เร่งคลอดแพ็กเกจประกันภัยพืชผล เรียกเก็บเบี้ยไร่ละ5-10บ.ลดความเสี่ยงภัยพิบัติทำเสียหาย


     นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายจัดทำโครงการประกันความเสี่ยงพืชผลทางการเกษตร เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงและลดผลกระทบของความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ภัยศัตรูพืช และภัยทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรทั่วประเทศ จึงมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรประสานกับกระทรวงการคลัง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดทำข้อกำหนดและเงื่อนไขโครงการตั้งแต่เรื่องของเบี้ยประกัน หลักเกณฑ์การตรวจสอบความเสียหาย การพิจารณาค่าชดเชย ตลอดจนข้อปฏิบัติต่างๆ ให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยตั้งเป้าให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี

ทั้งนี้โครงการดังกล่าว จะครอบคลุมการประกันทั้งในส่วนการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติโดยการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าและการบริหารจัดการหลังเกิดภัยเพื่อฟื้นฟูช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย รวมถึงการแก้ไขจัดการพื้นที่ประสบภัยและปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 4 โครงการหลักได้แก่ 1.โครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร 2.โครงการบริหารจัดการการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ 3.โครงการบริหารจัดการศัตรูพืชและการเขตกรรมเพื่อลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกร และ 4.โครงการบริหารจัดการด้านการตลาดและราคาสินค้าเกษตร

"อาชีพเกษตรกรรมมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะนอกจากจะต้องเผชิญกับความแปรปรวนของสภาพอากาศ การระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งภัยธรรมชาติต่างๆแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องของความไม่เสถียรภาพของราคาโดยเฉพาะช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันด้วย ดังนั้นจึงต้องเร่งจัดทำข้อกำหนดและเงื่อนไขโครงการฯให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยรัฐจะเป็นผู้ดำเนินการเองและให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการจ่ายเบี้ยประกันประมาณ 5-10 บาท/ไร่ พร้อมทั้งเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจะต้องเข้าโครงการก่อน ส่วนนอกพื้นที่เสี่ยงภัยจะเป็นการเปิดให้เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ" นายสมศักดิ์กล่าว

ที่มา http://www.naewna.com/news.asp?ID=105593

หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 23/4/2008

หมายเลขบันทึก: 200813เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2008 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันนี่เป็นการนำเสนอโครงการเกี่ยวกับพืชผักกันบ้างจะเห็นว่า โครงการนี้มีววัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านผลผลิตที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตที่จะออกมาสู่ตลาด และนั้นก็ตรงกับลักษณะสินค้าเกษตรที่เราเคยรู้กันอยู่แล้วว่าเป็นเป็นการผลิตที่ต้องพึ่งพาสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก ถ้ามีการหลักประกันความเสี่ยงก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่อันนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นไปได้ที่ตัวเกษตรต้องไม่ลำบากด้วย ต้องไม่มีการบังคับ ควรให้เกษตรกรเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท