ประเมินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งาน IC


แลกเปลี่ยน IC

ในช่วงปีงบประมาณ 2551 คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้มีกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรุ้ในหน่วยงาน 3 หน่วยงาน ซึ่งด้วยภาระกิจที่หลากหลาย ทำให้กิจกรรมยืดเยื้อมาถึงวันนี้ แต่ด้วยแรงใจ ความตั้งใจของผู้ทำกิจกรรมก็ได้ดำเนินการจนแล้วเสร็จ สรุปผลการดำเนินการได้ดังนี้ค่ะ

 IC  delivery แลกเปลี่ยนฟรี    ไม่คิดตังส์

                       ที่มาของเรื่อง

                จากเรื่องเล่า (Story telling) ของคุณเสาวนีย์  ICWN  หลังผ่านการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล  เป็นเวลา 2 สัปดาห์  ณ จังหวัดขอนแก่น เกิดประเด็นที่สนใจคือ   งาน IC  หยุดนิ่งไม่ได้ ต้องพัฒนาต่อเนื่อง และต้องทำเชิงรุก

กิจกรรมเชิงรุกในงานป้องกันการติดเชื้อของโรงพยาบาลขอนแก่นที่คุณเสาวนีย์เล่าเรื่องคือ การเข้าพื้นที่หน่วยปฏิบัติงานของ ICN   ในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง หัวหน้าช่วยลูกน้อง หรือเรามีของดีมาบอกต่อ  สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  คือ ใคร ทำ อะไร ที่ไหน ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร  เกิดสิ่งดีๆใดบ้าง  ต้องการขยายผล หรือเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นๆได้รับรู้  หรือการทำกิจกรรมมีปัญหาอุปสรรคอย่างไร แก้ไขอย่างไร  โดยกิจกรรมต่างๆเหล่านี้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง ผู้ป่วยและองค์กร อย่างไร

                คณะกรรมการฯ IC จึงมีแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม IC  delivery แลกเปลี่ยนฟรี    ไม่คิดตังส์   โดยนำกระบวนการจัดการความรู้ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสร้างพลังทวีคูณ จากการรวมหมู่ สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน เพื่อดึงศักยภาพของคน และทีมงานออกมา และนำไปสู่การพัฒนางาน IC  ให้ยั่งยืน หรือนำไปสู่การสร้างนวตกรรมใหม่  ตามบันไดสี่ขั้นสู่การเรียนรู้และพัฒนา  คือ  ไม่รู้  รับรู้  เลียนรู้  และเรียนรู้ 

เป้าหมายดำเนินงาน  คือ

1.       เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างบุคลากรผู้ปฏิบัติและคณะกรรมการ เกี่ยวกับ ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน IC  ของหน่วยงาน  / ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน   ร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหา

2.       เกิดกิจกรรมการดำเนินงานใหม่ๆ เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหางาน IC ในหน่วยงาน

3.       เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคณะกรรมการและผู้ปฏิบัติ เกิดความเข้าใจร่วมกันในการมุ่งสู่การป้องกันควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

4.       บุคลากรให้เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น

             กลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน  ในปี 2551 วางแผนดำเนินกิจกรรม ใน 3 หน่วยงานนำร่องคือ แผนกสูติกรรม 1 , งานเวชศาสตร์ ชันสูตร , งานบริการกลาง  โดยทีมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ลงพื้นที่ในหน่วยงานทั้ง 3หน่วยงาน ๆละ   2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน ครั้งที่ 1  คือกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ครั้งที่ 2  การประเมินผลของกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1.       ร่วมประชุมในทีมคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล เพื่อรับสมัครตัวแทนเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการ กำหนดประเด็น (หัวปลา) วิธีการแลกเปลี่ยน(ตัวปลา)

2.       ลงพื้นที่ในหน่วยงานโดยนัดหมายล่วงหน้าเพื่อได้พบบุคลากรผู้ปฏิบัติได้มากที่สุด

3.       พูดคุย เล่าถึงวัตถุประสงค์ในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและร่วมกับ เสนอแนวทางการเฝ้าระวังการติดเชื้อในหน่วยงานของตนเอง

4.       ได้ข้อสรุปในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมจดบันทึก

5.       ติดผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมื่อมีการปรับเปลี่ยน หรือมีการตกลงทำความเข้าใจจากการกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่ได้

1.       การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่แผนกสูติกรรม 1

ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  -  การใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

  -  การจัดการขยะในหน่วยงาน

  -  การแยกผู้ป่วย

การติดตามผล

สิ่งที่ทำได้สำเร็จ 

-          การบริหารจัดการเกี่ยวกับการจัดการขยะในหน่วยงาน

-          การจัด Zone  การแยกผู้ป่วยติดเชื้อ

      สิ่งที่ทำไม่สำเร็จ

              -   การใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ของเจ้าหน้าที่ยังไม่สม่ำเสมอ

สิ่งที่จะพัฒนาต่อ

              - หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่

2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่งานบริการกลาง

ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

        - การใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

         -  การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานเกี่ยวกับการทำงาน

        -  ประเด็นทั่วไปเกี่ยวกับความเครียดของเจ้าหน้าที่

การติดตามผล

สิ่งที่ทำได้สำเร็จ 

-          งานบริการกลางจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายระหว่างการปฏิบัติงาน กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานโดยมีหัวหน้าหน่วยงานเป็น FA

-          เจ้าหน้าที่ใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สม่ำเสมอขึ้น

-          เจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจกับกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ไม่เครียด

      สิ่งที่ทำไม่สำเร็จ

-          การเกิดข้อผิดพลาดในงานบางอย่าง ซึ่งเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด

 

สิ่งที่จะพัฒนาต่อ

              - ใช้กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการกลางร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน

 

3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานเวชศาสตร์ ชันสูตร

ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

         - การใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่

         -  การไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานงาน IC  เช่น  การล้างมือ การทิ้งขยะติดเชื้อ

 การติดตามผล

สิ่งที่ทำได้สำเร็จ 

         - มีการล้างมือมากขึ้น สังเกตจากผ้าเช็ดมือ กระดาษเช็ดมือถูกใช้มากขึ้น

         - มีการใส่ถุงมือป้องกันมากขึ้น สังเกตจากจำนวนถุงมือที่ใช้มากขึ้น

         - การทิ้งสารคัดหลั่งติดเชื้อ ขยะติดเชื้อปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน

สิ่งที่ทำไม่สำเร็จ

-          การใส่เสื้อกาวน์ยังเหมือนเดิม ไม่สม่ำเสมอ

 สิ่งที่จะพัฒนาต่อ

-          กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ห้อง Lab ปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

-          ปรับปรุงระบบการใส่เสื้อกาวน์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

 

การต่อยอดความคิด และการนำไปใช้ประโยชน์

1.       AAR  กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหน่วยงานนำร่อง  เพื่อพัฒนาต่อ

2.       จัดกิจกรรม IC  delivery แลกเปลี่ยนฟรี    ไม่คิดตังส์ ให้ครบทุกหน่วยงาน

3.       สรุป ปัจจัยความสำเร็จ  ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำมาวางแผนงานโครงการ IC  ในปีงบประมาณต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 200198เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2008 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีโครงการดีดีอย่างนี้น่านำไปปฏิบัติตามค่ะ

ยินดีด้วยนะคะ ที่มีกิจกรรมที่ดี ที่ รพ.ศรีนครินทร์มีการแลกเปลี่ยน MDR เหมือนกันคะ

เยี่ยมมากๆเลย ผู้นำด้านการติดเชื้อ(ดีหรือไม่ดีเนี่ย อิอิอิ)ของเรา เวิร์คสุดฤทธิ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท