kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การประกวดโรงเรียนดีเด่นด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพระดับเขต (บทนำ) : โรงเรียนคู่หูด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพ


เกณฑ์การประกวดก็ยังเหมือนเดิม คือดูในแง่นโยบาย , การจัดกิจกรรม , ความยังยืนของกิจกรรม , การเปิดโอกาสให้นักเรียนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม , และการเป็นเครือข่ายของทั้ง 2 โรงเรียนที่เป็นคู่หูกัน

        ปีนี้ พ.ศ. 2551 กรมอนามัยได้จัดให้มีการประกวดผลงานด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพในระดับเขต โดยแบ่งกลุ่มการประกวดผลงานออกเป็น 2 หมวด เหมือนเช่น 3 ปี ที่ผ่านมา ได้แก่

  1. หมวดการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
  2. หมวดการควบคุมอาหารที่มีผลต่อภาวะสุขภาพ
  3. หมวดการจัดการเรียนรู้

        ซึ่งในปีนี้พิเศษหน่อยตรงที่จัดให้มีการประกวดในลักษณะเป็นคู่หู คือมี 2 โรงเรียนเป็นเครือข่ายในการจัดกิจกรรมร่วมกัน  เนื่องจาก ใน 3 ปีที่ผ่านมาเริ่มมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการลดลง รวมทั้งมีโรงเรียนซ้ำเดิมกับปีก่อน ๆ เข้าประกวด แสดงว่าการขยายเครือข่ายการจัดทำกิจกรรม เริ่มมีขนาดที่คงที่ ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการประกวด  การเป็นการประกวดในลักษณะโรงเรียนคู่หู จะทำให้โรงเรียนได้มีการขยายเครือข่ายมากขึ้น  ในปีนี้อาจเป็นคู่ 2 แต่ในปีต่อไปอาจเป็นคู่ 4 หรือ คู่ 8 ซึ่งจะทำให้โรงเรียนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากยิ่งขึ้นต่อไป

       ในเขตตรวจราชการที่ 3 ซึ่งได้แก่จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร อุทัยธานี  ปีนี้ได้ส่งโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นเข้าประเมินเป็นโรงเรียนดีเด่นระดับเขต ดังนี้คือ

  • นครสวรรค์ ส่ง 3 หมวด  6 โรงเรียน ในเขตอำเภอบรรพตพิสัย  1 คู่ และลาดยาว 2 คู่
  • กำแพงเพชร ส่ง 3 หมวด 6 โรงเรียน ในเขตอำเภอไทรงาน  ทรายทองวัฒนา และคลองลาน
  • อุทัยธานี ส่ง 1 หมวด (การแปรงฟัน)  ในเขตอำเภอลานสัก 
  • พิจิตร ส่ง 1 หมวด (การควบคุมอาหาร) ในเขตอำเภอวชิรบารมี

       สำหรับเกณฑ์การประกวดก็ยังเหมือนเดิม คือดูในแง่นโยบาย , การจัดกิจกรรม , ความยังยืนของกิจกรรม , การเปิดโอกาสให้นักเรียนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม , และการเป็นเครือข่ายของทั้ง 2 โรงเรียนที่เป็นคู่หูกัน

       ในหมวดการแปรงฟัน นั้นนอกจากมีกิจกรรมการแปรงแล้ว ต้องคำนึงถึงคุณภาพของกิจกรรม การพัฒนาต่อยอด ความคิดสร้างสรรค์ และการพัฒนาขีดความสามารถของนักเรียนในการจัดกิจกรรม

        ในหมวดการควบคุมการรับประทานอาหาร นอกจากควบคุมได้แล้ว ต้องมีการจัดกิจกรรมในการสร้างความตะหนักในเด็ก ตลอดจนในชุมชน ได้มีความรู้ความเข้าใจ  นอกจากนั้นอาจจะต้องมีการสร้างนโยบายสาธารณะ ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันในโรงเรียนและชุมชนที่เกี่ยวข้อง

       ในหมวดการจัดการความรู้ เป็นการรวมทั้งหมวดการแปรงฟัน และการควบคุมอาหาร มาจัดการให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือการใช้ข้อมูลสารสนเทศ ผลการตรวจ การจัดกิจกรรม มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอน และการพัฒนาศักยภาพนักเรียน (ในโครงการเด็กไทยทำได้)

      นอกจากนั้น ยังเน้นในเรื่องการนำเสนอ เนื่องจากการคัดเลือกนั้นต้องการคัดเลือกโรงเรียนเพื่อไปนำเสนอให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หากผลการนำเสนอไม่ดี ไม่รู้เรื่องก็จะทำให้ไม่สามารถไปแสดงผลงานได้ตรงวัตถุประสงค์

      สำหรับการจัดการประกวด ศูนย์อนามัยที่ 8 ได้ออกประกวดในระหว่างวันที่ 26 ก.ค. - 15 ส.ค. 51 ซึ่งมีคณะกรรมการ 4 ท่านคืออาจารย์อัญชลี ตั้งบรรเจิดสุข , อาจารย์มณฑวรรณ ยังชูกุล , ทพ.ญ.กนกพร โพธิ์หอม และผมเอง

         สำหรับผลการประกวดจะได้นำมาแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป

    ขอบคุณครับ       

หมายเลขบันทึก: 198222เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2008 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไปกันทุกรอบ เฮะ.. เหนื่อยดีนิหมอก้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท