จรรยาบรรณของครู


นางสาวอารีรัตน์ ใจเที่ยง

 

 

จรรยาบรรณของครู

 

 

จรรยาบรรณ คือ จริยธรรม ( จริยธรรมหมายถึงความประพฤติที่ดีงาม )

ของผู้ประกอบวิชาชีพที่องค์กรวิชาชีพกำหนดขึ้นให้คนในวงการของตนประพฤติปฏิบัติ

ขอนำเสนอจรรยาบรรณของครูตาม ข้อกำหนดของคุรุสภาที่กำหนดให้ครูประพฤติปฏิบัติ

ระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539 มีดังนี้
1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมและให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน และสร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถและด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3. ครูต้องประพฤติและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งหลาย ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติ ปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ จ้าง วาน ให้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
9. ครูพึงประพฤติและปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาแลวัฒนธรรมไทย สำหรับผู้อยู่ในวิชาชีพครูจะต้องมั่นใจ ในการประกอบวิชาชีพนี้ด้วยความรัก และชื่นชมในความสำคัญของวิชาชีพ

จรรยาบรรณครูต่อวิชาชีพ

 

ผู้ที่อยู่ในวงวิชาชีพจะต้องยึดถือจรรยาบรรณ ในการดำรงวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับ คือ

  • ศรัทธาต่อวิชาชีพ

ผู้ที่อยู่ในวงการวิชาชีพครู ต้องมีความรักและศรัทธาต่อวิชาชีพครู เห็นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ ในฐานะที่เป็นอาชีพที่สร้างคนให้มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนที่พึงประสงค์ของสังคม

  • ธำรงและปกป้องวิชาชีพ

สมาชิกของสังคมวิชาชีพต้องมีจิตสำนึกในการธำรง ปกป้อง และรักษาเกียรติภูมิของวิชา ไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน หรือเหยียบย่ำ ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ หรือ มัวหมอง

  • พัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพ

หน้าที่ของสมาชิกในวงการวิชาชีพคือ การที่ต้องรับผิดชอบในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย สร้างความรู้และเผยแพร่ความรู้ เพื่อทำให้วิทยาการในศาสตร์สาขาวิชาชีพครูก้าวหน้าทันสังคมทันเหตุการณ์ ก่อประโยชน์ต่อประชาชนในสังคม ทำให้คนเก่ง และฉลาดขึ้น

  • สร้างองค์กรวิชาชีพให้แข็งแกร่ง

สมาชิกในวงวิชาชีพต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะ ต้องสร้างองค์กรวิชาชีพให้คงมั่นธำรงอยู่ได้ด้วยการเป็นสื่อกลางระหว่าง สมาชิก และเป็นเวทีให้คนในวงการได้แสดง ฝีมือและความสามารถทางการสร้างรูปแบบใหม่ของการเรียนการสอนตลอดจนการเผย แพร่ผลงานทางด้านการสร้างแบบเรียนใหม่ ๆ การเสนอแนวความคิดห่าในเรื่องของการพัฒนาคน การเรียนการสอน และการประเมินผล

  • ร่วมมือในกิจกรรมขององค์กรวิชาชีพ

สมาชิกในสังคมวิชาชีพต้องร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวในเรื่องของความคิด หรือการจัดประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร หากไม่ได้รับความสนับสนุนจากสมาชิกแล้ว ทำให้องค์กรวิชาชีพขาดความสำคัญลงและไม่สามารถดำเนินภารกิจขององค์กรวิชาชีพต่อไปได้

จรรยาบรรณครูต่อศิษย์

ครูจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติต่อศิษย์ 9 ประการ คือ

  • ตั้งใจถ่ายทอดวิชาการ

บทบาทของครูต้องพยายามที่จะทำให้ลูกศิษย์เรียนด้วยความสุข เรียนด้วยความเข้า ครูจะต้องตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะสอน

  • รักและเข้าใจศิษย์

ครูต้องพยายามศึกษาธรรมชาติของวัยรุ่น ครูจึงควรให้อภัย เข้าใจ และหาวิธีการให้ศิษย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ ครูต้องพยายามทำให้ลูกศิษย์รักและไว้ใจเพื่อที่จะได้กล้าปรึกษาในสิ่งต่างๆแล้วครูก็จะ สามารถช่วยให้ศิษย์ประสบความสำเร็จในการเรียน และการดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้อง

  • ส่งเสริมการเรียนรู้

ปัจจุบันนี้เน้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง อาจจะทำให้ผู้เรียนมีวิธีการหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตนเองมากกว่าจะคอยให้ครูบอกให้แต่ฝ่ายเดียว ครูจึงจำเป็นต้องชี้ช่องทางให้ผู้เรียนหาวิธีการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองให้ถูกต้องมากขึ้น

  • ยุติธรรม

อาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนซื่อสัตย์ ยุติธรรม ไม่มีอคติลำเอียงต่อลูกศิษย์ ครูต้องมีความเป็นธรรมในการให้คะแนน และการตัดเกรด

  • ไม่แสวงหาประโยชน์จากผู้เรียน

ลักษณะของครูจะต้องเป็นผู้ไม่แสวงหาอามิสสินจ้าง เงินไม่ใช่สิ่งที่สร้างความสุขเสมอไป ครูต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการกระทำที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจได้ว่า ครูกำลังหาประโยชน์จากศิษย์อย่างไม่เป็นธรรม

  • ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี

ครูมีอิทธิพลต่อศิษย์ทั้งด้านวาจา ความคิด บุคลิกภาพ และความประพฤติ ครูจึงจะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ซึมซับสิ่งที่ทำจากตัวครู เมื่อศิษย์เกิดศรัทธาในความสามารถของครู ศิษย์อาจจะเลียนแบบความประพฤติของครูไปอย่างไม่ได้เจตนา เช่น การตรงต่อเวลา การพูดจาชัดเจน การแสดงความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา สุภาพเรียบร้อย เป็นต้น

  • ให้เกียรติผู้เรียน

การยกย่องให้เกียรติผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ และเกรงใจผู้สอน ครูไม่ควรใช้อำนาจในทางที่ผิด เช่น พูดจาข่มขู่ ใช้คำพูดไม่สุภาพ หรือดูถูกผู้เรียน การเคารพผู้เรียนในฐานะปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจ และการเรียนรู้ที่ดี เมื่อผู้เรียนได้รับการปฏิบัติอย่างดี ย่อมก่อให้เกิดพลังในการศึกษาต่อไป

  • อบรมบ่มนิสัย

 

 

ขอยกคำกล่าวของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีบทบาทหน้าที่ในการอบรมบ่มนิสัยเด็ก โดยท่านเชื่อว่า “การอบรมบ่มนิสัยใคร ๆนั้นเพียงแค่วันละนาทีก็ดีถม”

  • ดังนั้นครูควรแบ่งเวลาในการอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน เช่น ก่อนการสอนแต่ละชั่วโมงอาจชี้แนะหรือให้ความคิดที่ดีแก่ผู้เรียนได้ ครูควรถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสอนคนให้เป็นคนดี
  • ช่วยเหลือศิษย์ผู้เรียน
  1. เมื่อศิษย์เข้ามาอยู่ในสถานศึกษา แต่ละคนปัญหาที่แตกต่างกันออกไปดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ที่จะต้องสังเกตความผิดปกติหรือข้อ บกพร่องของศิษย์ และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้ศิษย์ต้องก้าวถลำลึกลงไปในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
  • เมื่อครูมีจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ครูมีจรรยาบรรณต่อศิษย์แล้ว ครูจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ด้วยคือ จรรยาบรรณต่อตนเอง ครูจะต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา เพื่อให้มีลักษณะ ดังนี้

  • ประพฤติชอบ
  • ครูต้องตั้งตนไว้ในที่ถูกที่ควรสามารถบังคับตนเองให้ประพฤติแต่สิ่งที่ดีงามถูกต้อง
  • รับผิดชอบ
  • ครูต้องฝึกความรับผิดชอบ โดยตั้งใจทำงานให้สำเร็จลุล่วง มีความผิดพลาดน้อย
  • มีเหตุผล
  • ครูต้องฝึกถามคำถามตนเองบ่อย ๆ ฝึกความคิดวิเคราะห์หาเหตุหาผล หาข้อดีข้อเสียของตนเอง และเรื่องต่าง ๆ เพื่อทำให้ตนเองเป็นคนมีเหตุผลที่ดี
  • ใฝ่รู้
  • ครูจะต้องมีการติดตามข่าวสารข้อมูลอยู่เสมอ ๆ ทำให้ครูมีนิสัยใฝ่รู้ อยากทราบคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ครูควรมีความรู้รอบตัวอย่างดี ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อให้ครูดำรงชีพในสังคมได้อย่างเป็นสุข ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ และชี้แนะสิ่งที่ถูกต้องให้กับศิษย์ได้
  • รอบคอบ
  • ครูต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนละเอียดรอบคอบ และประณีต ในการดำเนินกิจการต่าง ๆ การทำกิจกรรม
  • ฝึกจิต
  • การพัฒนาจิต ทำให้ครูอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและส่งผลทำให้ครูทำงานได้อย่างมีประ สิทธิภาพมากขึ้นครูจึงต้องหมั่นฝึกจิตของตนให้สูงกว่ามาตรฐาน ระงับอารมณ์ได้ดี คิดอะไรได้สูงกว่ามาตรฐานและคิดเป็นบวก มากกว่าคิดลบหรือคิดร้าย
  • สนใจศิษย์
    • การสนใจพัฒนาการของผู้เรียน เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้า เพราะถ้าไม่มีผู้เรียนก็ไม่มีวิชาชีพครู ครูจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับลักษณะธรรมชาติผู้เรียน การแก้ปัญหาผู้เรียน การส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
        •  

          จรรยาบรรณ คือ ประมวลพฤติกรรมที่กำหนด ลักษณะมาตรฐานการกระทำของครู อันจะทำให้วิชาชีพครูก้าวหน้าอย่างถาวร โดยที่ครูจะต้องดำเนินการเรียนการสอนโดยการยึดจรรยาบรรณต่อวิชาชีพต่อผู้เรียน และต่อตนเอง ในการทำหน้าที่ของครูให้สมบูรณ์

หมายเลขบันทึก: 203198เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2008 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้  คำว่าจรรยาบรรณของครูถูกพูดถึงบ่อยมาก  เมื่อไรที่มีข่าวไม่ดีของคุณครู  ก็มีการพูดถึงจรรยาบรรณของครูทุกครั้งไป  อยากฝากถามว่า  ทำอย่างไรดีให้ครูรับรู้และปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่ครูควรมี  ไม่ต้องทั้งหมดก็ได้  สักส่วนหนึ่งของจรรยาบรรณทั้งหมดก็ยังดี

เป็นอีกหนึ่งคนที่อยากจะเป็นครูให้ได้ และคิดว่าการที่จะเป็นได้ต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู และรักในอาชีพนี้จริงๆ

ผมจะพัฒนาตนเองครับ ขอบคุณคับที่โพสต์ข้อความ ดี ๆ

ครูน้อยท่เป็นครูดี

คิดว่าเราเป็นครูดีคนหนึ่งนะ มั่นใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท