เรียน..หลักการวิเคราะห์ทางสถิติในบทความทางการแพทย์


ฺBiostatistics By Dr Bundit Thinkhamrop

วันที่ 14 สิงหาคม 2551  เรียนหลักการวิเคราะห์ทางสถิติในบทความทางการแพทย์

เราเรียนรู้ตั้งแต่เรื่อง ประชากร กลุ่มตัวอย่าง การสุ่ม  การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตัวแปร  การวัดผลลัพธ์


สถิติ

  • เป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ 

  • สถิติจะทำให้เรานำผลการศึกษาไปใช้อธิบายประชากร ซึ่งการศึกษาทุกหน่วยประชากรเป็นไปได้ยาก และสิ้นเปลือง

  • เราจึงสุ่มมาเพียงบางส่วนเรียกว่า ตัวอย่าง 

การเก็บข้อมูล

  • มีแบบสอบถาม

  • ควรสร้าง Case record form (CRF) ไว้ด้วยจะทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ข้อมูล


ตัวแปร จะต้องรู้

  • ตัวแปรต้น

  • ตัวแปรตาม

ตัวแปรตามมี 4 ประเภท

  • ตัวแปรต่อเนื่อง (Continuous outcome) หาเฉลี่ย (mean)

  • ตัวแปรแจงนับ (Categorical outcome) มี Dichotomous(หาย/ ไม่หาย)  Polytomous ให้หาค่าสัดส่วน (Proportion)

  • Numerical count(Posoin) นับจำนวนครั้ง เช่น ทำฟันกี่ครั้งในรอบเดือน ปี

  • Survival outcome

การดำเนินการวิจัย ต้องระวังความลำเอียง (Bias)

  • Selection bias การเลือกตัวอย่าง

  • Information bias

  • Confounding bias การเก็บข้อมูลปัจจัยบางตัว แต่ไม่ได้เก็บข้อมูลที่มีผลต่อตัวแปรทั้งหมด

สรุป...สถิติเชิงอนุมาน

  • ค่าสรุปเพียงเพื่อได้ข้อมูลเพียงเท่านั้น

  • เป็นเพียงโอกาส

  • มันอาจต่างไปเพราะความบังเอิญ

  • เราจะเห็นความแปรเปลี่ยนของข้อมูลเรียกว่า ความแปรปรวน (Varience)

  • SD เป็นการบอกถึงการกระจายตัวของข้อมูล ถ้าน้อย แสดงว่า การกระจายน้อย เรียกว่า Homogeneous ถ้ามากแสดงว่าข้อมูลแตกต่างกันมาก (Heterogenity)


Note   อ่านงานวิจัยแล้วจะต้องรู้

  • ตัวแปรต้นคืออะไร มีบทบาทอย่างไร

  • ตัวแปรตามคืออะไร ประเภทไหน มีกี่ตัว

  • วัดกี่ครั้ง

  • Design งานวิจัย เป็นประเภทใด

  • สถิติถูกต้องไหม


สรุปเนื้อหาได้เท่านี้ค่ะ  ที่จริงมีมากกว่านี้ค่ะ....

 

หมายเลขบันทึก: 201213เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

Note

  • ถ้าเราต้องการให้ p value significant ต้องมี sample site มากพอจะ significant เสมอ
  • การนำเสนอสรุปผลทางสถิติ ปัจจุบัน นิยมเสนอช่วงเชื่อมั่น (95% CI) มากกว่าเสนอด้วย  p value

แวะมาเรียนด้วยคนครับพี่

โห ปวดหัวจริง ๆ อิอิ

ขอบคุณครับ

สวัสดีคะพี่แก้ว ขอทบทวนเรียนอีกครั้งนคะ สรุปได้เข้าใจมากคะดีกว่าไปนั่งเรียนเอง ง่วงนะคะ

ขอบคูณคะบทความดี ๆ

ไก่

Hello PiiKaw, I have looked through your conclusion again. Yes, recall myself well understanding. But there are lot of materils to read..ohhhh. You have not mentioned about ..p-value and 95 % CI.. However..your distribution is very useful and helpful..

See you at the front of hospital in tomoorow August 17, 2008 lunch time.

LOL...Kade

Came by again to say Happy birthday on coming August 17, 2008. A warm birthday wish to you kah PiiKaw.

Love and Warm Regards,

Kade

ครูโย่ง

เรียนแล้วเป็นยังไงคะ ปวดศีรษะไหม

ไก่

ตามมาเรียนด้วยกันแล้วช่วยอ่านด้วยนะ

 

P

I am not clear  about p value and 95%CI,  so I have not mentioned about its

Statistic, we' not prove. We have just only

Note

Study outcome

  • Response variable
  • Dependent variable
  • Independent variable
  • explanatory variable
  • Factor

P1160188

good experience for us

 

Thank for say my happy birth day, yesterday I'd cerebrated with my cooleague.We're all happy so much.

 

Gate

 พี่หาข้อมมูลเพิ่มเกี่ยวกับ

การพิจารณาความชัดเจนของความต่างของผลการรักษา

 

  • ผลการรักษาใด ๆ ก็ตามเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถทราบค่าที่แท้จริงได้ ค่าที่ใกล้เคียงที่สุดคือค่าที่ประมาณการได้จากการทดลองที่มีการควบคุมอย่างดีเรียกว่า ค่า “point estimate”
  • ในทางสถิติมักจะคำนวณค่า ช่วงเชื่อมั่น (confidence interval) ประกอบด้วยเสมอ การศึกษาทั่ว ๆ ไป นิยมรายงานผลที่ช่วงเชื่อมั่น 95% ( 95% CI )
  •  ช่วงเชื่อมั่น 95% (95% CI) หมายความว่า ค่าที่แท้จริงของผลมีโอกาสจะอยู่นอกช่วงนี้เพียง 5%
  • งานวิจัยที่มีช่วงของ 95% CI แคบจะมีความชัดเจนกว่างานวิจัยที่มีค่า 95% กว้าง ทั้งนี้ค่า 95% CI ต้องไม่มีช่วงที่คร่อม “O”

ใช่ค่ะ อาจารย์เน้นว่า ควรให้ความสำคัญ 95% CI มากกว่า p- value (พื้นที่ใต้กราฟ เพราะ p-value ไม่ได้บอก magnitude ใดๆ ทั้งสิ้น )

บางครั้งเกศก็งงๆ ค่ะ แต่เหมือนจะเข้าใจมากขึ้น เฮ้อ...!!

แต่อย่างไรก็ตามทั้ง pa-value และ 95%CL ก็ล้วนเป็นตัวกำกับให้เราตัดสินใจ

ขอทบทวนความรู้ด้วยคนนะคะ เคยเป็นศิษย์เก่าระบาดวิทยาแต่ร้างเวทีไปนานความรู้หดหายแล้วค่ะ วันนี้ได้มีโอกาสผ่านเข้ามาอ่าน..ดีมากเลยค่ะ..ขออนุญาตเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

ขอบคุณมากคับ ได้ความรู้เยอะเลย สรุปได้โอเคเลยคับ กำลังจะสอบปลายภาคเกี่ยวกับวิชานี้พอดี ^^!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท