หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม


การประเมินโครงการ

          วันนี้ขอเสนอผลรายงานวิจัยเชิงประเมินโครงการ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในการทำผลงานทางวิชาการ เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ  รายงานการประเมินโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม
โรงเรียนไทรทองวิทยาคาร
          การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ  เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม โรงเรียนไทรทองวิทยาคาร เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนไทรทองวิทยาคาร กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ครู นักเรียน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนไทรวิทยาคาร จำนวน  174 คน ปีการศึกษา 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ  แบ่งออกเป็น  3  ตอนและแบบสัมภาษณ์สำหรับ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และผู้ปกครองนักเรียน เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงการ เน้นการสัมภาษณ์การดำเนินงาน ผลที่เกิดขึ้นจาการดำเนินการงานตามโครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม (ทอเสื่อลายขิด)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
 ผลการประเมินผล ปรากฏผลดังนี้
  1.  ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม (การทอเสื่อลายขิด) ด้านบริบทโดยรวมอยู่ในระดับมาก 
เห็นว่า โครงการ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม (การทอเสื่อลายขิด) ส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีบทบาท
ในการพัฒนาการศึกษา  วัตถุประสงค์ของกิจกรรมของโครงการ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม
(การทอเสื่อลายขิด)สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนชุมชนมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษา
  2.  ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการ
หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม (การทอเสื่อลายขิด) ด้านปัจจัยของโครงการ โดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด พบว่า ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รองลงมา คือ โรงเรียนได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม (การทอเสื่อลายขิด)อย่างพอเพียง และผู้บริหารสนับสนุนให้ครูผู้สอนดำเนินโครงการ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม (การทอเสื่อลายขิด)
3. ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเห็นต่อโครงการ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ด้านกระบวนการของโครงการ โดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมาก พบว่ามี การกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ การกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ และผู้บริหารมีการติดตามการดำเนินการโครงการอย่าง นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์จากผู้รู้ในท้องถิ่น
4. ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม(การทอเสื่อลายขิด) ด้านผลลัพธ์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก เห็นว่า การเข้าร่วมโครงการ หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม (การทอเสื่อลายขิด)ทำให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ  กับชุมชนผู้รู้ท้องถิ่น  กิจกรรมในโครงการ ทำให้ครูมีทักษะและประสบการณ์ตรงในการทำงาน  นอกจากนี้ พบว่า นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมากที่สุด กรรมการสถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น(การทอเสื่อลายขิด)ในโรงเรียน บุตรหลานท่านนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียนมีความภูมิใจในผลงานของตนเองที่ได้ปฏิบัติจริง และนักเรียนมีส่วนร่วมในการวัดผลและประเมินผลจากการปฏิบัติจริงในการเรียนการสอน
  5. คณะครู นักเรียน  คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้นำชุมชน ให้ความร่วมการดำเนินงานโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม  ได้ประเมินผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม ตามขั้นตอนโดยใช้วิธีการและเครื่องมืออย่างเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก  มีการเชิญผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความสามารถด้านหัตถกรรมมาสอนนักเรียน ในโรงเรียน นักเรียนทุกคนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียน   ตั้งใจเรียนและเรียนได้อย่างมีความสุขที่สำคัญนักเรียนสามารถผลิตชิ้นงานได้อย่างหลากหลายและน่าพอใจ   ซึ่งนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในโรงเรียน  คือ  การทอเสื่อลายขิด และได้มีจดสิทธิบัตรไว้กับกระทรวงพาณิชย์

นายประเสริฐ   อาสนาทิพย์. รายงานการประเมินโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม
โรงเรียนไทรทองวิทยาคาร,2551

หมายเลขบันทึก: 204548เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 06:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท