“กรมการพัฒนาชุมชน: ชีวิตเรียนรู้สู่องค์การเรียนรู้”


“กรมการพัฒนาชุมชน: ชีวิตเรียนรู้สู่องค์การเรียนรู้”

การบรรยายพิเศษ

เรื่อง

เติมพลังปัญญา  พาองค์กรสู่อนาคต 

โดย  รศ. วุฒิสาร  ตันไชย

โครงการ  กรมการพัฒนาชุมชน: ชีวิตเรียนรู้สู่องค์การเรียนรู้

(Learning Life to Learning Organization)

วันอังคารที่  5  กันยายน 2549

  โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ

**************************

สวัสดี ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน

ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างสูง ที่กรมการพัฒนาชุมชนเชิญผมมาพูดคุยกับทุกท่านในวันนี้  หัวข้อที่ผมได้รับเชิญ  คือ  เติมพลังปัญญา  พาองค์กรสู่อนาคต  สาระสำคัญที่ผมจะกล่าวถึงในวันนี้  มีอยู่ด้วยกัน  3  ประเด็น  คือ 

                   1. การพัฒนาบ้านเมืองในปัจจุบัน

2. ผลกระทบจากการพัฒนา

                   3. ความท้าทายหลักการพัฒนาชุมชน

 

1. การพัฒนาบ้านเมืองในปัจจุบัน

ทุกท่านทราบดีว่า  สังคมในปัจจุบันนี้มีความเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังกล่าวก่อให้เกิดแรงกระแทกต่อชุมชน  ผมขอชี้ให้เห็นดังต่อไปนี้

1) การพัฒนาประเทศภายใต้ความคิดและอัตราความเร่งที่เข้มแข็ง กลายเป็นโครงการที่ต้องเอาด่วน เร็ว นักพัฒนาชุมชนทำงานได้ทุกอย่าง จึงเกิดความลังเลในการทำงาน เพราะทุกอย่างต้องเป็น mass product การที่การเมืองเข้มแข็งมาก นโยบายดี ๆ จำนวนมาก ทำให้ประชาชนเสพติดโครงการเอื้ออาทรต่าง ๆ ดังนั้นรัฐบาลต่อไปจึงต้องใช้การจัดการที่ดีขึ้นจึงจะช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าวลง   ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน  อาทิ  OTOP 5 ดาว ที่ได้มาแล้ว แต่ส่งผลให้ดาวเดียวหายไป  ในสังคมเราอาจภูมิใจต่อตัวเลข OTOP แต่เราต้องไปค้นหาคนที่ตกขบวนการพัฒนาที่เกิดขึ้น  ซึ่งจากการที่นโยบายการพัฒนาต้องการเร็ว ส่งผลทำให้

     *  งานที่ลงพื้นที่จะเป็นงานเชิงนโยบาย งานหลายเรื่องจึง เสร็จแต่ไม่สำเร็จ

     *  ภาคราชการเริ่มอ่อนแอลง ภาคราชการที่เคยเป็นองค์ความรู้ใหญ่มีความเข้มแข็งในเชิงปรัชญาและความถูกต้อง กลับกลายเป็นข้าราชการทุกระดับตกอยู่ใต้การเมือง การที่รัฐบาลเร่งสร้างสังคมและประชาชนที่เข้มแข็งแต่สิ่งที่เกิดขึ้น จริง  หรือไม่ ภาคราชการได้รับผลกระทบจากการปฏิรูปที่รวดเร็ว แต่ปรัชญาหรือแนวคิดการเป็นราชการ เช่น ได้ bonus แล้วมีความขัดแย้ง ควรใช้เป็นการเพิ่มสวัสดิการจะดีกว่าหรือไม่  ทุกหน่วยงานประหยัดไฟเพราะอยากได้ bonus เราคิดแบบเอาไว เร็ว บางครั้งวัฒนธรรมของข้าราชการ เปลี่ยนแปลงไม่ทัน โดยเฉพาะข้าราชการในพื้นที่ การทำ e-learning  ลองถามดูว่ามีพัฒนากรกี่คนที่ access เข้าสู่ระบบ 

2) การพัฒนาที่ทำให้ภูมิภาคเข้มแข็งขึ้นโดยผ่านระบบผู้ว่า CEO ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่ยุทธศาสตร์จังหวัดพูดเรื่อง GDP การเติบโต การท่องเที่ยว แต่ไม่ได้พูดถึงคนที่เข้าไม่ถึง คนตกขบวนการกระจายความทั่วถึง  กรมการพัฒนาชุมชนจึงต้องเก็บตกกลุ่มคนเหล่านี้  ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาจึงมีอีกมาก  เพราะคนที่ได้รับผลจาก OTOP กลายเป็นบริษัท ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องขับเคลื่อนในอัตราที่เร็ว แต่กระบวนการกลุ่ม การทำงานร่วมกันขาดหายไป 

3) การกระจายงบประมาณลงสู่ท้องถิ่น  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 49 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 24.05% (3 แสนกว่าล้าน)  ปีนี้มีแนวโน้มให้ 36% (5 แสน 6 หมื่นล้าน) ส่วนหนึ่งเป็นงบ CEO บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีมากขึ้น ในขณะที่อปท.มีภาระและหน้าที่สะท้อนปัญหา แต่ขาดการสนับสนุน  ดังนั้นจึงควรมีระบบและองค์ความรู้  know how ที่ประสานกัน  นักพัฒนา อปท. มีความเข้าใจปรัชญา ความยั่งยืนหรือไม่ อปท.ต้องการเรื่องการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน  การส่งผ่านความรู้เรื่องศูนย์เด็กฯ  การสร้างชุมชนเข้มแข็ง การทำงานด้วยหลักการพัฒนาชุมชนจึงไม่ควรกลัวการทำเรื่องประชาธิปไตย  การทำให้ อปท.เข้มแข็ง  กรมฯจึงต้องเป็นคนทำฐานราก  ดังนั้นสิ่งที่เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญคือ นโยบาย กรมฯจึงควรเป็นตัวเชื่อมระหว่างประชาชนกับ อปท.และนโยบายรัฐบาล

การจัดการเชิงพื้นที่  มีงบประมาณลงพื้นที่มี 5 ชั้น ได้แก่

                   ชั้นที่  1  ตามนโยบายรัฐบาล Mega project นโยบายที่เกิดจากการประชุม ครม. สัญจร งบกองสลากฯ งบประมาณหลายหมื่นล้านเป็นงบกลาง รั่วลงพื้นที่ ผ่านระบบวาระการประชุมของรัฐบาล

                   ชั้นที่  2 เงินโครงการที่อยู่ตามระบบ กระทรวง  ทบวง กรมฯ เป็นงบดำเนินงาน ซึ่งลดลงถูกตัดลง งบประมาณในอนาคตอาจพูดเรื่อง area based ให้จังหวัด เป็นผู้จัดตั้งงบประมาณ

                   ชั้นที่  3 เงิน CEO ปีนี้ 40,000 ล้านบาท หากเปลี่ยนรัฐบาล CEO ต้องปรับกระบวนการใหม่

                   ชั้นที่  4 เงินท้องถิ่น อบต. ละประมาณ 5 ล้านบาท เทศบาลตำบลแห่งละ 12 ล้านบาท

                   ชั้นที่  5 เงิน กทบ. SML ฯลฯ

 

2. ผลกระทบจากการพัฒนา

งบประมาณ 5 ชั้นนี้ลงพื้นที่ทั้งหมด  คำถามคือ  การจัดการงบประมาณให้เกิดมูลค่าที่คุ้มค่าจริง  ใครจะเป็นผู้จัดการงบประมาณเชิงพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คำตอบจริงๆ แล้วคือ ชุมชน ที่ผ่านกระบวนการประชาคม คำถามต่อไปคือ  ใครจะไปจัดการให้ประชาชนค้นหาความต้องการของตัวเองทำให้เงินมี Value of money”

                   ปัญหาใหญ่ในอนาคต คือ ความต้องการในการจัดการงบประมาณ Key actor คือ ชุมชน ประชาคม กลุ่ม อบต. ซึ่ง อบต. ก็คือการเมือง  ความท้าทายของกรมฯ  คือ การจัดการการเงินที่อยู่ในชุมชน  กรมฯมีองค์ความรู้เรื่อง กข.คจ.  ดังนั้นหากรัฐบาลจะส่งเงินลงชุมชน  เพื่อไม่ให้สร้างปัญหา  กรมฯจึงต้องไปสร้างปัญญาในชุมชนและสังคม

ผลกระทบเหล่านี้ ทำให้เกิดผลเสีย เรื่อง  ความซื่อสัตย์ การอดออม ทุนทางสังคมของพื้นที่  เราได้ทุนทางเศรษฐกิจแต่ขาดทุนทางสังคม เดี๋ยวนี้เด็กมัธยมซื้อหวยแล้วบอกว่าช่วยชาติ  คุณค่าเรื่องความซื่อสัตย์ การยอมรับในหลักการ ถูกบดบังจึงเป็นวิกฤติการณ์ในสังคม  จริยธรรมของสังคมมีปัญหา คนไม่กล้าพูดความจริง  ความแตกแยกของชุมชนสูงขึ้น แบ่งฝักฝ่ายชัดเจน มีความเป็นการเมือง การลงแขก หายไป  ขาดความต้านทานทางประชาธิปไตย  กรมฯ ใดควรไปพูดเรื่องหลักการใช้เหตุผล  การยอมรับกันและกัน การอยู่ร่วมกันได้แม้ขัดแย้งกัน กระบวนการการเมืองส่งผลต่อความแตกแยกการทำงานที่ต้องการเอาเร็ว ด่วน ปริมาณมาก ทำงานหลายเรื่องเสร็จแต่ไม่สำเร็จ เราไม่ได้เรื่องความพอเพียง การพึ่งตนเอง 

 

3. ความท้าทายหลักการพัฒนาชุมชน

ชุมชนปัจจุบัน อปท. ต้องมีนโยบายเรื่อง ชุมชนเข้มแข็งที่สอดคล้องกับการเมือง จึงต้องมีคนช่วยเติมแนวคิดและหลักการต่าง ๆ ดังนี้

                   1. ความพอเพียง ต้องพูดเรื่องเศรษฐกิจ และสังคม ความพอเพียงไม่แบ่งฝ่าย ควรเป็นการเมืองพอเพียง  สังคมพอเพียง  ความพอเพียงทั้งหมดคือ การพูดด้วยเหตุผล เพื่อให้สังคมมีความต้านทานมากขึ้น  ป่วยก็หายเร็ว ภูมิต้านทานที่เราฉีดลงไปในชุมชน ผ่านผู้นำชุมชน อช. สตรี ฯลฯ vaccine ดังกล่าวเพียงพอหรือไม่ และมี vaccine สำหรับโรคร้ายใหม่ ๆ หรือไม่  กรมฯจึงต้องพูดเรื่อง Wisdom & Knowledge ซึ่งจะเป็นงานวิชาการของ   กรมฯ และต้องคิดเป็น Know how ของกรมฯ การถอดบทเรียนว่า  บางชุมชนสำเร็จ เรากล้านำมาแลกกันหรือไม่ ความรู้ที่เรามีใช่ของจริงหรือไม่ และจะจัดการอย่างไร

                   2. ความยั่งยืน ต้องทำมาระยะยาว และทำยากมาก หากงบประมาณอยู่ที่ฝ่ายการเมืองจะไม่ค่อยทำ

                   3. การพึ่งตนเอง  การเมือง อปท. กำลังทำให้ประชาชนอ่อนเปลี้ย เสียขา ไม่พึ่งตนเอง การเมืองต้องตอบสนองทุกอย่าง เพื่อให้ได้คะแนนเสียงเลือกตั้ง 

                   สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นความท้าทายของกรมฯ  คำถามที่เปิดประเด็นให้คิด  คือ 

                   1. ทำอย่างไรทำให้แนวคิดหลักการ  เรื่อง การพึ่งตนเอง เป็นที่เข้าใจเห็นได้อย่างชัดเจน  กรมฯจะหาวิธีอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้หรือไม่ ปัญหาอยู่ที่การวัด และไม่ต้องเรียกร้องให้คนมาชื่นชมกับฐานราก หลักใหญ่ คือ ต้องพิสูจน์ว่าเรากำลังทำฐานราก เปรียบเทียบให้เห็นว่าฐานรากที่ได้ผ่านกระบวนการ กับไม่ผ่านกระบวนการมีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่างกันอย่างไร  ดังนั้นงานรากฐาน  ให้กรมฯ เป็นคนทำ แต่ใครจะไปต่อยอดช่างเขา เราต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง การทำชุมชนเข้มแข็ง เราต้องพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์

                   2. ต้องตั้งคำถามว่าปรัชญา และจิตวิญญาณ (spirit) ของคนทำงานพัฒนาชุมชนในปัจจุบันยังเข้มเข็งเหมือนเดิมหรือไม่ในหมู่นักพัฒนา หลักสูตรต่างๆ ของกองฝึกอบรม ทำให้พัฒนากรเข้มแข็งหรือไม่ คำถามคือ พัฒนากรสู้งานและมีใจรักชุมชน ยังมีอยู่หรือไม่  มากน้อยเพียงใด

                   3. เราจะเติมน้ำมัน แรงเสียดทาน พลัง ให้กับพัฒนากรอย่างไร กรมฯ ต้องจัดการและทำให้ชัดเจน  เนื่องจากในชุมชนที่เรากำลังจะไปทำงาน ชุมชนมีวิกฤติและความต้องการในเรื่องความเข้มแข็งไม่เหมือนกัน เรา need การวิเคราะห์ของพัฒนากร  แต่เราได้ให้เครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อให้พัฒนากรสามารถตอบปัญหาของชุมชนให้ผู้ที่ต้องการทราบได้ทันท่วงทีหรือไม่

                   4. เวลานี้พัฒนากรรู้บทบาทตนเองว่าเป็นนักต่าง ๆ มากมาย แต่กลุ่มเป้าหมายที่เราจะทำงานด้วยในอนาคตคือใคร  กรมฯ จัดการเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน  คำถามคือ  กรมฯจะเชื่อมโยงจับมืออย่างไรกับส่วนราชการอื่น ๆ โดยพิสูจน์ให้เขาเห็นว่ากรมฯ คือ มืออาชีพในการทำฐานราก  การทำงานของคนในกรมฯ ยังมีเรื่องกระบวนการจริงหรือไม่ เราต้องคงปรัชญาเรื่องนี้ไว้และอยู่ในหัวใจของคนทำงาน หลักการนี้ต้องกล้าอธิบายสังคม ว่าหากไม่ทำเรื่องชุมชนเข้มแข็งจะส่งผลต่อสังคมระยะยาว

                         เราจะทำให้การทอผ้า การทำไวน์ ฯลฯ มีความยั่งยืนได้อย่างไร เราจะจัดการความรู้ และต้นทุนของกรมฯ อย่างไร 

 ความสามารถของคนในพื้นที่ ยังเป็นต้นทุนของกรมฯ  เราจะให้กำลังใจคนในพื้นที่อย่างไร ทุน และ vaccine  ของกรมฯมีเพียงพอหรือไม่ โรคร้ายตัวใหม่สามารถใช้ vaccine เดิมได้หรือไม่ กรมฯจะ re-positioning ตัวเองอย่างไร  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้  คือสิ่งที่ผมขอฝากให้กรมฯช่วยคิด  เพื่อที่จะกำหนดบทบาทตนเองให้ชัดเจน  และทำงานพัฒนาเพื่อประชาชนตลอดไป  ขอบคุณมากครับ

 

****************************

สรุปและเรียบเรียงโดย...

ผจงจิตต์  วงศ์ธีรญาณเดช

กลุ่มงานแผนงานและงบประมาณ

กรมการพัฒนาชุมชน

 

                  

หมายเลขบันทึก: 205477เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท