครูมาบรรจุใหม่เมื่อพ้นทดลองจะขอย้ายกลับภูมิลำเนา  การจัดกิจกรรมหรือการดำเนินการตามโครงการไม่ต่อเนื่องในบางกิจกรรม  นักเรียนได้เรียนในกลุ่มสาระที่ครูสอนไม่ต่อเนื่อง  เด็กย้ายเข้าออกบ่อยครูย้ายบ่อยผลสัมฤทธิ์นักเรียนก็ต่ำ

      3.  ครูสอนไม่ตรงตามวิชาเอก  หรือไม่ตรงตามวิชาที่ถนัด  เพราะครูในชายแดนต้องสอนประจำชั้นคนเดียวและต้องสอนทั้ง  8 กลุ่มสาระ และมีกิจกรรมเพิ่มอีกมากหมาย  สาระวิชาที่ถนัดก็ตั้งใจสอน วิชาที่ไม่ถนัดก็สอนเท่าที่จำเป็นหรืออาจไม่สอนเลย เช่น  สาระศฺลปะ ดนตรี นาฏศิลป์  สาระพลศึกษา  สาระงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นต้น

     4.  ครูไม่ครบชั้นเรียน  เนื่องจากเกณฑ์การจัดสรรครูได้ยึดจำนวนนักเรียนไม่ยึดชั้นเรียน  ในบางโรงเรียนเปิกสอน  ตั้งแต่ชั้นอนุบาล - ป.6  มี 8 ห้องเรียนแต่ตามเกณพ์มีครูสอน  4 - 5 คน

     5.  ปัญหาอื่นๆอีก  เช่น ปัญหาครอบครัว  พ่อแม่หย่าร้าง   ความยากจน  เด็กอยู่ตามลำพังผู้ปกครองไปหารับจ้างต่างพื้นที่เป็นเวลาหลายเดือน  เด็กขาดเรียนไปรับจ้าง  หรือช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพ  ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญทางการศึกษา เป็นต้น

        ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ 

         1.  ควรประชุมผู้บริหารโรงเรียนในพื้นที่ใกล้กันที่มีผลของปัญหาคล้ายๆกัน  ร่วมปรึกษากำหนดแผนและวิธีการแก้ปัญหา

         2. ทำความเข้าใจกับครู  ผู้ปกครอง  ผู้นำท้องถิ่น  นักเรียน  จัดทำSWOT  หาจุดอ่อน  จุดแข็งจากการระดมความคิด  กำหนด VISION  MISION  ของสถานศึกษาและหาโอกาสวางแผนพัฒนา 

         3.  เก็บข้อมูลความรู้พื้นฐานของนักเรียนด้านการอ่าน  จากคะแนน NT   คะแนน  O - NET  และคะแนนจากการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน

           ขอขอบคูณผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อเสนอแนะ

คำสำคัญ (Tags): #ปัญหาในการอ่าน
หมายเลขบันทึก: 198158เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 14:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นปัญหาที่น่าหนักใจ น่าเห็นใจและต้องรีบแก้ไขนะคะ ทราบดีว่ายากแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ให้เด็กไปเรียนตามระบบป.๑-ม.๓เหมือนนักเรียนทั่วไปก็คงจะไม่ได้ด้วย

แต่วิธีแก้ปัญหาที่เสนอมาข้างต้นก็ยังเป็นวิธีแก้เดิมๆ เดิมๆอย่างไร?

แน่นอนตามหลักการต้องมีข้อ ๑.เมื่องบประมาณมาถึง หลังการสัมมนาก็จะพบข้อ๒.ข้อ ๓.เป็นผลที่ตามมาของข้อ ๒ และก็จะเกิดข้ออื่นๆตามมาอีกเป็นจำนวนมาก ข้อ๓.แม้ไม่ทำก็รู้ผลการทดสอบดี

ดิฉันเสนอให้ตั้งโรงเรียนพิเศษสำหรับชุมชนห่างไกล ระยะสั้น เน้นการอ่านออกเขียนได้ การสอนวิธีคิด การใช้เหตุผลและอื่นๆที่จำเป็น ของเหล่านี้เป็นความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการอยู่ในสังคม ถ้าให้ครื่องมือในการหาความรู้แก่นักเรียนแล้ว ไม่ว่าเขาจะทำอะไรก็สามารถพึ่งตัวเองได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท