สัญญาณชีพ


สัญญาณชีพ

ประเด็นที่ประเมิน

การเตรียมอุปกรณ์

1.เตรียมอุปกรณ์ให้ครบก่อนประเมินสัญญาณชีพ ปรอท เครื่องวัดความดันโลหิต กระดาษชำระ ถุงมือ นาฬิกา Alcohol Scrub  อุปกรณ์สำหรับแช่ปรอทเพื่อทำลายเชื้อ

2. ล้างมือก่อนวัดสัญญาณชีพ

3. ใส่ถุงมือ ในรายที่จำเป็น

4. ไม่เปิดเผยผู้ป่วย

5. จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบายก่อนวัดสัญญาณชีพ

การประเมินอุณหภูมิทางปากและทางรักแร้  

1.บอกผู้ป่วยว่าจะวัดอุณหภูมิทางปาก/รักแร้

2.ประเมินบริเวณที่จะวัดอุณหภูมิ

     2.1 วัดทางปากต้องไม่ดื่มน้ำเย็นหรือน้ำร้อนอย่างน้อย 10 นาที

     2.2 บริเวณรักแร้ ต้องไม่มีเหงื่อออกเปียกชื้น รวมทั้งเสื้อผ้าไม่เปียกชื้น

3.ตรวจสอบระดับปรอทให้อยู่ต่ำกว่าระดับ 36 o C

4. วัดอุณหภูมิ

     4.1 ทางปาก ต้องบอกให้ผู้ป่วยอ้าปากและวางปลายประเปาะปรอทไว้ใต้ลิ้นและให้ผู้ป่วยให้อมปรอทไว้และควรงดการพูดคุยขณะที่มีปรอทอยู่ในปาก

     4.2 การวัดอุณหภูมิทางรักแร้ บอกให้ผู้ป่วยยกแขนขึ้นปลายประเปาะปรอทไว้ใต้รักแร้บอกให้ผู้ป่วยหนีบปรอทไว้ และตรวจสอบปรอทให้อยู่ใต้รักแร้            

5. ระยะเวลาในการวัด

     5.1 ทางปาก  3 นาที

     5.2 ทางรักแร้ นาน 5 นาที 

6. นำปรอทออกเมื่อครบเวลาที่กำหนด

7. เมื่อนำปรอทออก ใช้กระดาษชำระเช็ดน้ำลายหรือเสมหะหรือสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ก่อนอ่าน   

8. การอ่านค่าอุณหภูมิ

     8.1 ทางปากให้อ่านตามความจริง

     8.2 ทางรักแร้ ต้องบวกอุณหภูมิเพิ่มอีก 0.5 o C  

8. นำปรอทที่ใช้แล้วไปแช่ทำลายเชื้อ และปิดภาชนะให้เรียบร้อย

9. ลงบันทึกทันทีที่วัดอุณหภูมิ

การประเมิน ชีพจร

1.ประเมินปัจจัยที่มีผลกับการเต้นของหัวใจ เช่น ยา โรคประจำตัวและกิจกรรมที่ผู้ป่วยกระทำอยู่

2.จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่สบายและไม่พูดคุย

    2.1 ท่านอนวางแขนแนบลำตัว หรือ วางข้อมือไว้ด้านหน้าบริเวณใต้ชายโครงโดยหงายข้อมือ

    2.2 ท่านั่ง ให้หักข้อศอกเป็นมุม 90 o  วางแขนบนโต๊ะ หรือ Support แขนไว้

3. วาง 1 หรือ 2 นิ้วของพยาบาลไว้บริเวณร่องกระดูกข้อมือด้านนอก 

4.นับการเต้นของชีพจร โดยดูนาฬิกาที่มีเข็มวินาทีควบคู่กันไป

     4.1 อัตราการเต้นสม่ำเสมอใช้เวลาในการนับ 30 วินาที

     4.2 อัตราการเต้นไม่สม่ำเสมอใช้เวลาในการนับ 60 วินาที

5. บันทึกอัตราการเต้นของชีพจรและลักษณะการเต้นที่ผิดปกติได้แก่ Irregular

การประเมินการหายใจ

1.ต้องแน่ใจว่ามองเห็นการเคลื่อนไหวของหน้าอกขณะที่ผู้ป่วยหายใจอย่างชัดเจน ให้ผู้ป่วยถอดเสื้อบางส่วนออกในกรณีที่จำเป็น และใส่ให้เหมือนเดิมเมื่อประเมินเสร็จ

2.นับการหายใจควบคู่ไปกับการดูนาฬิกาที่มีเข็มวินาที หายใจสม่ำเสมอใช้เวลานับ 30 นาที ถ้าหายใจไม่สม่ำเสมอใช้เวลานับ 60 วินาที สังเกตลักษณะการหายใจควบคู่ไปด้วย

3. ลงบันทึก อัตราการหายใจ และลักษณะการหายใจที่ผิดปกติ เช่น หอบลึก เป็นต้น

ประเด็นที่ประเมิน

การประเมินความดันโลหิต

1. บอกผู้ป่วยว่าจะวัดความดันโลหิตขอความร่วมมือไม่ให้พูดคุยและจัดสภาพแวดล้อมให้สงบ   นำแขนเสื้อขึ้นหรือถอดเสื้อออกในกรณีที่จำเป็น   ใส่กลับอย่างเดิมเมื่อประเมินเสร็จ

2.ประเมินชีพจรบริเวณที่ต้องการวัดความดันโลหิต และพัน Cuff เหนือบริเวณชีพจร        ประมาณ 2-3 ซม.ให้แน่นพอดี บริเวณท่อลมยางตรงกับแนวของ Artery

3. วาง Stethoscope  ด้าน Bell ลงเหนือบริเวณที่คลำชีพจรไว้

4.ปิด วาล์ว ค่อยๆบีบลม ให้ปรอทสูงกว่าความดันปกติประมาณ 30 mmHg (140- 160)

5. ค่อยๆเปิดวาล์วอย่างช้าๆ ให้ระดับปรอทค่อยๆลดลง   

6.จำจุดที่ได้ยินเสียงหัวใจเต้นครั้งแรกอย่างชัดเจน และจุดที่ไม่ได้ยินเสียงหัวใจเต้น

7.ปลด Cuff ออก

8.จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย

9.ลงบันทึกข้อมูลทันที่ที่ประเมินเสร็จ

การมีปฏิสัมพันธ์และการบอกข้อมูลกับผู้ป่วย  

1. บอกข้อมูลที่ได้จากการประเมิน Vital signs กับผู้ป่วย

2.การนำเสื้อบางส่วนออกในกรณีที่จำเป็นต้องกระทำอย่างนิ่มนวลและเหมาะสม

3.ไม่ควรเปิดเผยผู้ป่วยมากเกินไป ถ้าจำเป็นต้องกั้นม่าน

4.เฝ้าระวังการเกิดอันตรายขณะประเมิน  Vital signs เช่น ปรอทแตก ผู้ป่วยตกเตียง เป็นต้น

5.เปรียบเทียบค่าที่ได้จากการประเมินกับค่าปกติของ    Vital signs

6.ลงบันทึกสิ่งที่พบ รวมทั้งรายงานค่าปกติที่พบด้วย

สรุปผลการประเมิน  

คำสำคัญ (Tags): #สัญญาณชีพ
หมายเลขบันทึก: 203868เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2008 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

HNQA ใครทำแล้วมาแบ่งกันดูบ้างค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

ปรอททางปาก ปัจจุบันต้องใช้แบบคนต่อคนหรือใช้ร่วมกันแต่ฆ่าเชื้อก่อนคะ

แบบคนไข้มั่นใจเรื่องความสะอาดของปรอทที่เราใช้หรือเปล่าค่ะ

อยากแลกเปลี่ยนค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

- แวะมาทักทายค่ะ เขียนได้ละเอียดมากเหมือนอ่านการพยาบาลแนวคิด สมัยเรียนพยาบาลเลยค่ะ เคยทำ HNQA ที่ จ.กาฬสินธุ์ แต่ไม่เห็นเขียนละเอียดแบบนี้

ขอแลกเปลี่ยนค่ะ เป็นหัวข้อในเนื้อหาการประเมินทักษะ หรือเปล่าค่ะ แบบว่า 2 ติ๊ก หรือเปล่าเอย

สวัสดีค่ะ. pa_daeng [มณีแดง คนสวย แซ่เฮ] คุณเพชรน้อย คุณประจักษ์(หน้าตาดี เห็นด้วยจริงๆค่ะ)

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อแลกเปลี่ยนและแวะมาเยี่ยม

1. ปรอททางปากของหนูก็ไม่ได้ใช้แล้วค่ะ กำลังจะเอาออกอยู่เหมือนกัน แต่เป็นการประเมินทักษะก็เลยเขียนให้ครอบคลุมค่ะ

2. เป็นการประเมินทักษะนั่นแหละค่ะ 2 ติ๊ก ใช่เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท