โครงการ “กรมการพัฒนาชุมชน: ชีวิตเรียนรู้สู่องค์การเรียนรู้”


(Learning Life to Learning Organization)

คำกล่าวมอบนโยบายอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

หัวข้อ

การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ปี พ.ศ. 2550 – 2553 

โครงการ  กรมการพัฒนาชุมชน: ชีวิตเรียนรู้สู่องค์การเรียนรู้

(Learning Life to Learning Organization)

วันพุธที่  6  กันยายน 2549

  โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ กรุงเทพฯ

**************************

สวัสดี  เพื่อนข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชนทุกท่าน

 

ผมยอมรับว่ามีความรู้สึกค่อนข้างตื่นเต้นมากสำหรับการจัดงานครั้งนี้ เพราะต้องการเห็นกรมการพัฒนาชุมชนมีความเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นอย่างมั่นคง ข้าราชการทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป และได้รับการยอมรับจากรัฐบาล

ก่อนจะเข้าสู่หัวข้อการพูดคุย  ผมมีประเด็นสำคัญที่ขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่า  ขณะนี้มีคนแอบอ้างชื่ออธิบดีฯ โทรศัพท์ให้เพื่อนข้าราชการบางท่าน  ส่งเงินเข้าหมายเลขบัญชีที่ให้ไว้ จึงขอประกาศให้ทราบว่า ในกรมฯ นี้ ผมทำงานอยู่โดยไม่มีญาติพี่น้องมาอยู่ร่วมชายคาหากมีผู้แอบอ้างขอให้ท่านดำเนินการตามกฎหมาย ผมตั้งใจที่จะทำงานที่กรมฯอย่างไม่มีเงื่อนไข ทุกท่านจึงไม่ต้องให้อะไรผมนอกจาก  เรื่องงาน  เท่านั้น 

การพูดคุยกับทุกท่านในวันนี้  ผมถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด  ผมจึงได้เตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ  โดยชำระล้างทั้งร่างกายและจิตใจให้สะอาด  เพื่อที่จะได้พูดคุยกับทุกท่านอย่างตั้งใจจริง และมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน  ซึ่งผมถือว่าเป็นเคล็ดลับในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ  สำหรับประเด็นในการพูดคุยวันนี้ผมจะพูดถึง 3 ส่วน ได้แก่  1) ตำนาน ตำรา  2) ปัจจุบัน ปัจจัย  และ 3) ปีหน้า ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง  ดังนี้

1) ตำนาน ตำรา

1.1) ตำนาน

  กรมการพัฒนาชุมชนเดินทางมาถึงปีที่ 44  และในวันที่ 30 กันยายน 2549 จะครบรอบปีที่ 45  เมื่อพิจารณาช่วงอายุของประชากรวัย 45 ปี จะเป็นช่วงอายุ วัยกลางคน  กรมฯจึงอยู่ในช่วงอายุ วัยกลางคน เช่นเดียวกัน  เมื่อศึกษาอายุเฉลี่ยของข้าราชการทั้งกรมฯ พบว่า  อยู่ในช่วงอายุประมาณ 45 ปี อายุเฉลี่ยของพัฒนากรประมาณ 42 ปี คนที่อยู่ในวัยกลางคน ผมมีข้อสังเกต ดังนี้

 การทำงานในปี 2513 มีไฟ มีอุดมการณ์ พัก ค้างในหมู่บ้านกับชาวบ้าน              (อายุ 20 ต้น ๆ)

                         อายุ 30 ปี               เริ่มมีครอบครัว อุดมการณ์ยังลุกโชน

 อายุเกิน 30 ปี          อยู่ในช่วงที่มีกลุ่มที่เรียกว่า  ฮิปปี้  กลุ่มนี้จะมีแนวคิดที่ว่า  Don’t trust anyone over thirty ซึ่งคนที่อยู่ในช่วงอายุเกิน 30 ปี เป็นคนที่มีครอบครัวแล้ว และสิ่งสำคัญในชีวิตคือ  ครอบครัว  เริ่มมีลูกที่เล็กน่ารัก และอยู่ในช่วงครอบครัวเริ่มตั้งตัว

  อายุ 40 ปี ขึ้นไป       สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ ลูกและครอบครัว ลูกเริ่มต้นเข้าสู่วัยเรียน การเสียสละในการทำงานเริ่มลดลง

                         ดังนั้นการที่เราจะเรียกร้องให้พัฒนากรทำงานเสียสละ อดทน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง  เพราะฉะนั้นเราต้องปรับเปลี่ยนบทบาทและเป้าหมายการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน หากเราติดอยู่กับรูปแบบวิธีการเดิม ๆ อาจทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนด  เราจึงต้องมองกรมฯ และพัฒนากรด้วยความเข้าใจ และเป็นไปตามบทบาทต่างๆ ที่รับผิดชอบ 

                    สำหรับการทำงานขององค์กรในยุคปัจจุบันที่อยู่ในช่วงการปฏิรูประบบราชการ  ทุกองค์กรต้องมีการปรับตัว  ธรรมชาติขององค์กรมีลักษณะคล้ายคลึงกัน  กล่าวคือ  ในหน่วยงาน ๆ ที่ตั้งใหม่จะมีบุคลากรวัยหนุ่มสาวเข้าไปทำงาน แต่ในองค์กรที่ตั้งมานาน  บุคลากรก็เจริญวัยล่วงเลย ทัศนะของคนจะมีความแปรผันไปตามช่วงอายุ  ผมจึงได้พิจารณาทัศนะของตนเองเพื่อเตือนตัวเองตลอดเวลา เมื่อเปรียบเทียบความคิดในช่วงเวลาที่ผ่านมากับสถานการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป  ผมพบว่า  เมื่อผมอายุ 20 ปีกว่า ๆ ผมเป็นคนใจร้อน  แต่ขณะนี้ผมต้องใจเย็น อดทน อดกลั้น เพราะความรับผิดชอบแตกต่างกัน  เมื่อผมเป็นอธิบดี ผมรับผิดชอบทั้งประเทศ และรู้ดีว่าแต่ละคนแต่ละตำแหน่ง มีหน้าที่และมีความต้องการที่แตกต่างกัน ผมเข้าใจทุกคนที่ได้เรียกร้องความต้องการต่าง ๆ มาที่กรมฯ  การเป็นผู้บริหารผมจึงต้องทำความเข้าใจและรู้จักการบริหารจัดการเวลาให้เป็น ผมก้าวมาถึงจุดนี้ได้มิใช่โชคช่วย ผมวิริยะอุตสาหะ ทุ่มเท โดยไม่มีเงื่อนไข 

                    44 ปีที่ผ่านมา งานของกรมฯ ได้เจริญก้าวหน้าไปตามลำดับ พร้อม ๆ กับความเจริญก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน เมื่อปี 2506 พัฒนากรขี่ม้าเข้าหมู่บ้าน ต่อมาเปลี่ยนเป็นขี่รถจักรยาน  ปี 2513 นอกจากอาศัยเกวียนแล้วก็มีรถบรรทุกเล็ก วิ่งเข้าออกหมู่บ้านวันละเที่ยว แต่ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก การติดต่อสื่อสารสะดวกรวดเร็วขึ้น หมู่บ้านชนบทเริ่มเปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมในหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไป ผู้นำ  กลุ่ม/องค์กร  มีภารกิจมากขึ้น การจัดอบรม/สัมมนาที่ใช้เวลามากกว่า 1 วัน ชาวบ้านจะมีความรู้สึกว่าเป็นภาระ การทำงานของกรมฯจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

                    ตำนานที่ผ่านมาของกรมการพัฒนาชุมชน   

                    44 ปี พช. 2505 2549

                    ชื่อว่า นักพัฒนา ไม่ได้เป็นกันทุกคน

                    ความเป็น นักพัฒนา ไม่ได้เป็นตั้งแต่เกิด

                    การเป็น นักพัฒนา ต้องฝึกฝน อบรม เรียนรู้

                    ชื่อเสียง เกียรติคุณ การยอมรับ ความสำเร็จ

                    ของกรมการพัฒนาชุมชน

                    ล้วนเกิดจากตัวเรา...นักพัฒนาชุมชน

                                                                                                                 1. 2) ตำรา

   ในส่วนที่เป็นตำรา  ผมขอพูดถึง  แนวความคิดและหลักการพัฒนาชุมชน  เพื่อให้พวกเราเข้าใจตรงกันว่า  สาระสำคัญหลักในการทำงานของพัฒนากร ไล่ตั้งแต่จิตวิญญาณจนถึงการลงมือปฏิบัติ จากแนวคิดที่เป็นนามธรรมถึงรูปธรรม การพัฒนาชุมชนมีหลักการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของมนุษยธรรม  ด้วยทัศนะอันยาวไกลที่เปี่ยมไปด้วยพลังอันไพศาลแห่งการพัฒนากอปรด้วยมิติที่กว้างใหญ่  ยาวไกล   ลึกล้ำ  ความเป็นจริงขององค์ประกอบต่าง ๆ  นับตั้งแต่  จักรวาล โลก ประเทศชาติ สังคมมนุษย์ ชุมชน มากล้นล้ำค่าไปด้วยมนุษย์ ดังนั้นหากมองตัวเราจะพบว่าเล็กเพียงนิดเดียวเมื่อเทียบกับระบบสุริยะจักรวาล  ไม่ว่าจะยากดี มีจน ในเมือง ในชนบท ล้วนเป็น มนุษย์ เหมือนกันทั้งสิ้น

สมมติฐาน...  มนุษย์คือ......มนุษย์  มนุษย์เป็น......มนุษย์ 

  เพราะ มนุษย์    มีความคิด มีจิตใจ
                                              มนุษย์    มีเหตุผล  มีวิจารณญาณ
                                               มนุษย์    สามารถตัดสินใจเองได้
                                              มนุษย์    เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ทั้งทางนามธรรมและรูปธรรม

มนุษย์...สามารถปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองได้ตามความคิดของตน

เพราะ  มนุษย์...สามารถสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
ของตนให้เหมาะสม และสอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้

ฉะนั้น   มนุษย์ที่จะทำงานพัฒนา (ชุมชน) มนุษย์ด้วยกันเองนั้น  จึงต้องมี                                                      
มนุษยธรรม

อย่างน้อยที่สุด...  ต้องเห็น   คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของมนุษย์  ต้องเห็นมนุษย์ เป็น มนุษย์เช่นเดียวกับที่ตนเองเป็น มนุษย์

                   ปรัชญาหลักความเป็นจริงแห่งชีวิตที่นักพัฒนาชุมชนยึดถือเป็นสรณะ คือความเชื่อมั่นและศรัทธาในมนุษยชาติ  ว่ามนุษย์ทุกชีวิต  มีคุณค่า และมีความหมาย มีศักดิ์ศรี และ มีศักยภาพ  กล่าวคือ  มีฐานะแห่งความเป็นมนุษย์ที่ไม่ควรจะได้รับการเหยียบย่ำ ดูหมิ่น เหยียดหยามจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง มีความสามารถจากการเป็นมนุษย์ที่ควรได้รับการยอมรับและทำให้ปรากฏเป็นจริงให้ทางปฏิบัติจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง

สิ่งที่ผมอยากเน้นย้ำว่าหลักการพัฒนาชุมชนที่แท้จริง คือ หลักประชาชน

โดย...

1.เริ่มต้นที่ประชาชน ยืนจุดเดียวกับประชาชน มองโลก มองชีวิต
  มองปัญหา จากทัศนะของประชาชน เพื่อให้เข้าใจปัญหา ความ 

 ต้องการของประชาชน เพื่อให้เข้าถึงชีวิต จิตใจ ของประชาชน

2.ทำงานร่วมกับประชาชน (ไม่ใช่ทำงานให้แก่ประชาชน เพราะจะทำให้เกิดความคิดมาทวงบุญทวงคุณจากประชาชน ในภายหลัง)
การที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจปัญหาของตนเอง และมีกำลังใจ      ลุกขึ้นต่อสู้กับปัญหา ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขปัญหา นั้น ย่อมมีหนทาง ที่จะกระทำได้โดยไม่ยากหากเข้าใจปัญหาและเข้าถึงจิตใจประชาชน

3.ยึดประชาชนเป็นพระเอก ประชาชนต้องเป็น ผู้กระทำการพัฒนาด้วยตนเอง ไม่ใช่ เป็น ผู้ถูกกระทำ หรือฝ่ายรองรับข้างเดียว  เพราะ   ผลของการกระทำการพัฒนานั้น ตกอยู่ที่ประชาชนโดยตรงประชาชน  เป็นผู้รับโชค หรือ เคราะห์ จากการพัฒนา นั้น

 

ดังนั้น  การพัฒนาชุมชนจึงมีหลักการที่มีจุดหมาย 3 เชิงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชนมนุษย์ ดังนี้

1. จุดมุ่งหมายเชิงกระบวนการ  (Process Goal)  เป็น กระบวนการต่อเนื่องในการพัฒนาความคิด/จิตใจมนุษย์ให้คิดพึ่งตนเอง/มีจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

2. จุดมุ่งหมายเชิงสัมพันธภาพ  (Relationship Goal) เป็น การทำให้มนุษย์มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน เพื่อกันและกัน  คือ เพื่อกลุ่ม

3. จุดมุ่งหมายเชิงการงาน  (Task Goal)เป็น การทำงานพัฒนาความเป็นอยู่ของมนุษย์ เพื่อ ความอยู่เย็นเป็นสุข

ผลของกิจกรรม/โครงการที่เกิดขึ้นจะเกิด 3 มิติ ดังนั้น เมื่อเรามองงานพ

คำสำคัญ (Tags): #learning life to learning organization
หมายเลขบันทึก: 205479เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท